Month: August 2011

บัว…พืชเป็นยาและอาหาร

ภูมิปัญญาไทย พญ.เพ็ญนภา  ทรัพย์เจริญ

ขึ้นชื่อเรื่องไว้ว่า บัวพืชเป็นยาและอาหาร เพราะจะกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ของบัวที่นำสรรถคุณมาใช้ในยาไทยหลายตำรับ และอาหารที่ทำจากบัว จากการศึกษาค้นคว้าเรื่องบัวพบว่า ส่วนต่าง ๆ ของบัวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายและมีสรรพคุณเป็นยานำมารักษาโรคและอาการต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะบัวหลวงมีสรรพคุณนำมาใช้ตามตำรายาไทย ได้แก่

–         ใบบัวอ่อน มีรสฝาดเปรี้ยว ช่วยบำรุงร่างกายให้ชุ่มชื่น

–         ใบบัวแก่ รสฝาดเปรี้ยวเมาเล็กน้อย ช่วยแก้ไข้ บำรุงโลหิต สูดกลิ่นแก้ริดสีดวงจมูก/ใช้ใบแก่ รับประทานจะช่วยให้มีลมเบ่งในการคลอดบุตร/หรือนำใบมาดื่มติดต่อกันสัก 20 วัน จะช่วยลดความดันโลหิตและลดไขมันในเส้นเลือดลงได้

–         ดอกบัว รสฝาดหอม สรรพคุณบำรุงครรภ์ ช่วยให้คลอดลูกง่าย แก้ไข้รากสาด และไข้ที่มีพิษร้อน แก้เสมหะและโลหิต บำรุงหัวใจ ใช้ดอกบัวสีขาวสดต้มดื่มติดต่อกันหลายวัน จะช่วยให้หายอ่อนเพลีย … Read More

การสกัดน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์

อุปกรณ์

1.  ขวดโหลแก้วหรือไหหรือภาชนะอื่น ๆ ใช้สำหรับหมัก

2.  ผ้าขาวบาง หรือตะแกรงลวดตาถี่

3.  สายยาง สำหรับดูดน้ำมันออกจากภาชนะหมัก

4.  กะละมัง

วัตถุดิบ

1.  เนื้อมะพร้าวสดขูด 2 กก.

2.  น้ำอุ่น 2 ลิตร

วิธีทำ

1.  นำเนื้อมะพร้าวขูดใส่กะละมัง แล้วเติมน้ำอุ่นลงไป แล้วคั้นน้ำกะทิในกะละมัง แล้วใช้ผ้าขาวบางหรือตะแกรงลวดกรองเอากากมะพร้าวทิ้งไป หรือนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น

2.  นำน้ำกะทิที่คั้นได้ ใส่ขวดโหลหรือไห หรือภาชนะอื่น ๆ ที่มีทรงสูง (ทรงกระบอก) ถ้าใส่ขวดโหลแก้ว เมื่อน้ำมันแยกตัวออกจากน้ำแล้ว เราจะเห็นชั้นหรือระดับของน้ำมันอย่างชัดเจน ซึ่งสะดวกในการดูดน้ำมันออกจากภาชนะปิดฝา … Read More

วิธีการทำน้ำหมักสูตรต่าง ๆ

สูตรไล่หนอนไล่แมลง

จะใช้ต้นพญาไร้ใบ 3 กก. หมักร่วมกันกับสะเดา 3 กก. ต่อกากน้ำตาล 2 กก. ต่อน้ำ 10 ลิตร หมักประมาณ 3 เดือน ใช้ฉีดพ่นทุก ๆ 3-7 วัน อัตราส่วน 1:500 ลิตร

สูตรไล่แมลง

กระทกรก สาบเสือ ใบน้อยหน่า มะกรูด ตะไคร้หอมอย่างละเท่า ๆ กัน การหมักและการใช้เหมือนกับสูตรแรก

สูตรปรับสภาพดิน

หมักเศษอาหาร 2 กก. กับกากน้ำตาล 1 กก. หมักเหมือนกับสูตรแรก … Read More

การปลูกมะละกอปลอดสารเคมี

มะละกอเป็นไม้ผลเขตร้อน ล้มลุก อายุสั้น สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุก ๆ สภาพพื้นที่ เป็นไม้ผลที่ให้ผลเร็วและดกโดยจะให้ผลครั้งแรกหลังจากปลูกเพียง 5-6 เดือนเท่านั้น

มะละกอยังใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ส้มตำ แกงส้ม มะละกอสุก ใช้รับประทานเป็นผลไม้ที่อร่อยมีวิตามินเอสูง และยังช่วยระบายท้องไม่ทำให้ท้องผูก นอกจากนั้นมะละกอยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารและขนมได้หลายชนิด เช่น ตั้งฉ่ายมะละกอ ซีเช็กฉ่ายมะละกอ แยมมะละกอ มะละกอแก้ว มะละกอแห้งสามรส เป็นต้น

มะละกอเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญงอกงามได้ในดินเกือบทุกชนิดและไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี แต่การจะให้มะละกอออกผลดกและมีคุณภาพ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และน้ำหมักชีวภาพ มะละกอมีโรคและแมลงรบกวนบ้าง ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีโดยใช้สมุนไพรทดแทนได้

พันธุ์มะละกอ

มะละกอมีหลายพันธุ์ด้วยกันควรเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ถ้าต้องการรับประทานมะละกอดิบควรใช้พันธุ์แขกดำ ถ้ามะละกอสุกควรใช้พันธุ์แขกนวล เป็นต้น

1.  แขกดำRead More

การทำยาหม่องไพลไว้ใช้เอง

การเตรียมตำรับยาหม่องไพล

ประกอบด้วยตัวยา ดังต่อไปนี้

1.  สารที่ช่วยให้ยาหม่องแข็งตัว ได้แก่ วาสลีน (White soft paraffin) พาราฟินแข็ง (Hard paraffin) จะใส่ในอัตราส่วนเท่า ๆกัน ส่วนที่ทำให้ยาหม่องแข็ง จะมีปริมาณ 30% ของตำรับ ถ้าต้องการให้ยาหม่องเหลวมาก ไม่แข็งเกินไป จะใช้วาสลินมากกว่าพาราฟินแข็ง

2.  สารที่ช่วยเพิ่มการดูดซึมผิว ได้แก่ ลาโนลิน(Lanolinพวกนี้จะใช้ในตำรับประมาณ 5% w/w ของตำรับ สารพวกนี้ทำให้ยาหม่องถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวได้เร็ว เมื่อทาจะรู้สึกร้อนเร็ว

3.  สารที่ทำให้ร้อน หรือใช้ทาถูนวดให้ร้อนแดง ได้แก่ น้ำมันระกำ เมนทอล การบูร พวกนี้จะใช้รวมกันถึง 70% … Read More

การทำลูกประคบสมุนไพรไว้ใช้เอง

ตัวยาสมุนไพร

1.  ไพร (500 กรัม) แก้ปวดเมื่อย ลดการอักเสบ ฟกช้ำ

2.  ขมิ้นชัน (100 กรัม) แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดการอักเสบ

3.  ผิวหรือใบมะกรูด (100 กรัม) มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน

4.  ตะไคร้บ้าน (200 กรัม) แต่งกลิ่น

5.  ใบมะขาม (100 กรัม) ช่วยทำความสะอาดผิวหนัง แก้ฟกช้ำ

6.  ใบส้มป่อย (50 กรัม) แก้โรคผิวหนัง ช่วยบำรุงผิว ลดอาการคัน แก้ฟกบวม

7.  … Read More

ปลูกมะเขือเทศปลอดสารเคมี

มะเขือเทศมีอยู่หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมะเขือยาว มะเขือสีม่วง มะเขือจาน มะเขือขาว มะเขือพวง ฯลฯ ในฉบับนี้ ขอพูดถึงวิธีการปลูกมะเขือเทศแบบปลอดสารเคมี ให้ผู้อ่านสามารถนำไปเพาะปลูกทำกิจกรรมยามว่าง เป็นสวนครัวหลังบ้านได้บ้าง

มะเขือเทศชอบอากาศที่อบอุ่น ช่วงรอยต่อระหว่างฤดูหนาวสู่ฤดูร้อน ช่วงเปลี่ยนฤดู ชอบดินที่มีอินทรีย์วัตถุมาก สภาพดินปนทรายจะดีมาก ไม่ชอบลักษณะดินที่เป็นดินเหนียวจัด เพราะเมื่อออกผล ผลมะเขือหรือมะเขือเทศส่วนมากจะแตกเป็นรอยร้าวทำให้ผลไม่สวยคนไม่นิยม ทำให้ผลเสียหายได้ง่าย

คุณประโยชน์ที่มีต่อผู้บริโภค มะเขือเทศมีวิตามินเอสูง เนื้อภายในผลมีน้ำมาก มีวิตามินซี ช่วยให้เกิดความอยากอาหาร และยังช่วยในการย่อยอาหารได้ดี แก้คอแห้ง วิตามินเอของมะเขือเทศมีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวไม่หยาบกร้าน อีกทั้งยังมีสารประเภทแอนติออกซิแดนท์ (antioxidant) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็ง หรือที่นักโภชนาการหลาย ๆ ท่านได้แนะนำว่า ถ้ารับประทานมะเขือเทศอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะผู้ชายจะสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้เป็นอย่างดี

จะเห็นว่าสรรพคุณของมะเขือเทศมีมากมายเกินที่จะบรรยาย แต่ถ้าผู้บริโภครับประทานมะเขือเทศที่ได้จากการผลิตที่ใช้สารเคมี ก็ไม่รู้ว่ามะเขือเทศจะให้คุณหรือทำให้เกิดโทษแก่ผู้บริโภคเอง … Read More

