Month: December 2012

สีส้มจากรากยอป่า

ยอป่า

ชื่อไทย ยอป่า

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ สลักป่า สลักหลวง คุยโคะ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda coreia Ham.

วงศ์ Rubiaceae

ยอป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม ใบโตขนาดใบหูกวาง หนาและแข็ง ใบมีขนาดเล็กกว่ายอบ้านเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกยอบ้าน สีขาว ผลเป็นผลรวม รูปร่าง ค่อนข้างกลม เกลี้ยง ไม่โปนเป็นปุ่มปมเหมือนผลยอบ้าน เปลือกรากสีแดง เนื้อในรากสีเหลือง

สารสำคัญ

เปลือกรากมีสารสีแดงชื่อ มอรินดิน (morindin)

ประโยชน์ ใช้รากของยอป่า (เปลือกราก + เนื้อราก) ย้อมผ้า

ให้มีสีส้ม นิยมใช้ย้อมผ้าไหมและไหมพรม เมื่อเติมเกลือของโลหะบางชนิดลงไปจะทำให้ได้สีแตกต่างกันออกไป … Read More

สีเหลืองจากกรัก

กรัก

(แก่นขนุน)

ชื่อไทย ขนุน

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ มะหนุน หมักมี้ ล้าง หมากลาง ขะนู ขะเนอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lamk.

วงศ์ Moraceae

ขนุนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นพืชที่ปลูกไว้ตามบ้านและสวน เพื่อใช้เป็นผลไม้ ทุกส่วนของสำต้นมียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับสีเขียวเข้มเป็นมัน หูใบยาวเป็นแผ่นหุ้มใบอ่อนและจะหลุดร่วงไปเมื่อใบคลี่ออก ดอกออกเป็นช่อ มีใบประดับหุ้มไว้ ช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัวเมียอยู่แยกกัน แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้เกิดที่ปลายกิ่ง ช่อดอกตัวเมียเกิดตามกิ่งใหญ่หรือลำต้น ผลเป็นผลรวมมีขนาดใหญ่ ผิวขรุขระ เป็นหนามแหลมสั้นๆ

ส่วนที่ใช้เตรียมสี แก่น

สารสำคัญ

แก่นขนุนซึ่งเรียกว่า กรัก มีสารสีเหลืองชื่อ มอริน … Read More

สีเหลืองจากแก่นแกแล

แกแล

ชื่อไทย แกแล

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ แกก้อง สักขี สูนช้าง แกล แก่นเข ไม้ขรี น้ำเคี่ยวโซ่ ไม้เหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Maclura cochinchinensis Comer

วงศ์ Moraceae

แกแล เป็นไม้พุ่มสูง 5-10 เมตร มียางขาว มีหนามแข็งโค้งยาว ออกตรงซอกใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนรอบกิ่ง ใบมีลักษณะเป็นมัน แก่นมีสีเหลือง ดอกช่อออกที่ซอกใบ ผลเป็นผลรวม

ส่วนที่ใช้เตรียมสี แก่น

สารสำคัญ

สารสีเหลืองชื่อ มอริน (Morin)

ประโยชน์

ใช้ย้อมจีวรพระให้มีสีเหลืองคลํ้า ใช้ย้อมผ้าไหม และไหมพรมให้เป็นสีเหลือง มอรินใช้ในการพิมพ์ผ้าดอก

Read More

สีเหลืองนํ้าตาลจากเปลือกต้นมะพูด

มะพูด

ชื่อไทย มะพูด

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ปะหูด ปราโฮด มะนู ตะพูด จำพูด พะวาใบใหญ่ ส้มปอง ส้มม่วง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia vilersiana Pierre

วงศ์ Guttiferae

มะพูดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบใหญ่ หนา มัน คล้ายใบมังคุด แต่ปลายใบจะแหลมกว่า ดอกสีเขียวอมเหลือง ผลใหญ่ ผลแก่มีสีเหลือง เมื่อสุกจะมีสีส้ม เนื้อในผลสีเหลืองจำปา รสเปรี้ยวอมหวาน

