Month: September 2013

โรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอย

NEMATODE DISEASES
ไส้เดือนฝอย เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวไม่เป็นข้อปล้อง(nonsegment) มีลักษณะ 2 ด้านเหมือนกัน (bilateral symmetry) มีผนัง 3 ชั้น ประกอบด้วยชั้นนอก กลางและชั้นใน (triploblastic : epiblast, mesoblast, hypoblast) ส่วนมากมีชีวิตอยู่อิสระในน้ำจืด น้ำเค็ม กินพืชและสัตว์เล็กๆ บางชนิดเป็นปรสิตของคนและสัตว์ มีอยู่หลายชนิดที่เป็นปรสิตของพืชและทำให้พืชเป็นโรคที่ส่วนต่างๆ เช่นที่ราก หัว ลำต้น ใบและดอก
พืชที่เป็นโรคเกิดจากไส้เดือนฝอย อาจได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย จนถึงเสียหายมากหรือตายได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของไส้เดือนฝอย หากไส้เดือนฝอยมีจำนวนเพียงเล็กน้อยถึงปานกลางอาจทำให้พืชได้รับความเสียหายไม่มากนัก แต่ถ้ามีจำนวนมากพืชอาจเสียหายมากหรือตาย ซึ่งระดับความเสียหายของพืชย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ สนับสนุนอยู่ด้วย เช่น ในสภาพที่ฝนแล้ง ดินมีแร่ธาตุอาหารไม่เพียงพอ … Read More

โรคพืชที่เกิดจากโปรโตซัว

PROTOZOAN DISEASES
โปรโตซัวเป็นสัตว์เซลเดียว มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า โดยทั่วไปเคลื่อนไหวได้ nucleus อาจดำรงชีวิตอยู่ตามลำพัง หรือเป็นกลุ่ม อยู่อย่างอิสระ อยู่ร่วมกันเอง หรือเป็นปรสิต บางชนิดอาศัยอยู่บนสิ่งมีชีวิต
อื่น เช่น บักเตรี ยีสต์ สาหร่ายและโปรโตซัวชนิดอื่นๆ พวกที่เป็น saprophyte ใช้อาหารด้วยการย่อยสารต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวของมัน บางชนิดมีวัตถุที่อาจสังเคราะห์ได้เองเช่นเดียวกับพืช โปรโตซัวเคลื่อนไหวได้ด้วย flagella (ชั้น Mastigophora, flagellates) บางชนิดเคลื่อนไหวด้วยขาเทียม (pseudopodia ชั้น Rhizopoda, amoebae) บางชนิดด้วยขนรอบตัว (cilia-ชั้น Ciliata, ciliates) และบางชนิดก็เคลื่อนไหวได้ด้วยตัวของมันเอง (ชั้น Sporozoa) … Read More

โรคพืชที่เกิดจากมายโคพลาสมา

Mycoplasmal Diseases
มายโคพลาสมา
มายโคพลาสมา เป็นชื่อที่เรียกกันทั่วไปกับจุลินทรีย์พวก Mycoplasmatales ชื่อนี้ได้ถูกนำมาใช้แทน PPLO (pleuropneumonia-like organisms) เมื่อปี ค.ศ. 1929 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1956 การจำแนกและจัดหมวดหมู่ genus Mycoplasma จึงเป็นที่ยอมรับกัน โดยจัดไว้ใน order Mycoplasmataltes, class Mollicutes
Louis Pasteur เป็นนักวิทยาศาสตร์ท่านแรกที่พบมายโคพลาสมา โดยกล่าวว่า โรคที่มีอาการคล้ายนิวโมเนียของวัวและควายมีเชื้อก่อโรคเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สุด ไม่สามารถแยกเชื้อออกมาได้เนื่องจากไม่เจริญใน nutrient broth จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1898 Nocard และ Roux พบว่าเชื้อนี้สามารถเพาะเลี้ยงได้บน … Read More

โรคเกิดจากไวรอยด์

Viroid Diseases
ในปัจจุบัน โรคพืชเกิดจากไวรอยด์ มีรายงานพบอยู่ 7 โรค คือ โรคมันฝรั่งหัวเล็กยาว (potato spindle tuber) โรค exocortis ของส้ม (citrus exocortis) โรคแคระแกรนของเบญจมาศ (chrysanthemum stunt) โรคใบด่างซีดของเบญจมาศ (chrysanthemum chlorotic mottle) โรคแตงกวาผลเล็กซีด (cucumber plale fruit) โรคแคระแกรนของฮอพ (hop stunt) โรคกาดัง-กาดังของมะพร้าว ( cadang-cadang disease of coconut) และโรคใบจุดเหลืองและส้มของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อคล้ายไวรอยด์ ของโรคกาดัง-กาดัง ของมะพร้าว … Read More

การจัดหมวดหมู่วิสาสาเหตุโรคพืช

การเรียกชื่อและจัดหมวดหมู่วิสาสาเหตุโรค (Nomenclature and identification of plant viruses)
การเรียกชื่อและจัดหมวดหมู่ของวิสา มีหลักเกณฑ์รวบรวมได้ดังนี้
1. อาศัยอาการโรค และพืชอาศัยที่พบและศึกษาเป็นครั้งแรกประกอบ เซ่น โรคที่พบเป็นโรคใบด่างของยาสูบ (tobacco mosaic) เรียกวิสาสาเหตุโรคนี้ว่า วิสาโรคใบด่างของยาสูบ (tobacco mosaic virus) โรคใบจุดวงแหวนของมะเขือเทศ (tomato ringspot virus) อย่างไรก็ตามวิสาที่เหมือนกันอาจทำให้พืชอย่างเดียวกันนั้นเป็นโรคมีอาการแตกต่างกันได้หากพืชอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน และวิสาที่มี strain ต่างกันแต่พืชอาศัยเหมือนกันหรือวิสาเหมือนกันแต่พืชอาศัยต่างกัน จึงทำให้การเรียกชื่อตามวิธีการดังกล่าวนี้อาจเปลี่ยนแปลงหรือซํ้าซ้อนกันได้บ้างในรายละเอียด
2. วิสาสาเหตุโรคทั้งหมดจัดไว้ใน KINGDOM VIRA ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 divisions คือ
DNA viruses … Read More

