Category: Uncategorized

ฟาร์มสัตว์น้ำ:พัฒนาฟาร์มสัตว์น้ำสู่ตลาดสากล

เมื่อวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2554ที่ผ่านมา ศูนย์พัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ(ศรฟ) กรมประมงได้จัดฝึกอบรมให้กับผู้ตรวจประเมิน ในหลักสูตร ยา สารเคมีและวัตถุอันตรายที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ณ โรงแรมหลุยส์ แทเวิร์น กรุงเทพฯ

ปัจจุบันผู้คนทั่วโลกต่างหันมาใส่ใจในการเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ ถูกสุขอนามัยและคำนึงถึงผลกระทบจากการผลิตสินค้าที่มีต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ประเทศไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้นำในการผลิตและส่งออกสินค้าประมง โดยเฉพาะกุ้งทะเลที่สามารถนำรายได้เข้าประเทสอย่างมหาศาลมากว่า 20 ปี

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากหลายๆประเทศที่เป็นตลาดหลักในการนำเข้าสินค้าเพิ่มความเข้มงวดในการกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้ามากขึ้น กรมประมงในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่พัฒนาด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงได้มีการพัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้งให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างมีความรับผิดชอบ โดยมุ่งเน้นการเพาะเลี้ยงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีผลกระทบต่อสังคม ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สามารถที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อมุ่งสู่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน และมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีการจัดการที่ดี สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ถูกสุขอนามัย ที่สำคัญคือไม่มีสารหรือยาปฏิชีวนะตกค้าง

ที่สำคัญได้มีการควบคุมคุณภาพผลผลิตกุ้งในระดับฟาร์มมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอดตั้งแต่ปี 2541 และเพื่อให้มาตรการดังกล่าวมีความทันสมัยทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายให้กรมประมงจัดตั้งหน่วยรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดอบรมผู้ตรวจประเมิน ให้ตรงกับคุณสมบัติตามข้อกำหนด

นางธณิฎฐา  … Read More

การเลี้ยงกุ้ง:เครื่องให้อาหารอัตโนมัติลดค่าแรงในการเลี้ยงกุ้ง

ค่าแรงของคนงานเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มต้นทุนในการผลิตของภาคการเกษตร โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ค่าแรงของแรงงานมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น หากสามารถลดการใช้แรงงานคนลงได้ เกษตรกรก็จะสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้เช่นกัน

นายปรีดา  ใจเย็น เกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จ.พังงา เป็นเกษตรกรรายหนึ่งที่สามารถลดต้นทุนการผลิตด้วยการ ลดการใช้แรงงานโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต

ปรีดา เล่าว่า เดิมตนจ้างแรงงานเพื่อดูแลกุ้งประมาณ 5 คน ค่าจ้างเดือนละ 4,500 บาท 1 ปี ใช้เงินจ้างแรงงานประมาณ 270,000 บาท ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ โดยใช้เงินลงทุนเครื่องละ 16,000 บาท จำนวน 5 เครื่อง เป็นเงินลงทุน 80,000 บาท ทำให้ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงได้เป็นอย่างมาก ขณะที่ประสิทธิภาพการให้อาหารกุ้งมีเท่าเทียมกัน ปรีดา … Read More

ดอกไม้:ดอกไม้ภาษาสากลของชนทุกชาติ

ศศิวิมล  แสวงผล

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ข้อมูลจาก The Retail Florist Business(1983) โดย Peter B. Pfahl และ P.Blair Pfahl,

 

คนรักดอกไม้อาจจะสามารถปักดอกไม้ลงในขวดโหล วางไว้ประดับบ้านให้สดชื่นได้ทุกคน ยิ่งถ้าดอกไม้ดอกใหญ่ สีสวยด้วยแล้ว คนจัดเกือบจะไม่ต้องทำอะไรมากไปกว่า หาภาชนะขนาดพอเหมาะใส่ดอกไม้ แล้วก็เอาไปวางในมุมเก๋ๆ ในห้อง พรสวรรค์สรรสร้างอะไรก็คงไม่จำเป็น จัดเสร็จก็เพียงแต่นั่งรอให้คนในบ้านเดินผ่านมาพร้อมกับคำชม ร้อยทั้งร้อย ยังไงก็ต้องพูดว่าดอกไม้สวยจัง..ก็เห็นๆ..ว่าดอกไม้สวยจริงๆ นี่นา

