Month: April 2012

การปลูกมะเขือ

มะเขือเป็นพืชผักเมืองร้อนที่ใช้ส่วนผลบริโภคเป็นอาหารตามประวัติกล่าวไว้ว่ามะเขือเป็นพืชพื้นเมืองของอินเดีย ซึ่งต่อมาได้แพร่หลายเข้าไปในทวีปยุโรป และอเมริกาด้วย มะเขือต่าง ๆ ที่เรารู้จักและนิยมบริโภคกันแพร่หลายมีอยู่มากชนิดด้วยกันเช่น มะเขือยาว มะเขือเปราะ มะเขือม่วง มะเขือเสวย เป็นต้น

มะเขือต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้สามารถแยกออกได้เป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ

1.พวกที่มีผลกลมยาว ได้แก่ มะเขือยาวขาว มะเขือยาวสำลี มะเขือยาวสีม่วง

2.พวกที่มีผลกลมหรือค่อนข้างกลม ได้แก่มะเขือกลมม่วง มะเขือเปราะ มะเขือเสวย มะเขือเหลือง มะเขือยักษ์สีม่วง

พันธุ

มะเขือที่ปลูกทั่วไปในบ้านเราส่วนมากแล้วจะเป็นมะเขือพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกต่อ ๆ กันมาโดยเก็บเมล็ดพันธุ์เอง และต่อมาก็เกิดการกลายพันธุ์ชื่อของมะเขือก็มักจะตั้งตามลักษณะของพันธุ์หรือท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น มะเขือเปราะเจ้าพระยา มะเขือยาวสำลี มะเขือเสวย … Read More

การปลูกพริก

ในการปรุงอาหารประจำวันของคนไทย พริกเป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งจะขาดไม่ได้เลย เพราะพริกช่วยทำให้อาหารมีรสเผ็ด มีสีสันสวยงาม และถูกปากคนไทยมานาน พริกไม่เพียงแต่เป็นที่นิยมบริโภคในประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งไปขาย ต่างประเทศนำเงินเข้ามาให้บ้านเมืองเราปีละมาก ๆ จึงจัดได้ว่าพริกเป็นพืชผักที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจพืชหนึ่ง

พริกเป็นพืชในตระกูลเดียวกับมะเขือชนิดต่าง ๆ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ต่อมาได้แพร่กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ส่วนในประเทศไทยไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าพริกเข้ามาตั้งแต่เมื่อไหร่

พริกสามารถปลูกได้ดีในดินแทบทุกชนิดที่มีความชื้นพอเหมาะ ไม่แฉะ หรือแห้งเกินไป มีการระบายน้ำดี มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์และต้องแสงแดดตลอดวัน

การแบ่งประเภทของพริก

พริกที่เราพูดถึงรวม ๆ นั้น มีทั้งชนิดที่เผ็ดน้อย เผ็ดมาก ไปจนถึงไม่เผ็ดเลยและมีทั้งพริกเม็ดเล็ก ขนาดกลาง และพริกใหญ่ เช่น พริกยักษ์ พริกหยวก การจัดหมวดหมู่พริกในปัจจุบันนั้นยังค่อนข้างสับสน แต่วิธีที่นิยมใช้กันคือการแบ่งประเภทของพริกตามลักษณะลำต้นได้เป็น 2 พวกดือ

1.พวกยืนต้นRead More

การปลูกผักกาดหอม

ผักกาดหอมเป็นผักจำพวกผักสลัด เป็นที่นิยมรับประทานเป็นผักสดกัน อย่างกว้างขวาง คนไทยเรานิยมใช้กินกับอาหารจำพวกยำที่รสจัด ๆ สาคูไส้หมูหรือข้าวเกรียบปากหม้อ ก็จะขาดผักกาดหอมไม่ได้ ประโยชน์ของผักกาดหอมนอกจากใช้กินเป็นผักสดที่มีคุณค่าทางอาหารสูงแล้ว ยังจัดเป็นอาหารทางตาด้วยโดยการใช้แต่งอาหารให้สีสันสวยงามน่ากินขึ้นอีกด้วยความต้องการใช้ผักกาดหอมของผู้บริโภคมีอยู่ตลอดทั้งปี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีเทศกาลงานฉลอง เช่น งานปีใหม่ จะขายดีเป็นพิเศษ จึงนับได้ว่าผักกาดหอมเป็นพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มากชนิดหนึ่ง

ผักกาดหอม (IETTUCE) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Lactuca Sativa Linn. จัดอยู่ในตระกูล Compositae คนจีนเรียกว่าพังฉ่าย ส่วนทางภาคเหนือเรียกว่า ผักกาดยี

