Month: September 2013

โรคพืชที่เกิดจากวิสา

วิสา (virus, pi. viruses) มาจากภาษาลาตินหมายถึง เป็นพิษหรือสารพิษ วิสาเป็นสิ่งก่อโรค ที่มีขนาดเล็กมาก โปร่งแสง (transparency) ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทัศน์ธรรมดา ทวีจำนวนได้เฉพาะในเซลอื่นที่มีชีวิตและเป็นสาเหตุของโรค มีขนาดและรูปร่างแตกต่างไปจากเชื้อสาเหตุโรคอื่นๆ อย่างมากมาย รวมทั้งส่วนประกอบทางเคมีและโครงสร้างทางฟิสิกส์ของเชื้อ วิธีการติดเชื้อ การทวีจำนวน การเคลื่อนย้ายของเชื้อในพืชอาศัย การแพร่กระจาย อาการของพืชที่เชื้อทำให้เกิดโรค และการตรวจสอบเชื้อ ยังมีวิธีการแตกต่างไปจากการใช้กับเชื้อสาเหตุโรคอื่นๆ
พืชที่เป็นโรคเกิดจากวิสา จะมีอาการคล้ายพืชขาดธาตุอาหารและเกิดจากสารพิษ แต่แตกต่างออกไปที่พืชที่เป็นโรคนี้ ติดต่อไปยังพืชอื่นๆ ได้ โดยเชื้อสาเหตุสามารถถ่ายทอดไปสู่ต้นปกติด้วยกรรมวิธีต่างๆ แล้วแต่ชนิดของวิสา วิสาชนิดหนึ่งสามารถทำให้เกิดโรคแก่พืชต่างๆ ได้หลายสิบชนิด และในทำนองเดียวกัน พืชชนิดหนึ่งก็สามารถเป็นโรค โดยมีวิสาเป็นสาเหตุหลายชนิดได้เช่นกัน
ลักษณะต่างๆ ของวิสาสาเหตุโรค (Characteristics of plant viruses)Read More

โรคพืชที่เกิดจากริคเคทเซีย

Rickettsialike Bacteria Diseases
ริคเคทเซีย สาเหตุโรคพืชพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1972 ใน phloem ของโรค clover club leaf disease ต่อมาพบทำให้เกิดโรค Pierce’s disease of grape and alfalfa dwarf, phony disease of peach โรคแคระแกรนของอ้อยตอ และโรคของธัญญพืชต่างๆ นอกจากนี้ ยังพบจุลินทรีย์ที่มีลักษณะคล้ายกับเชื้อสาเหตุดังกล่าว กับโรค plum leaf scald, almond leaf scorch และโรคอื่นๆ บางโรคอีกด้วย
จุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชนี้ … Read More

โรคปุ่มปมและโรคscabของพืชจากบักเตรี

โรคปุ่มปมของพืชเกิดจากบักเตรี (Bacterial galls)
โรคปุ่มปมเกิดจากบักเตรี เกิดบนลำต้น และราก มีขนาดไม่แน่นอน จะใหญ่มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อเยื่อพืช
เชื้อสาเหตุโรค :
Agrobacterium สาเหตุโรคปุ่มปมที่โคนต้นพืชหลายชนิด เช่น ของไม้หลายชนิด ไม้ผล และองุ่น (A. tumefaciens) อาการปุ่มปมอาจเกิดที่ราก และหน่อหากปลูกพืชในเรือนเพาะชำ โรคทำให้พืชไม่เจริญเติบโต ให้ผลผลิตตํ่า ถ้าเป็นไม้เถาต้นอาจตายได้
อาการโรคมักพบที่รากและโคนต้นใกล้ระดับดิน หากเป็นเถาจะพบที่กิ่ง ก้านใบ และเส้นใบ ต้นอาจแคระแกรน ใบซีด
Corynebacterium สาเหตุโรคปุ่มปมบนใบของพืชปีเดียวและข้ามปีของไม้ดอกหลายชนิด (C. fascians)
Pseudomonas สาเหตุโรคปมของมะกอก (P. savastanoi)