ส่วนที่ใช้เตรียมสี เปลือกต้น ให้สีเหลือง

ประโยชน์

ใช้เปลือกต้นเป็นสีย้อม โดยใช้รวมกับต้นคราม จะให้สีนํ้าตาล

Read More

สีนํ้าเงินจากคราม

คราม

ชื่อไทย คราม

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ครามดอย ครามขน ครามเขา ครามป่า ครามใหญ่ ครามหลวง

ชื่ออังกฤษ Indigo

ชื่อวิทยาศาสตร์ Indigofera tinctoria Linn.

วงศ์ Leguminosae

ครามเป็นไม้พุ่ม แตกกิ่งก้าน กิ่งมีสีม่วงแดงปนเขียว ยอดอ่อนมี

ขนปกคลุม ใบเป็นใบประกอบ โคนและปลายใบแหลม มีขนสั้นๆ ปกคลุมผิว ใบ ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกเกิดที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ฝักเหมือนฝักถั่วเขียวแต่เล็กกว่า ฝักแก่จะแตกออก ภายในมีเมล็ด 6-8 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เตรียมสี ทั้งต้น… Read More

สีดำจากลูกมะเกลือ

สีย้อมจากสมุนไพร

เป็นสีที่ได้จากสมุนไพร นำมาใช้เป็นสีย้อมผ้า ผ้าไหม ไหมพรม จีวรพระ แห และอวนต่างๆ สีที่ใช้อาจจะได้จากส่วนต่างๆ ของพืชเช่นเดียว กับสีผสมอาหารสมุนไพร สีย้อมจากธรรมชาติมีข้อเสียคือ มักจะย้อมได้ไม่ติดแน่น จะต้องใช้สารเคมีบางชนิดช่วยเส่ริมเพื่อทำให้สีติดแน่นยิ่งขึ้น ตัวอย่างสารที่ใช้เสริม เช่น เกลือโลหะหนักบางชนิด สารส้ม บางครั้งอาจใช้พืชบางชนิดช่วยเสริมแทนได้ อย่างไรก็ตามสีย้อมสมุนไพรปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ เนื่องจากสีตกไม่คงทน สีซีดง่าย อีกทั้งวิธีการเตรียมยุ่งยากไม่สะดวก จึงนิยมใช้สีสังเคราะห์มากกว่า สำหรับสีย้อมจากธรรมชาติที่ยังใช้อยู่บ้าง

มะเกลือ

ชื่อไทย มะเกลือ

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ มักเกลือ ผีเผา มะเกีย เกลือ หมากเกือ มาเกือ

ชื่ออังกฤษ Ebony Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros … Read More

สีน้ำตาลไหม้จากอ้อย

อ้อยแดง

นํ้าตาลไหม้ (Caramel)

ชื่อไทย อ้อย

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ อ้อยแดง อ้อยดำ อ้อยขม กะที อำโป

ชื่ออังกฤษ Sugar cane

ชื่อวิทยาศาสตร์ Saccharum officinarum Linn.

วงศ์ Graminae

อ้อยเป็นพืชล้มลุก ขึ้นเป็นกอ แทงหน่อออกทางด้านข้างของ ลำต้นเดิม ลำต้นมีลักษณะเป็นปล้องๆ ผิวนอกแข็ง สีแดง เป็นมัน เนื้อในสีขาว ฉํ่านํ้า มีรสหวานตามข้อจะมีตาพร้อมที่จะงอกเป็นต้นใหม่ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอกแคบๆ ยาว ดอกออกเป็นช่อใหญ่สีขาว ออกที่ปลายสุดของลำต้น

ส่วนที่ใช้เตรียมสี ลำต้น

สารสำคัญ

นํ้าตาลทราย (Sucrose)

ประโยชน์Read More

โกโก้

โกโก้

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ โคโค่

ชื่ออังกฤษ Cocoa

ชื่อวิทยาศาสตร์ Theobroma cacao Linn.