อันที่จริงปัญหาก็คงไม่มีหรอกถ้าคนเราไม่ทำให้ชีวิตของตัวเองวุ่นวายด้วยการคิดเล็กคิดน้อย ทำพิธีรีตองขึ้นมานานาประการ เด็กเกิดใหม่ก็รับขวัญ สร้างบ้านก็ทำบุญ ไหนจะฉลองหมั้น แต่งงาน แล้วยังมีปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์ … Read More

สวนผลไม้:การปรับปรุงดินที่ไม่เหมาะสมเพื่อทำสวนไม้ผล

จะขอกล่าวถึงดินที่มีปัญหาอีก 4 ชนิดคือ ดินเหมืองแร่ ดินทรายจัด ดินทรายมีชั้นดาน และดินเปรี้ยว ดังนี้

ดินเหมืองแร่

ดินเหมืองแร่คือดินหลังการทำเหมืองแร่แล้วละทิ้งไว้ ดินเหมืองแร่ประกอบด้วย กองกรวดหิน กองทราย ดินตะกอน ดินถูกขบวนการทำเหมืองแร่ชะล้าง จนเกือบไม่มีแร่ธาตุอาหารพืชคงเหลืออยู่ เป็นดินที่ไม่มีโครงสร้างลักษณะทางกายภาพและขาดอินทรีย์วัตถุชั้นดินอัดตัวแน่น การอุ้มน้ำต่ำ

แนวทางการแก้ปัญหา

–         ปรับแต่งพื้นที่ให้สามารถจัดรูปแบบให้ทำการอนุรักษ์ดินและน้ำได้

–         ปลูกพืชที่ขึ้นได้ดีในดินเสื่อมโทรมนี้เช่น ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส ไม้โตเร็ว ปลูกระยะ 2×2 เมตร ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/3ปี หรือกระถินเทพาไม้โตเร็วตระกูลถั่ว เพื่อปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยใช้ระยะปลูก 2×2 เมตร ปุ๋ยเคมี … Read More

มะม่วง:การศึกษาผลของโซเดียมคลอไรด์ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะม่วงที่ใช้เป็นต้นตอ

เรืองศักดิ์  กมขุนทด และฉลองชัย  แบบประเสริฐ

สถานีวิจัยปากช่อง นครราชสีมา

มะม่วงที่ปลูกในปัจจุบัน โดยมากมักนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีทาบกิ่ง ต่อกิ่ง เสียบกิ่ง หรือเปลี่ยนยอดกับต้นตอ เพราะต้องการให้มีระบบรากที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ต้นตอที่นิยมและยอมรับว่าดี คือมะม่วงแก้วและมะม่วงกะล่อน

การเจริญเติบโตและการพัฒนาของมะม่วงมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ความเค็มเป็นปัจจัยหนึ่งในนั้น ต้นที่ได้รับความเค็ม มักจะแคระแกร็น เจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ ขนาดใบลดลง และมีสีเขียวเข้มผิดปกติ ใบหนา หยาบกระด้าง ใบไหม้จากปลายมายังโคนและยังมีผลทำให้ต้นพืชเกิดอาการขาดน้ำ นอกจากนี้ธาตุโซเดียม(Na) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเกลือที่ละลายออกมามีผลทำให้โครงสร้างของดินเลว ดังนั้นการใช้พืชทนเค็มจึงเป็นวิธีการแก้ไขวิธีการหนึ่งซึ่งจำเป็นอย่างมาก การวิจัยพืชทนเค็มจึงมีความสำคัญ และต้องหาพืชที่เหมาะสมทนเค็มได้สูง ให้ผลตอบแทนสูงด้วย

การทดลองใช้เกลือโซเดียมคลอไรด์ในระดับความเข้มข้น 0,1,3℅เพื่อศึกษาหาผลของเกลือต่อการเจริญเติบโตและอาการเป็นพิษของใบกล้ามะม่วง พบว่าเกลือทุกระดับความเข้มข้นมีผลต่อความสูงสะสมที่เพิ่มขึ้น และเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นสะสมที่เพิ่มขึ้น หากความเข้มข้นของเกลือสูงขึ้น มีผลทำให้ความสูงสะสมที่เพิ่มขึ้น และเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นสะสมที่เพิ่มขึ้นลดน้อยลง ต้นกล้ามะม่วงสามารถทนเกลือได้ในระดับความเข้มข้น 1℅ซึ่งแสดงอาการใบไหม้เล็กน้อย