การแยกและทำวิสาให้บริสุทธิ์

(Purification of plant viruses)
การแยกและทำวิสาให้บริสุทธิ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อแยก nucleoprotein ของวิสา ออกจากส่วนประกอบต่างๆ ของเซลพืชอาศัย โดยวิสายังคงสภาพและมีคุณสมบัติครบถ้วนในสารละลายที่เข้มข้น วิธีการมีขั้นตอนตามลำดับดังนี้
1. การแยกวิสาออกจากส่วนประกอบของพืช (extraction) โดยบดเนื้อเยื่อพืชที่เป็นโรคในโกร่ง (mortar) หรือใช้เครื่องปั่น (blender) แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อเอาส่วนประกอบขนาดใหญ่และชิ้นส่วนของพืชออก
ตัวอย่างพืชที่เย็นจัดก่อนบดหรือปั่น อาจช่วยให้แยกวิสาออกมาจากพืชได้มากขึ้น และการใช้น้ำคั้นที่เป็น buffer ปกติใช้ 0.02-0.5 M phosphate, pH 7.3 หรือสาร reducing agents ต่างๆ เช่น ascorbic acid, cysteine hydrochloride, … Read More

การเคลื่อนย้ายของวิสาภายในพืช

(Transport of virus within plants)
วิสาในพืชอาจจะเคลื่อนย้ายด้วยอนุภาควิสา หรือเฉพาะ nucleic acid ของวิสา ซึ่งอาจเกิดได้ดังนี้
1. การเคลื่อนย้ายวิสาภายในเซล (intracellular) อนุภาควิสา และส่วนประกอบต่างๆ ของวิสา เช่น ( + ) หรือ (-), SS หรือ ds ของ RNA และ DNA รวมทั้งโปรตีนที่ห่อหุ้มวิสาเคลื่อนย้าย ภายในเซล โดยติดไปกับการไหลเวียนของ cytoplasm ของพืชตามปกติ ดังนั้นวิสาอาจเข้าไปในส่วนประกอบภายในของเซลพืช ได้ดังนี้
ก. วิสาเข้าไปใน nucleus … Read More

การทวีจำนวนของวิสา

(Viral multiplication)
Nucleic acid และโปรตีนของวิสาแยกออกจากกันได้ ภายในเวลา 1 ชั่วโมง หลังการปลูกเชื้อโปรตีนที่แตกหลุดนั้น อาจไปรวมกับโปรตีนของเซลพืช เพื่อใช้ประโยชน์ในขบวนการสังเคราะห์ต่างๆ ของเซล
Viral RNA สังเคราะห์ได้ โดยเอนไซม์จากพืชพวก RNA-polymerases หรือ RNA-synthetast หรือ RNA-replicases และ RNA ของวิสาทำหน้าที่เป็น template โดย nucleotide ประกอบกันเป็น RNA ใหม่เพิ่มขึ้น RNA ที่เกิดใหม่นี้จะยังไม่เป็น RNA ของวิสา แต่จะเป็น complementary strand (-) ของ RNA … Read More

โครงสร้างของอนุภาควิสา

ส่วนประกอบและโครงสร้างของอนุภาควิสา (Composition and structure of virion)
อนุภาควิสาเป็น nucleoprotein ประกอบด้วย nucleic acid มีโปรตีนห่อหุ้ม โดยมีสัดส่วนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของวิสา nucleic acid ของวิสา อาจมีตั้งแต่ 5-40% และโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบที่เหลือ อาจมีได้ตั้งแต่ 60-95% วิสาที่มีรูปร่างเป็นท่อนยาว มี nucleic acid ในสัดส่วนต่ำกว่า และโปรตีนสูงกว่า ส่วนแบบทรงกลมเป็นเหลี่ยมนั้น มี nucleic acid เปอร์เซนต์สูงกว่า และโปรตีนตํ่ากว่า Nucleoprotein ของวิสาแต่ละชนิดมีนํ้าหนักรวมแต่ละอนุภาคแตกต่างกันตั้งแต่ 4.6-73 ล้าน หน่วย น.น.โมเลกุล สำหรับ … Read More

การถ่ายทอดของวิสาสาเหตุโรคพืช

(Transmission of plant viruses)
การถ่ายทอดของวิสาสาเหตุโรค มีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยชี้บอกถึงการระบาดของโรค ตลอดจนการควบคุมโรคที่ได้ผล วิธีการถ่ายทอดวิสาที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแก่พืชได้นั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะและคุณสมบัติของวิสา
1. การถ่ายทอดทางแมลง (insect transmission)
วิสาที่ถ่ายทอดได้โดยแมลงพวกปากกัด (biting insect) ได้แก่แมลงด้วงปีกแข็ง (beetle) ตั๊กแตน (grasshoppers) และแมลงหนีบ (earwigs) นั้นเป็นวิสาพวกที่สามารถถ่ายทอดแบบกล (mechanical transmission) โดยวิสาติดไปกับส่วนของปากแมลงแล้วถ่ายทอดสู่พืช ขณะแมลงกัดกินพืช ไม่มีขบวนการที่


ภาพ Inclusion bodies ของยาสูบที่เป็นโรคเกิดจากวิสา A) TMV ไม่ได้ย้อมสี Cr = hexagonal crystals, N Read More