Month: January 2013

สภาพพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

การเลือกสถานที่และการออกแบบที่เพาะIลี้ยงสัตว์น้ำ

การเลือกสถานที่และการออกแบบที่เลี้ยงสัตว์น้ำ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่จะดำเนินการ และสอดคล้องกับสภาพของภูมิประเทศ เป็นต้นว่า การเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพหลักหรือเพื่อบริโภคในครัวเรือนหรือเป็นงานอดิเรก ความสำเร็จของการดำเนินการเลี้ยงสัตว์น้ำขึ้นอยู่กับการเลือกที่ได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดหรือไม่ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือการออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ โดยเฉพาะลักษณะพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นที่ราบสูง ปริมาณฝนตกเฉลี่ยระหว่าง 1,000-1,800 มม./ปี ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย ดินร่วน ซึ่งเฉลี่ยแล้วมีอนุภาคดินเหนียว (Clay Particle) มากกว่า 35% โดยคิดเฉลี่ยจากดินชั้นล่าง พื้นที่ดินบางส่วนมีลักษณะเป็นดินเค็มไม่เหมาะต่อการเพาะปลูกประมาณ 36 ล้านไร่ แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำ 6 สาย อ่างเก็บน้ำ และหนองบง มีพื้นที่นับล้านไร่ที่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการชลประทานได้ในปัจจุบัน 3.6 ล้านไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝน

สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

การเลี้ยงปลาในบ่อ

พื้นที่และทำเลที่จะดำเนินการขุดปอเลี้ยงปลาควรคำนึงถึงปัจจัย 3 ประการคือ… Read More

หลักวิชาในการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ

ในการเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ว่าจะเป็นชนิดใด ปัญหาแรกที่จะต้องคิดก็คือเรื่องพันธุ์สัตว์น้ำ (ลูกปลาขนาดต่างๆ) ที่จะนำมาเลี้ยง ปัญหาดังกล่าวอาจแก้ไขได้ 2 วิธี คือ

1. การรวบรวมพันธุ์สัตว์น้ำจากธรรมชาติ

เป็นวิธีการที่ทำมาตั้งแต่ดั้งเดิมโดยวิธีการต่างๆ ในการจับและรวบรวม เช่น การจับลูกปลาสวาย และพันธุ์ปลาดุกด้านในประเทศไทย การจับลูกปลานวลจันทร์ทะเล การจับลูกกุ้งกุลาดำ ในฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย การจับปลายี่สกเทศและนวลจันทร์เทศในอินเดีย เป็นต้น ในการจับจะใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น การใช้สวิง อวนตาถี่ และเครื่องมือจับแบบพื้นเมืองทั่วๆ ไป วิธีรวบรวมพันธุ์ดังกล่าวไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน คือ

-ไม่สามารถที่จะกำหนดเวลา และไม่สามารถจะขยายกิจการเลี้ยงให้เป็นอุตสาหกรรมได้ เพราะปริมาณปลาที่รวบรวมได้มีจำนวนไม่แน่นอน และเวลาที่จะได้ก็ไม่แน่นอน หรือคลาดเคลื่อนจากการกำหนดเวลาได้

-ลูกสัตว์น้ำที่รวบรวมได้จากธรรมชาตินั้น อาจจะมีลูกสัตว์น้ำชนิดอื่นปะปนเข้ามาด้วย ทำให้มีปัญหาคือ อาจเป็นศัตรูโดยตรง คือกินสัตว์น้ำที่เราเลี้ยงหรือแย่งอาหาร ทำให้สัตว์น้ำที่เลี้ยงมีอัตราการรอดต่ำหรือเติบโตช้ากว่าที่ควร… Read More

หางนกยูงไทย

หางนกยูงไทย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซีซัลปิเนีย พัลเชอร์ริม่า (Caesalpinia pulcherrima) อยู่ในตระกูล ซีซัลปิเนียซี่ (caesalpiniaceaej บางทีเรียกว่า ส้มพอ พญ้าไม้พุ ซมพอ หางนกยูงไทยเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ ๔- ๕ เมตร ใบย่อยเล็กๆ คล้ายใบหางนกยูงฝรั่ง ดอกมีทั้งสีแดงและสีเหลือง เป็นไม้ที่ให้ดอกสวยงามมากในฤดูร้อน ฝักแบนเล็กๆ คล้ายฝักถั่วแปบ ขึ้นได้ทั่วทุกภาคตามสวน ถนน บ้าน และวัด ปลูกเป็นไม้ประดับ บ้านเมืองให้สวยงาม ให้ความร่มเย็น เนื้อไม่ผุเร็ว

แพทย์แผนโบราณเชื่อว่า รากหางนกยูงไทยปรุงผสมในยาขับระดู หรือใช้รากฝน หรือต้มรับประทานเป็นยาแก้บวม โดยมากใช้เฉพาะพันธุ์ดอกสีแดง