Read More

องุ่น:แมลงศัตรูองุ่น

วิทย์  นามเรืองศรี

กองกีฏและสัตววิทยา  กรมวิชาการเกษตร

พบแมลงศัตรูองุ่นหลายชนิด เข้าทำลายทำความเสียหายส่งผลให้ผลผลิตลดลงรวมทั้งคุณภาพ ชาวสวนองุ่นจำเป็นต้องใช้สารกำจัดแมลงเพิ่มขึ้นอย่างมากมายและเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้เนื่องจากมีปัญหาการดื้อสารกำจัดแมลงของหนอนบางชนิด

องุ่น(Vitis vinifera) เป็นผลไม้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศ เป็นพืชที่จะทำรายได้สูงให้แก่ชาวสวน รายได้อย่างต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 20,000 บาทต่อฤดูต่อไร่(ในระยะเวลา 3-4 เดือน) และเป็นที่ต้องการของตลาดปริมาณสูง ในบางช่วงราคาแตกต่างกันระหว่างกิโลกรัมละ 15-50 กว่าบาท จากสวนในแต่ละปี ทั้งเพื่อการบริโภคสดและการแปรรูปไปทำเหล้าองุ่น ทำให้รายได้ไม่แน่นอน ปัจจุบันองุ่นที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ไวท์มาลากา และพันธุ์คาร์ดินัล ปลูกในท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร ราชบุรี และนครปฐม ถึงแม้ได้มีการพัฒนาการบำรุงรักษา ตลอดจนใช้เทคโนโลยีบังคับองุ่นให้ออกผลในช่วงฤดูที่ต้องการแล้ว ผลผลิตยังให้ได้ก็เพียงพอแต่ความต้องการของตลาดภายในประเทศเท่านั้น แต่ชาวสวนองุ่นยังต้องเผชิญต่ออุปสรรคนานับประการ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศที่ผันแปร ไม่สามารถบังคับให้ผลผลิตเพียงพอกับต้นทุนการผลิตในบางฤดูกาล รวมทั้งปัญหาศัตรูพืชที่ทำให้ค่าใช้จ่ายต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ของชาวสวนองุ่นไม่แน่นอน

สำหรับปัญหาด้านแมลงศัตรูองุ่น พบแมลงศัตรูองุ่นหลายชนิดเข้าทำลายทำความเสียหายส่งผลให้ผลผลิตองุ่นลดลงรวมทั้งคุณภาพชาวสวนองุ่นจำเป็นต้องใช้สารกำจัดแมลงเพิ่มขึ้นอย่างมากมายและเพิ่มมากขึ้น … Read More

ทุเรียน:การฟื้นฟูต้นทุเรียนภายหลังการเข้าทำลายของเชื้อไฟทอปธอร่า

วันทนีย์  ชุ่มจิตต์  และคณะ..ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

ต้นทุเรียนที่ถูกเชื้อไฟทอปธอร่า(โรคโคนเน่า) เข้าทำลายจะทรุดโทรมเนื่องจากระบบรากและระบบลำเลียงเสียหาย นอกจากนี้เชื้อที่อยู่ในลำต้นยังสามารถทำลายต้นทุเรียนได้อย่างต่อเนื่อง มีผลทำให้ต้นตายได้ การแก้ไขปัญหาเรื่องโรคโคนเน่านี้ไม่สามารถทำได้สำเร็จโดยการใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น ควรใช้หลายวิธีเช่นกัน ซึ่งแนวทางการแก้ไขมีดังนี้

1.  เพิ่มความสมบูรณ์ของต้นเพื่อให้ต้นสามารถต้านทานต่อโรคได้

2.  ทำลายเชื้อที่ยังอยู่ในต้นเพื่อหยุดยั้งการทำลาย

3.  หยุดยั้งการเจริญของเชื้อที่ยังอยู่ในดิน เพื่อป้องกันการเข้าทำลายครั้งต่อไป

4.  ปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรค

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกันทดลองใช้เชื้อจุลินทรีย์และสารเคมีกับต้นทุเรียนที่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า รวมทั้งการเพิ่มความสมบูรณ์ของต้นทุเรียนโดยการให้ปุ๋ยทางใบ เนื่องจากทุเรียนที่เป็นโรค ระบบรากของทุเรียนมักจะไม่สามารถดูดธาตุอาหารได้ตามปกติ การให้ปุ๋ยทางใบจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการฟื้นฟูสภาพต้นไม้ได้เร็วขึ้น