Read More

โรค canker เกิดจากบักเตรี

(Bacterial cankers)
โรค canker เป็นโรคที่เกิดอาการบนลำต้น ผล ใบ ตา ช่อดอก และกิ่งก้าน โรคของพืชบางชนิด เนื้อเยื่ออาจถูกทำลายอ่อนและมีเมือกบักเตรีเยิ้มออกมา
เชื้อสาเหตุโรค :
Corynebacterium สาเหตุโรค canker และเหี่ยวของมะเขือเทศ V (C. miehiganense)
Pseudomonas สาเหตุโรคของไม้ผลเป็นแข็งต่างๆ (P. syringae)
Xanthomonas สาเหตุโรคของพืชตระกูลส้ม(X. citri)
โรคแคงเกอร์ของส้มเกิดจากเชื้อบักเตรี ขึ้นได้ทั้งที่ใบ ผล และกิ่งก้าน เป็นสะเก็ดนูนสีเหลืองถึงน้ำตาลบนใบ ใหม่ๆ จะฟูคล้ายฟองนํ้า ต่อมาจะเป็นสะเก็ดแข็ง บริเวณรอบแผลจะมีวงสีเหลืองเป็นมันล้อมรอบ
อาการที่ใบ ลักษณะอาการที่เป็นกับใบส้มตามธรรมชาติเริ่มแรกจะเป็นจุดเล็กๆ ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด … Read More

โรคเหี่ยวและโรคใบไหม้จากบักเตรี

โรคเหี่ยวเกิดจากบักเตรี (Bacterial vascular wilts)
โรคเหี่ยวเกิดจากบักเตรี เป็นโรคที่เกิดที่ระบบท่อลำเลียงของพืชเป็นเหตุเช่นเดียวกับโรคเกิดจากเชื้อรา พบได้ทั่วไปกับพืชผัก พืชไร่ ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชในเขตร้อนทั่วไป โดยเชื้อจะทวีจำนวนเข้าไปในท่อ xylem ของพืช ทำให้การเคลื่อนย้ายนํ้า และอาหารขัดข้อง ทำให้พืชเหี่ยว และตาย บักเตรีที่อยู่ใน xylem นั้นจะย่อยผนังเซลของ xylem และเชื้อทวีจำนวนไปยังเนื้อเยื่อ parenchyma ที่อยู่ถัดไปทำลายเซล ทำให้เกิดช่องว่างที่เต็มไปด้วยบักเตรี ยางเหนียว ฯลฯ บักเตรีเคลื่อนย้ายจากกลุ่มท่อลำเลีย แพร่เข้าไปในช่องว่างระหว่างเซลของใบ และอาจทำให้มีเมือกของบักเตรี (bacterial ooze) ออกมาทางปากใบหรือรอยแตกของผิวใบได้
เชื้อสาเหตุโรค :
Corynebacterium เช่นโรค canker และเหี่ยวของมะเขือเทศ (C. … Read More

โรคเน่าเละของข้าวโพดจากเชื้อบักเตรี

(Bacterial soft rot or top rot)

โรคเน่าเละของข้าวโพดที่เกิดจากเชื้อบักเตรี พบโดย H.R. Rosen ในปี ค.ศ. 1922 A.R. Stanley และ C.R. Orton พบในเวอร์จิเนียภายใต้ในปี ค.ศ. 1930 และ G.H. Boewe ในรัฐอิลลินอย เมื่อปี ค.ศ. 1949 โดยพบทำให้ลำต้นและโคนต้นของข้าวโพด เนื้อเยื่อ parenchyma จะถูกทำลายเน่าเละอย่างรวดเร็ว เนื้อเยื่อจะมีรอยชํ้าสีนํ้าตาลเปียกชุ่ม
ในปี ค.ศ. 1942 W.V. Ludbrook พบเป็นกับส่วนยอดของข้าวโพด ในประเทศออสเตรเลีย … Read More