สรุปสรรพคุณ

รากหางนกยูงไทยเชื่อว่า ใช้ในยาขับระดู … Read More

รางจืด

รางจืด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ธันเบอร์เจีย ลอริโฟเลีย (Thunbergia laurifolia. Linn.) อยู่ในตระกูล อะแคนธาซี่(Acantliaccac ) รางจืดบางท้องถิ่นเรียกไปต่างๆ กันคือ ภาคเหนือ หนามแน้, น้ำแน่, ปังกะละ ยะลาเรียก คาย ปัตตานีเรียก ดูเหว่า ภาคกลางเรียกรางจืด ยาเขียว กำลังช้างเผือก

รางจืดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น พบตามป่าทั่วไป ใบสดสีเขียวแก่ออกตรงข้ามเป็นคู่รูปไข่ โคนใบรูปหัวใจ มีเส้นกลางใบและเส้นข้างใบ ๓ เส้น ในมาเลเซียเชื่อว่าใบรางจืดคั้นเอาน้ำดื่มแก้ประจำเดือนผิดปกติ และเอาใบตำพอกแก้ปวดบวม ดอกออกเป็นช่อ ห้อยลงตามง่ามใบช่อละ ๓-๔ ดอก มีสีฟ้า ขาว และม่วง ผลเป็นฝักเมื่อแก่จะแตกเป็น … Read More

มะกล่ำตาหนู

มะกล่ำตาหนู มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า อะบรุ๊ส เพรคคาทอเรียส (Abrus precalorius, Linn.) ภาษาอังกฤษเรียกว่า Indian Liquorice, Jequirity อยู่ในตระกูล เลกกูมมิโนซี่ (Leguminosae) แยกเป็นตระกูลย่อย แพบไพไลออนเนียซี่ ( Papilioniaceae) บางครั้งเรียกว่า มะกล่ำเครือ, มะกล่ำแดง, ก่ำตาไก่, ผ่านตากลาง

ใบของมะกล่ำตาหนูมีรสหวาน นำมาชงน้ำดื่มแก้ไอ และแก้หวัดได้ดด้วย

ในรากก็มีเช่นเดียวกัน มีรสหวานชงนํ้าดื่มแก้ไอและหวัดได้ แต่ยังไม่ทราบว่ามีสารอะไรอยู่ภายในบ้างที่เป็นพิษ

เมล็ดเล็กอยู่ภายในฝัก มีสีแดงสดสวยและมีจุดดำอยู่รอบๆ ขั้วของเมล็ด ความสวยของเมล็ดจึงทำให้มีผู้นำมาทำเป็นเครื่องประดับ เด็กๆ ชอบเก็บมาเล่น แต่ความสวยของเมล็ดมะกล่ำตาหนูนี้เป็นความสวยที่ล่อใจแต่ภายนอก ส่วนภายในประกอบด้วยสารพิษ ทอคซัล บูมิน ( … Read More

ดองดึง

ดองดึง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า กลอริโอซ่า ซูเปอร์บ้า (cioriosa sHberba. Linn.) อยู่ในตระกูล ลิเลียซี่ ( Liliaceac ) ต้นดองดึงบางครั้งเรียกว่า ดาวดึงส์, ฟันมหา หรือดองดึงหัวขวาน เนื่องจากเหง้าหรือหัวของดองดึงมีลักษณะคล้ายหัวขวาน หรือคล้ายฝักกระจับ, หัวเบ็ด ภายในเหง้าหรือหัว ประกอบด้วยอัลคลอลอยด์หลายชนิด โดยเฉพาะโคลคิซีน (colchicine)

มีปริมาณสูง ซึ่งมีฤทธิ์ในการบำบัดโรคปวดข้อหรือโรคเก๊า (gout) ซึ่งมักจะเป็นมากในฤดูหนาว ต่อมาได้มีการศึกษาพบว่าโคลคิซีนเป็นสารที่เป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของเซล คือ เป็น ไซโตท๊อกซิค (cytotoxic) จึงนำมาใช้บำบัดโรคมะเร็ง น่าจะมีการพิสูจน์ทดลองให้แน่ชัดกว่านี้ ในการใช้ต้องระมัดระวัง ถ้าใช้มากเกินไปจะทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ นอกจากนี้โคลคิซีนที่ได้จากเหง้าดองดึง ยังมีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครโมโซมของพืชทำให้พืชเกิดพันธุ์ใหม่ได้

ตามความเชื่อของแพทยแผนโบราณ เชื่อว่าเหง้าหรือหัวใต้ดินของดองดึง … Read More

ข่อย

ข่อย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า สตริบลุ๊ส แอสเปอร์ (Streblns asper, Hour) อยู่ในตระกูลมอเรซีอี้ ( Moraceae) บางแห่งเรียก ส้มผ่อ, ส้มพ่อ, ส้มพล, ขอย, ขรอย หรือ ขันดา ภาคเหนือเรียก กักไม้ฝอย ข่อยเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ยางจากต้นมีน้ำย่อยที่มีคุณ สมบัติย่อยน้ำนม เปลือกตนข่อยมีรสเมาเมื่อต้มน้ำใช้ชะล้างบาดแผลฆ่าเชื้อและโรคผิวหนังได้ดี ซึ่งอินเดียใช้เปลือกข่อยต้มกินแก้โรคท้องร่วง และใช้มวนเป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก นำกิ่ง ข่อยมาทุบใช้สีฟันทำให้ฟันทนแข็งแรง ใบข่อยหนาแข็งหยาบสากมือ ขอบใบหยักแบบซี่เลื่อย ใช้ขัดเครื่องครัวให้สะอาด ใช้แทนกระดาษทรายขัดไม้ และถูเมือกปลาไหลออกได้ดี ใบข่อย คั่วชงน้ำดื่มต่างน้ำชาได้ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับผายลม สำหรับสตรีบรรเทาอาการปวดขณะมีประจำเดือน ระบายท้องอ่อนๆ … Read More