จากการทดลองพ่นปุ๋ยทางใบ (น้ำตาลมอลตานิค อัตรา 20 ซีซี+ปุ๋ยเกร็ด 15-30-15 อัตรา 60 กรัม+ฮิวมิค แอซิด อัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร) … Read More

มอดเจาะลำต้นทุเรียน:เชื้อราไฟทอปธอร่าสาเหตุโรครากเน่า-โคนเน่าของทุเรียน

ชัยวัฒน์  กระตุฤกษ์  กลุ่มงานวิจัยโรคไม้ผลพืชสวนอุตสาหกรรมและสมุนไพร กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร

ทุเรียน (Durio zibethinus Murray) อาจพูดได้ว่าเป็นผลไม้ที่เคียงคู่กับเมืองไทยของเราเพราะปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนทุเรียนสามารถผลิตทุเรียนออกจำหน่ายหมุนเวียนกันได้ตลอดทั้งปี จนประเทศไทยเราได้กลายเป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกผลทุเรียนสด และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียนมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน เรามีทุเรียนพันธุ์ดีเป็นที่รู้จักและทำชื่อเสียงให้กับประเทศหลากหลายพันธุ์ โดยเฉพาะพันธุ์ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายได้แก่ ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์ก้านยาว และพันธุ์กระดุมทอง และจากการที่มีพื้นที่ปลูกเป็นแหล่งผลิตใหญ่ๆ ย่อมต้องมีปัญหาติดตามมา ปัญหาที่พบมากของการทำสวนทุเรียนนอกเหนือจากแมลงศัตรูต่างๆแล้ว “โรคของทุเรียน” นับว่ามีความสำคัญมากโดยเฉพาะโรครากเน่า-โคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า (Phytophthora palmivora (Butler) Butler) ซึ่งนับได้ว่าเป็นของคู่กันกับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนมาโดยตลอด และสิ่งที่ปรากฎควบคู่ไปกับการเกิดโรครากเน่า-โคนเน่าของทุเรียน ได้แก่ร่องรอยการเจาะของมอดตัวเล็กๆ ตามกิ่งและลำต้นของทุเรียนที่เป็นโรคนี้จนกลายเป็นปัญหาที่เกษตรกรชาวสวนทุเรียนได้ถกเถียงกันมาตลอดว่าสิ่งไหนเกิดขึ้นก่อนกันระหว่างมอดเจาะลำต้นทุเรียนกับโรครากเน่า-โคนเน่าของทุเรียน เกษตรกรชาวสวนทุเรียนหลายท่านมีประสบการแตกต่างกันไป หลายท่านเข้าใจว่ามอดเจาะลำต้นทุเรียนเกิดขึ้นก่อน และเป็นตัวนำพาเชื้อราของโรครากเน่า-โคนเน่าให้มาเกิดกับทุเรียน นอกจากนี้นักวิชาการที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับแมลงศัตรูทุเรียน ยังได้รายงานไว้ว่ารอยเจาะของมอดเป็นทางให้เชื้อโรคโคนเน่าเข้าทำลาย และทำให้ต้นทุเรียนต้นขนาดใหญ่ตายได้

มอดเจาะลำต้นทุเรียน (Durian Shot-hole … Read More

มังคุด:เทคนิคการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพมังคุด

มังคุดเป็นผลไม้ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกสินค้าเกษตร เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีรูปทรงสวย สีผลสวย สะดุดตา เนื้อภายในสีขาวสะอาด ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว ตลาดต้องการมังคุดที่ผลมีน้ำหนักมากกว่า 80 กรัม ผิวผลเรียบ เป็นมันไม่มีร่องรอยของการเข้าทำลายของโรคและแมลง ไม่มีหรือมีอาการเนื้อแก้วยางไหลในผลน้อยมาก แต่เกษตรกรไม่สามารถผลิตมังคุดที่มีคุณภาพได้เพียงพอกับความต้องการของตลาด ทำให้ราคาของมังคุดที่มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและสถานการณ์การผลิตในปัจจุบันปริมาณการผลิตมังคุดที่มีคุณภาพที่เกษตรกรผลิตได้มีน้อยกว่าร้อยละ 60 ของผลผลิตรวมทั้งหมด ดังนั้นเทคนิคและวิธีการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพของมังคุดเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด ส่งผลให้ได้ราคาดีตามไปด้วย