วงศ์ Sterculiaceae

โกโก้เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ดอกเป็นดอก เดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกตามลำต้น กิ่ง ก้าน มีขนาดใหญ่ ผลใหญ่ รูปรี ผิวขรุขระ สีนํ้าตาลแดง

ส่วนที่ใช้เตรียมสี เมล็ด

สารสำคัญ

สีนํ้าตาลในเมล็ดโกโก้เรียก โกโก้-เรด (cocoa-red)

ประโยชน์

สีจากเมล็ดโกโก้นิยมใช้แต่งสีเค้ก ราดหน้าขนมเค้กแต่งสีและแต่งรสไอสครีม วุ้น ขนมเอแคร์ สีจากโกโก้ยังช่วยแต่งรสและแต่งกลิ่นอีกด้วย

วิธีเตรียมสีน้ำตาลจากเมล็ดโกโก้

นำเนื้อในเมล็ดโกโก้มาคั่วให้หอม บดให้ละเอียด จะได้ผงโกโก้สีนํ้าตาล หรือจะใช้ผงโกโก้สำเร็จรูปที่มีขายในท้องตลาดก็ได้ เมื่อนำผงมาละลายน้ำจะได้สารละลายสีนํ้าตาล กลิ่นหอม

Read More

ดอกดิน

ดอกดิน

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ซอซอย ดอกดินแดง ปากจะเข้ สบแล้ง หญ้าดอกขอ หญ้าเข้าก่ำ

ชื่อภาษาอังกฤษ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Aeginetia indica Roxb.

วงศ์ Orobanchaoeae

ดอกดินเป็นพืชขนาดเล็ก ไม่มีใบ มีชีวิตอยู่แบบกาฝาก ลำต้น เกาะอยู่ตามรากไม้ใต้ดิน เช่น รากไผ่ รากหญ้าต่างๆ เช่น หญ้าคา รากอ้อย มีดอกโผล่ขึ้นมาเหนือดิน ก้านดอกยาว ดอกสีม่วงเข้มมีลักษณะเป็น 2 ปาก มักพบดอกขึ้นอยู่ตามที่ร่มและขึ้นเมื่อย่างเข้าฤดูฝน ประมาณเดือน มิถุนายนถึงกรกฎาคม

ส่วนที่ใช้เตรียมสี ดอก

สารสำคัญ

ในดอกมีสารสีดำชื่อ ออคิวบิน (aucubin)… Read More

สีดำจากถ่านกาบมะพร้าว

ขนมเปียกปูน

ชื่อไทย มะพร้าว

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ หมากอุ๋น หมากอูน ดุง คอส่า

ชื่ออังกฤษ Coconut

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cocos nucifera Linn.

วงศ์ Palmae

มะพร้าวเป็นไม้ยืนต้น เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบเป็นใบประกอบ อยู่บริเวณยอด ดอกเป็นดอกช่อขนาดใหญ่ สีขาวนวล ผลค่อนข้างกลม เปลือกเป็นเส้นใย

ส่วนที่ใช้เตรียมสี กาบมะพร้าวที่ได้จากผล

สารสำคัญ

สีดำที่เกิดจากถ่านกาบมะพร้าว เป็นสีของถ่าย(carbon)

ประโยชน์

-สีดำจากถ่านกาบมะพร้าว ใช้แต่งสีอาหารบางชนิด เช่น ขนมเปียกปูน

-เนื้อในเมล็ดทั้งอ่อนและแก่ใช้เป็นอาหาร เนื้อมะพร้าวแก่ให้นํ้ามันมะพร้าว นํ้ามะพร้าวอ่อนใช้เป็นเครื่องดื่มบำรุงร่างกาย

วิธีเตรียมสีดำจากกาบมะพร้าว

นำกาบมะพร้าวที่เป็นเส้นใยสีนํ้าตาลมาเผาไฟจนเป็นถ่านแดง รีบเอานํ้าดับ จะได้ถ่านสีดำ

Read More