พันธุ

ผักกาดหอมสามารถแบ่งเป็น 4 พวกใหญ่ ๆ ตามรูปร่างลักษณะ แต่ในบ้านเรานิยมปลูกกันอยู่เพียง 2 ประเภทนี้เท่านั้นคือ

1.พวกคริพเฮด (Crisp head) หรือไอซ์เบิร์ก Read More

การปลูกผักคะน้า

คะน้าเป็นผักที่บ้านเรารู้จักกันดี นิยมใช้บริโภคกันอย่างกว้างขวาง หา ซื้อง่ายราคาไม่แพงและหาซื้อมาบริโภคได้ตลอดปี หรือหากมีที่ว่าง ๆ ข้างบ้านจะปลูกเป็นผักสวนครัวเพื่อใช้บริโภคเองก็ปลูกได้สะดวกสบายไม่มีอะไรยุ่งยาก ผักคะน้า ปลูกได้ทั้งในดินร่วน ดินเหนียว ดินทราย ที่เพิ่มธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับผักคะน้า ในรูปของปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายดีแล้ว และผักคะน้ายังปลูกได้ตลอดปีในแหล่งที่มีน้ำอย่างเพียงพอ ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการปลูกผักคะน้าได้ดีที่สุดคือ ระยะตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม-เมษายน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม จะปลูกได้ผลดีที่สุด แต่ก็จะเป็นช่วงที่ผักคะน้ามีราคาตํ่าที่สุดด้วย เนื่องจากว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดมากพร้อม ๆ กัน ยกเว้นว่าแหล่งผลิตบางแห่งประสบภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ราคาก็จะเปลี่ยนแปลงไป ส่วนช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน อันเป็นช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนสามารถปลูกได้ดีเช่นกัน แต่อาจจะประสบปัญหาบ้าง เช่น ขาดน้ำ หรือมีปัญหาโรคและแมลงรบกวนมาก หรือปัญหาฝนตกหนักทำให้เกิดดินแน่น ผักไม่เจริญเติบโต แต่ถ้าพูดถึงในด้านราคาขายดูจะดีกว่า

พันธุ์

ผักคะน้าจัดเป็นพืชผักตระกูลกะหล่ำ (Cruciferac) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า … Read More

ผักกะหล่ำปลี

ผักตระกูลกะหล่ำที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในตลาดบ้านเรานั้น ได้แก่ กะหล่ำปลี มีทั้งปลูกในระดับสวนครัวหลังบ้านจนถึงระดับเพื่อการค้าขนาดใหญ่ กะหล่ำปลีเป็นผักที่มีคุณลักษณะหลายประการ คือมีคุณค่าในทางอาหารสูง มีรสชาติดี หวานกรอบ ประกอบอาหารได้หลายประเภท รับประทานได้ทั้งดิบและสุก มีอายุการเก็บรักษาได้นานวัน และทนทานต่อการขนส่งพอสมควร เรียกได้ว่าน่าปลูกมากทีเดียว

ฤดูปลูก

กะหล่ำปลีชอบอากาศหนาว ความชื้นสูงอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 7.2-29.4 °C และต้องไม่เกิน 37.7 °C เพราะจะทำให้ได้ผลผลิตไม่ดีหรืออาจตายได้ ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะปลูกกะหล่ำปลีได้ดีคือระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม ในระหว่างเดือนมีนาคม-กันยายนก็พอจะปลูกได้โดยได้พันธุ์เฉพาะ และปลูกในแหล่งที่มีอากาศเหมาะสมทางภาคเหนือของไทย เป็นต้น กะหล่ำปลีเป็นพืชผักที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทำให้การปลูกกะหล่ำปลีในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 รุ่นคือ

รุ่นที่ 1 เริ่มเพาะเมล็ดตั้งแต่เดือนกันยายน ปลูกเดือนตุลาคม เก็บขายได้ในราวเดือนธันวาคม เป็นรุ่นที่ขายได้ราคาดี แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ในบางปีที่ยังมีฝนตกอยู่จะทำให้เตรียมดินได้ลำบาก และการปฎิบัติรักษาก็ทำได้ยาก มีโรคและแมลงรบกวนมาก… Read More

ผักกาดขาวปลี

ผักตระกูลผักกาดมีอยู่หลายชนิด ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในหมู่คนไทย ก็มี ผักกาดเขียว ผักกาดขาว ผักกาดหัว ซึ่งในจำนวนผักกาดเขียวก็ยังมีการแบ่งเป็น ผักกาดเขียวใหญ่ชนิดก้านแบนและก้านกลม ผักกาดเขียวเล็ก ผักกาดเขียวปลี (ตีนหมี) ผักกาดขาวเล็ก ผักกาดขาวปลี เป็นต้น