12 วิธีการใช้ประโยชน์จากน้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหย หรือ Essontial Oils เป็นน้ำมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์ที่มีกลิ่นหอม และมีองค์ประกอบทางเคมีมากมายหลายชนิด เมื่อสูดดมเข้าไป หรือสัมผัสทางผิวหนังก็จะซึมผ่านไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะมีผลต่อการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและสมอง รวมถึงมีผลต่ออารมณ์และจิตใจให้มีการปรับสมดุลย์ ทำให้เกิดการบำบัดอาการของโรคต่าง ๆ ได้

ถึงแม้รูปแบบการใช้น้ำมันหอมระเหยจะมี 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ การสูดดมกับการสัมผัสทางผิวหนัง แต่การประยุกต์ใช้ในแต่ละแนวทางนั้นก็มีมากมายหลากหลายวิธีเลยทีเดียว แต่มีข้อควรคำนึงถึงก็คือ การใช้น้ำมันหอมระเหยมักจะไม่ใช้น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์โดยตรงกับร่างกาย จำเป็นต้องมีการเจือจางเสียก่อน เพราะน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์จะมีความเข้มข้นสูงมาก

1.  การสูดดม (Inhalation)

การสูดดมไอน้ำที่เจือจางด้วยน้ำมันหอมระเหย เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาโรคหวัดหรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจแต่ควรระมัดระวังสำหรับคนที่เป็นโรคหอบหืด

วิธีการก็โดยการหยดลงในชามหรือกะละมังที่มีน้ำร้อนที่มีไอ แล้วใช้ผ้าขนหนูคลุมศีรษะก้มหน้าเหนือชามหรือกะละมัง สูดดมไอระเหย หายใจลึก ๆ นอกจากการสูดดมไอน้ำแล้ว ยังสามารถใช้น้ำมันหอมระเหยเจือจาง … Read More

หญ้าปักกิ่ง รักษามะเร็งได้จริงหรือ?


ประวัติความเป็นมาของหญ้าปักกิ่ง

หญ้าปักกิ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายก็เพราะคุณณรงค์  สุทธิกุลพาณิช  ตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 คุณณรงค์  เห็นลูกน้องของเพื่อนหายจากมะเร็งด้วยหญ้าปักกิ่งจึงรวบรวมเพื่อน ๆ ให้ช่วยกันปลูกหญ้าปักกิ่งแจกให้กับคนไข้มะเร็งที่ต้องการจะใช้หญ้าปักกิ่ง พร้อมทั้งมีการรวบรวมประสบการณ์การใช้หญ้าปักกิ่งในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

จากการรวบรวมผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้หญ้าปักกิ่งรักษาตนเอง ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งมดลูก มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งตับ มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งเต้านม เนื้องอกในสมอง มะเร็งม้าม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก เป็นต้น

หลังจากนั้นคุณณรงค์ได้นำข้อมูลเหล่านี้พร้อมทั้งตัวอย่างหญ้าปักกิ่งไปมอบให้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.ดร.วีณา  จิรัจฉริยากุล ศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จากการศึกษาวิจัยค้นคว้าพบว่า หญ้าปักกิ่ง มีสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ช่วยยับยั้งมะเร็ง

ลักษณะของหญ้าปักกิ่งRead More

ขิง:สมุนไพรคู่ครัวไทย


ลักษณะทั่วไป

ขิงเป็นพืชผักสมุนไพรคู่ครัวไทยมาช้านาน เป็นพืชที่คนไทยโบราณรู้จักเป็นอย่างดี ยกเว้นลูกหลานไทยในปัจจุบัน น้อยคนนักที่จะให้ความสนใจในคุณค่า ของพืชที่มีชื่อว่า ขิง  ขิงเป็นพืชผักชนิดเก็บสะสมอาหารไว้ที่ราก หรือที่คนทั่วไปเรียกว่าหัวหรือเหง้า ขิงเป็นพืชผักที่มีรสเผ็ดร้อนกลิ่นหอมฉุน ลำต้นสูงประมาณ 50-80 ซม. เหง้าอยู่ใต้ดินจะเป็นลักษณะกลม แบน เป็นแง่ง มีกลิ่นหอมฉุนรสเผ็ด ลักษณะของก้านใบจะยาวและปลายใบแหลม การออกดอก จะออกดอกเป็นช่อมีดอกย่อยยึดติดกันยาวประมาณ 5-7 ซม. ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดส่วน ปลายแยกเป็น 3 กลีบ ดอกย่อยแต่ละดอกมีกลีบรองดอกบาง ๆ หุ้มอยู่ มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เกสร ตัวเมียมีอับเรณูรอบรังไข่ 3 ห้อง ผลของขิงมี 3 พู มีเมล็ดอยู่ภายใน มีปลูกและรู้จักกันเป็นอย่างดีในแถบประเทศภูมิภาคของเอเซีย โดยเฉพาะในแถบประเทศเขตร้อนอย่างประเทศใกล้กับประเทศไทย … Read More