โรคเน่าเละของพืชผักจากบักเตรี

(Bacterial soft rots)
โรคเน่าเละของพืชผักเกิดจากเชื้อบักเตรี เป็นโรคที่มีความสำคัญมากทีสุดโรคหนึ่ง ทำความเสียหายแก่พืชอย่างรุนแรงในระหว่างการเพาะปลูก การเก็บรักษา และการขนส่ง พืชผักต่างๆ ที่มีรายงานพบโรคนี้มีกระหล่ำปลี แตงไทยฝรั่ง แครอท แตงกวา มะเขือ ผักกาดหอม มันฝรั่ง พริก แรดิช มะเขือเทศ น้ำเต้า ข้าวโพด ถั่ว มันเทศ แตงโม ฯลฯ

Read More

อาการโรคพืชที่เกิดจากบักเตรี

อาการของโรคเกิดจากเชื้อบักเตรี คล้ายกับโรคที่เกิดจากเชื้อรา อาการที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อกับพืชอาศัยและสภาพแวดล้อมต่างๆ อาการของโรคอาจแบ่งออกได้ดังนี้

1. ใบแห้งหรือไหม้ (blight) เชื้อเข้าทำลายพืชทำให้เกิดอาการ necrosis อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

2. เน่าเละการเละของเนื้อเยื่อ เนื่องจากเชื้อสร้างเอนไซม์มาย่อยสารที่เชื่อมระหว่างเซลพืช (middle lamella) และผนังเซลทำให้เซลหลุด ของเหลวต่างๆ ในเซลไหลออกมา (bacterial ooze) ต่อมาส่วนที่ถูกทำลายนั้นอาจเปลี่ยนสีไป

3. ใบจุด เป็นอาการที่เกิดจากการ necrosis ของเนื้อเยื่อที่เชื้อเข้าทำลาย จุดอาจเป็นสีน้ำตาลชุ่มปกติจุดจะมีขอบเขตของแผลจำกัด

4. ปม ก้อน เป็นอาการที่เนื้อเยื่อทีถูกเชื้อเข้าทำลายเกิดการแบ่งเซลในอัตราที่มากกว่าปกติและแต่ละเซลมีขนาดใหญ่กว่าปกติที่เรียกว่า hyperplasia และ hypertrophy ตามลำดับ

5. Canker เป็นอาการเกิดหย่อมของเนื้อเยื่อโตออกมา … Read More

โรคเกิดจากบักเตรี

Bacterial Diseases
บักเตรีจัดเป็นพืชขนาดเล็กมากที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีอยู่ประมาณ 1,600 species ส่วนมากไม่มีคลอโรฟิล และอยู่แบบ saprophyte มีเป็นสาเหตุโรคพืชน้อยประมาณ 200 species และทุก species เป็น facultative saprophyte สามารถเจริญเติบโตได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อ บักเตรีที่สามารถทำให้พืชเป็นโรคได้เกือบทุกชนิดสามารถพบได้ทั่วไปในสภาพที่มีอาทาศชื้นและอบอุ่นเนื่องจากบักเตรีมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวอยู่เสมอ และมักพบว่ามีลักษณะต่างๆ ปะปนกัน (heterogeneous populations) จึงยากต่อการจำแนก และจัดหมวดหมู่เชื้อ

Read More

โรคราทำลายไม้เกิดจาก Basidiomycetes

ไม้ที่ยังเป็นต้นมีชีวิต ซุง ไม้แปรรูป หรือผลิตภัณฑ์ไม้สำเร็จรูป มักได้รับความเสียหายจากเชื้อรา ในปีหนึ่งอย่างมากมาย ตั้งแต่ต้นเล็กถึงต้นแก่ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ต่างๆ เชื้อราทำให้ไส้กลางของราก ลำต้น กิ่งก้านเน่า ผิวนอกของไม้ผุเพราะเชื้อราทำลาย หากความชื้นเหมาะสมแผลใหญ่หรือรอยตัว จะเปลี่ยนสี ผุ และลามเข้าเนื้อไม้โดยรอบ และอาจเป็นทั้งต้น ทำให้ไม้มีราคาตํ่า

Read More