สาบเสือ

สาบเสือ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ยูพาทอเรี่ยม โอดอราทุ๊ม (liupatoriumodoratum, Linn ) อยู่ในตระกูล คอมโพซิตี้ (compositae) สาบเสือบางท้องถิ่นเรียกชื่อต่างๆ กัน ภาคเหนือเรียกว่า หญ้าเมืองวาย, สุโขทัยเรียก หญ้าดอกขาว, หนองคายเรียก หญ้าลืมเมือง, อิสานเรียก หญ้าเมืองอ้าง หรือหญ้าเหม็น, ตราดเรียก หญ้าฝรั่งเศส และจีน เรียกว่า ปวยกีเช่า หรือเฮียงเจกลั้ง ที่เรียกชื่อไปต่างๆ กันต่างก็มีเหตุผลและความหมายในชื่อ ต่างๆ ที่เรียกตามลักษณะต่างๆ ของตน เนื่องจากสาบเสือเป็นพืชล้มลุกสูงประมาณ ๓- ๕ ฟุต เป็นพืชขึ้นง่ายทุกฤดู ขยายพันธุ์ได้เร็วมากด้วยเมล็ดที่ตกลงบนพื้นดิน ใบออกตรงข้าม ทั้งใบ … Read More

พุทธรักษา

พุทธรักษา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า แคนน่า อินดิค่า (Canna indica, Linn) อยู่ในตระกูล แคนนาซี่ (Cannaceae) พุทธรักษาอาจเรียกตามท้องถิ่น เช่น พุทธศร บัวละวงศ์ หรือ

กวงอิมเกีย พุทธรักษาเป็นไม้ล้มลุกมีลำต้นใต้ดินสูงประมาณ ๑ เมตร พุทธรักษาไทยเป็นไม้กอเล็กกว่าพุทธรักษาฝรั่ง มีแป้งขาวๆ อยู่ที่ผิวใบและก้านใบ ปลายใบแหลมขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นน้อยๆ ดอกอาจเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่มีสีแดง ปัจจุบันมีการผสมพันธุ์ได้ดอกสีต่างๆ ตั้งแต่เหลืองอ่อนถึงสีแดงเข้ม ดอกพันธุ์ผสมอาจมีสีแดงและสีเหลืองในช่อเดียวกัน แต่ที่ใช้เป็นยามักใช้พันธุ์สีแดง ดอกพุทธรักษามีรสฝาดสุขุม เชื่อว่าใช้ดอกแห้ง ๑๔ – ๑๕ กรัม ต้มน้ำกินและกากตำพอกแผลห้ามเลือดในบาดแผลสดและแผลมีหนอง ผลลักษณะกลมมีหนามไม่แข็ง ลำต้นใต้ดินหรือเหง้ามีรสขม เย็นจัด เชื่อว่าใช้เหง้าแห้งประมาณ ๓-๑๐กรัม … Read More

บัวหลวง

บัวหลวง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า นีลัมโบ้ นิวซิเฟอร่า (Nelumbo nucifera, Gartn ) อยู่ในตระกูล นิมเฟียซี่ (Nymphaeaceae) บัวหลวงเป็น,พืชเมืองร้อน พบตามหนอง บึง คลองทั่วไป มีเหง้าโตเท่าแขนต่อกันเป็นปล้องๆ มีส่วนคอดคล้ายผูกมัดไว้ ภายในปล้องมีลักษณะกลวง รากจะหยั่งลึกลงไปในดิน รากหรือเหง้าบัวหลวงมีคุณค่าทางอาหาร รสหวานและกลิ่นหอม ปรุงเป็นอาหารได้ทั้งคาวและหวาน เช่น ต้มจืดรากบัว, รากบัวต้มกับน้ำตาลแดง ฯลฯ แก้ร้อนในกระหายนํ้า แก้เสมหะ แก้ธาตุไม่ปกติ ระงับอาการท้องร่วงในเด็ก คนจีนนิยมต้มกับน้ำตาลแดงรับประทานแก้ร้อนใน ก้านใบมีหนาม ใบกลมหนาแข็ง ภายในบัวหลวงมีสารพวกอัลคลอลอยด์หลายชนิดมีกลิ่นหอม ใช้ห่ออาหารให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน เช่น ข้าวห่อใบบัว ใบอ่อนใช้เป็นอาหารต่างผักได้ … Read More