และในบรรดาผักกาดขาวหลาย ๆ พันธุ์ ดูเหมือนว่าผักกาดขาวปลีจะเป็นที่นิยมของผู้บริโภคกันมาก เพราะมีลักษณะสีดอกขาวสะอาด กรอบหวาน ใช้กินได้ทั้งสด-สุก และแปรรูป

ผักกาดขาวปลี (Brassica compestris ssp. pekinensis) เป็น ผักฤดูหนาว (cool-season vegetable) อยู่ในตระกูล Cruciferac อุณหภูมิ ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตและการห่อปลีอยู่ในช่วง 15-20 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ จะไม่มีการห่อปลี หรือห่อน้อยและคุณภาพไม่ดีคือปลีหลวม… Read More

บร๊อคโคลี

1.กะหล่ำดอกอิตาเลียนหรือที่คนไทยโดยทั่วไปเรียกตามชื่อสามัญว่า บร๊อคโคลี (Broccoli) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Brassica olercea L.var.italica Pleneck อยู่ในตระกูล Cruciferae เป็นพืชผักเมืองหนาวมีถิ่นเดิมอยู่ทางตอนใต้ของยุโรปหรือแถว ๆ ประเทศอิตาลี และเริ่มมีมากนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย เมื่อไม่นานมานี้ โดยในระยะแรก ๆ ทำการปลูกทางแถบภาคเหนือ ซึ่งผลผลิตมีน้อยราคาในช่วงนั้นจึงอยู่ในขั้นแพง เนื่องจากเป็นของแปลกใหม่และมีได้เฉพาะฤดูหนาวเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพันธุ์ให้ทนร้อนได้มากขึ้น ในช่วงฤดูการผลิตจึงสามารถปลูกในภาคอื่นได้เหมือนกัน แต่สำหรับนอกฤดูนั้นปลูกได้เฉพาะทางภาคเหนือที่มีอากาศเย็นบางเขตเท่านั้น

ลักษณะของบร๊อคโคลี คือ มีใบกว้างสีเขียวเข้มออกเทา ริมขอบใบเป็นหยัก ทรงพุ่มใหญ่เก้งก้างลำต้นใหญ่และอวบ ดอกอยู่รวมกันเป็นกลุ่มช่อหนาแน่นดูเป็นฝอย ๆ สีเขียวเข้ม ดอกมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร โดยทั่วไปนิยมกินตรงส่วนที่เป็นดอกและลำต้นนิยมรองลงมา แต่ในด้านคุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะวิตามินซี กลับมีอยู่มากในส่วนของลำต้น ดังนั้นหลังจากเก็บไว้แล้ว พบว่าดอกลายเป็นสีเหลือง

Read More

กะหล่ำดอก

กะหล่ำดอกเป็นพืชผักอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมนำมาประกอบอาหารของคนทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารระดับภัตตาคาร ระดับโรงแรมหรือในร้านข้าวแกง รวมไปถึงตามครัวใหญ่ ครัวเล็กของบ้านต่าง ๆ เหตุที่กะหล่ำดอกได้รับ ความนิยมจากผู้บริโภคมาก ก็เนื่องมาจากรสชาติอร่อยกรอบหวาน มีสีดอกเหลือง น่ารับประทาน ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่างทั้งผัด ทั้งแกง ทั้งใส่ก๋วยเตี๋ยวหรือวางเป็นเครื่องเคียงบนจานสเต๊ก หรืออื่น ๆ อีกมากมายบรรยายได้ไม่รู้จบ กล่าวในด้านผู้ปลูกแล้วผักกะหล่ำเป็นผักที่ขายได้ราคาดี ในด้านการขนส่งก็ไม่ค่อยเสียหาย สามารถเก็บเอาไว้ได้นานวันกว่าพืชผักอื่น ๆ หลายอย่างเพราะลำต้นมีความแข็งแรง เนื้อแน่น ไม่อวบน้ำ

การปลูกกะหล่ำดอกก็คล้าย ๆ กับการปลูกกะหล่ำดอกอิตาเลียน เพราะ ผักทั้ง 2 อย่างมีลักษณะลำต้นคล้ายคลึงกัน จะต่างก็ตรงดอกของกะหล่ำดอกอิตาเลียน