เทคนิคการจัดการเพื่อควบคุมปริมาณและปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตมังคุด

1.  การปลิดดอก การที่ต้องปลิดดอกที่มีปริมาณมากเกินไป ให้เหลือในปริมาณที่พอเหมาะนั้นก็เพื่อช่วยให้ผลมังคุดที่เหลือมีขนาดใหญ่ และพัฒนาการได้เร็ว เนื่องจากภายในต้นมีปริมาณอาหารสะสมที่จำกัด

ระยะเวลาที่ควรปลิดดอกคือ ในระยะดอกตูม ปริมาณดอกที่ควรไว้คือ 20 ดอกต่อกิ่ง

2.  การป้องกันกำจัดโรคแมลง เพื่อให้ผลมังคุดปราศจากการเข้าทำลายของโรคแมลงจึงต้องมีการป้องกันกำจัดแมลงในระยะการพัฒนาการของดอกและผลอ่อน ศัตรูสำคัญของมังคุดในระยะนี้ ได้แก่

–    เพลี้ยไฟ ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ของศัตรูชนิดนี้ จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกอ่อนและผลอ่อนของมังคุดทำให้ดอกและผลร่วงได้ … Read More

แมลงศัตรูพืช:มอดเจาะลำต้นทุเรียน

ศรุต  สุทธิอารมณ์

อาจจะช้าไปสักหน่อยถ้าจะมาพูดเรื่องโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน ซึ่งเกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา (Phytophthora palmivora (Butler))ที่ระบาดอย่างหนักเมื่อปลายปีที่แล้วในเขตภาคตะวันออก ซึ่งเป็นผลมาจากสภาวะความชื้นสูง เนื่องจากฝนตกชุกและมีน้ำท่วมขังบางพื้นที่ อันเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรคนี้อย่างสูง และสิ่งที่มักปรากฎควบคู่ไปกับโรครากเน่าโคนเน่าคือ รูพรุนบนกิ่งและลำต้นทุเรียนที่เป็นโรคนี้ รูพรุนขนาดจิ๋วเหล่านี้ก็คือ ร่องรอยการทำลายของมอดตัวเล็กๆ ที่ชื่อ “มอดเจาะลำต้นทุเรียน” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Xyleborus fornicates (Eichhoff) มอดเจาะลำต้น จะเจาะเข้าไปกินในลำต้นและกิ่งของทุเรียน

โดยทั่วไปจะพบมอดทำลายเฉพาะต้นที่ถูกโรครากเน่าโคนเน่าทำลายและเจาะเข้าไปบริเวณที่มีแผลเน่า ซึ่งบางครั้งจะไม่พบรอยเน่าบนผิวไม้ แต่เมื่อใช้มีดเฉือนเนื้อไม้บริเวณนั้น มักจะพบแผลเน่าอยู่ภายในอย่างไรก็ตามยังมีคำบอกเล่าว่าพบมอดทำลายไม้สดเหมือนกัน ข้อมูลนี้คงต้องทำการศึกษาต่อไป ส่วนมากมอดเจาะลำต้นจะทำลายบริเวณโคนต้นและกิ่งที่อยู่สูงจากพื้นดินไม่เกิน 2.5 เมตร (แสวง,2515) ต้นทุเรียนที่ถูกแมลงชนิดนี้ทำลายสังเกตได้ง่ายคือ มีรอยรูพรุนขนาดเล็กกว้างประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ตามโคนต้นและกิ่ง บางครั้งรูที่เพิ่งถูกเจาะจะมีขุยละเอียดสีขาวหรือสีน้ำตาลอยู่บริเวณปากรู ซึ่งก็คือมูลของมอดนั่นเอง โดยทั่วไปพบรูที่มอดเจาะลึกประมาณ 2-4 … Read More