มีช่อดอกสีเขียว ส่วนดอกกะหล่ำมีสีขาวออกเหลือง ทางด้านใบก็มีลักษณะต่างกัน ตรงใบของกะหล่ำดอกอิตาเลียนมีสีเขียวเข้มออกเทาใบของกะหล่ำดอกมีสีเขียวอ่อน กว่าและริมของใบหยักน้อยกว่า

กะหล่ำดอกเป็นพืชผักที่ปลูกได้ดีในเขตอากาศอบอุ่น ในประเทศไทยจึงปลูกได้ดีในที่ที่อากาศค่อนข้างเย็นหรือในช่วงฤดูหนาวคือช่วงประมาณเดือนตุลาคม- มกราคม

Read More

ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการปลูกพืชผัก

1.เกษตรกรขาดความรู้ในด้านเขตกรรมและการกำจัดโรคและแมลงที่ ถูกต้อง ส่วนใหญ่ข้อความจากร้านค้าหรือสอบถามกันเอง แทนที่จะปรึกษาเจ้าหน้าที่ทางการเกษตร จึงทำให้ได้ความรู้ผิดพลาดทางด้านวิชาการ

การปฎิบัติในการเขตกรรมและการกำจัดโรคและแมลงที่ต้องทำได้ดังนี้

1.1มีการปรับปรุงดินด้วยปูนขาวเป็นครั้งคราวในอัตราส่วน 200-300 กก./ไร่ แต่ถ้าจะให้ถูกต้องแน่นอนว่าจะต้องใส่ในอัตราเท่าไร ควรส่งตัวอย่างดินให้กรมวิชาการ เกษตรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจวิเคราะห์หาอัตราที่จะใส่

1.2มีการใส่ปุยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก กากพืช ฯลฯ ในอัตราส่วน 3 ตัน/ไร่ หรือ 25-50 หาบ/ไร่ ควรใช้ทั้งชนิดหยาบและละเอียดเพื่อทำให้ดิน ร่วนซุยมีมีอากาศแทรกซึมเข้าไปในดินได้ ซึ่งพืชทุกชนิดต้องการอากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้แม้จะอยู่ในดินก็ตาม ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทุกครั้งที่มีการปลูกผักใหม่

1.3ในระหว่างปลูกควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ช่วยด้วย ในอัตราส่วน 25-50 กก./ไร่

1.4ฉีดยาเคมีป้องกันกำจัดโรคตามคำแนะนำ เมื่อพบโรคปรากฎเป็นครั้งแรกและควรฉีดพ่นยาสำหรับโรคที่ปรากฎระบาดทุกปีตามเวลาและฤดูกาล ก่อนที่จะมีโรคระบาด

1.5ฉีดพ่นยาเคมีป้องกันกำจัดพวกแมลงศัตรูพืชจำพวกหนอน เพลี้ยไพ่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว … Read More

การผลิตผักนอกฤดูกาล

การผลิตผักนอกฤดูหรือผลิตภายใต้สภาพควบคุม คือสวนผักที่ทำการนอกฤดูกาลผลิต ซึ่งมีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมกับพืชผักชนิดนั้น ๆ เช่น อากาศร้อนจัด หนาวจัด หรือฝนตกชุกเกินไป โดยการปลูกในเรือนกระจกที่ควบคุมความชื้น, แสงและอุณหูมิได้ ถ้าอากาศหนาวเกินไปก็ใช้เครื่องปรับอากาศอุ่น (heater) เข้าช่วย ถ้าอากาศร้อนเกินไปก็ใช้เครื่องปรับอากาศเย็น (air condition) ช่วย ซึ่งเป็นการกระทำที่ต้องใช้ต้นทุนและเครื่องมือในการผลิตสูง ในประเทศไทยเราไม่นิยมใช้กัน เพราะไม่คุ้มค่าลงทุน

นการปลูกพืชผักนอกฤดูของประเทศไทยโดยทั่ว ๆ ไปมีการทำกันอยู่ 2 วิธีคือ

1. วิธีควบคุมสภาพแวดล้อม โดยการควบคุมการรบกวนจากฝนและแดดในช่วงการเพาะเมล็ดโดยการใช้ผ้าดิบคลุมแปลงเพาะ เปิดปิดให้ได้รับแสงแดด ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเช่นแดดในตอนเช้าและเย็น เมื่อได้กล้าที่โตพอสมควรจึงย้ายกล้าใส่ภาชนะ เช่น กระทง ถุง กระดาษ ถุงพลาสติกแล้วยกไปตั้งไว้ในเรือนระแนง ที่ได้แดดพอรำไร แล้วจึงย้ายไปปลูกในแปลงปลูกจริง เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อไป วิธีหนึ่งที่พอจะใช้ได้เหมือนกัน … Read More