Month: December 2012

ตะไคร้

ตะไคร้

สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับปัสสาวะ

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ จะไคร ไคร คาหอม หัวสิงไค

ชื่ออังกฤษ Lemon grass

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citmtus Stapf

วงศ์ Graminae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ตะไคร้เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุหลายปี ขึ้นเป็นกอ สูงได้ถึงหนึ่งเมตร ต้นและใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว รูปเรียวยาว ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบและคม ก้านใบมีสีขาวนวลหรือสีม่วงอ่อนแผ่ออกเป็นกาบหุ้มซ้อนๆ กันแน่นดูคล้ายลำต้น ดอกออกเป็นช่อยาว มีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก แต่ออกดอกยาก ผลมีขนาดเล็ก

การปลูก

ตะไคร้ปลูกง่าย เจริญงอกงามได้ดีในดินร่วนซุย ปลูก

โดยใช้ส่วนเหง้าหรือลำต้นปักชำ โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนยาวพอสมควร … Read More

กะเพรา

กะเพรา

สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ กะเพราขาว กะเพราแดง กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขน กะเพราดำ

ชื่ออังกฤษ Sacred basil, Holy basil

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum Linn.

วงศ์ Labiatae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กะเพราเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 1 – 2 ฟุต ลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ปลายใบและโคนใบ แหลมหรือมนเล็กน้อย ลำต้น กิ่ง และใบ มีขนอ่อนๆ ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกยาว ออกที่ปลายยอด ดอกย่อย … Read More

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร

สมุนไพรแก้เจ็บคอ แก้ท้องเดิน

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ฟ้าทะลาย นํ้าลายพังพอน ยากันงู ฟ้าสาง เมฆทะลาย ฟ้าสะท้าน สามสิบดี คีปังฮี (จีน)

อังกฤษ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Andmgraphis paniculata (Burm.) Nees

วงศ์ Acanthaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก สูง 1-2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยม ตั้งตรง แตก กิ่งก้านสาขามากมาย ใบเรียว กว้างประมาณ 1 ซม. ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ สีขาว มีรอยประสีม่วงแดง กลีบดอกด้านบนมี 3 หยัก … Read More

พญาปล้องทอง

พญาปล้องทอง

สมุนไพรแก้อักเสบ เฉพาะที่ แก้แมลงสัตว์กัดต่อย

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ พญายอ เสลดพังพอนตัวเมีย ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด พญาปล้องดำ ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง

ชื่ออังกฤษ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Clinacanthus nutans Lind.

วงศ์ Acanthaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

พญาปล้องทองเป็นไม้พุ่มแกมเถา สำต้นกลมเรียบ สีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม ใบยาวเรียว ปลายแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นรอยหยักเล็กน้อย เนื้อในบางมีขนนุ่มตามเส้นใบ ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ออกดอกยาก แต่ละช่อมี 3-6 ดอก กลีบดอกสีแดงส้ม ดอกเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ผลเป็นฝักมี … Read More

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้

สมุนไพรแก้โรคกระเพาะ แผลถลอก และแผลไฟไหม้ นํ้าร้อนลวก

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ว่านไฟไหม้ หางตะเข้

ชื่ออังกฤษ Aloe, Mediterranean Aloe, True Aloe, Star Cactus

ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe baibadensis Mill. A. vera Linn.

วงศ์ Liliaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

พืชล้มลุก ลำต้นสั้น ใบออกเป็นกระจุกที่ปลายลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยว รูปยาว ปลายแหลม หนาและฉ่ำน้ำ ขอบใบมีหนามแหลม ผิวใบมีสีเขียวใสและมีรอยกระสีขาว ภายในใบมีวุ้นและเมือกมาก ช่อดอกออกตรงกลางลำต้น ก้านช่อดอกยาวมาก ดอกเป็นหลอด โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อ … Read More

ชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ

สมุนไพรแก้ท้องผูก และแก้กลาก เกลื้อน

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ชุมเห็ดใหญ่ ขี้คาก ลับมืนหลวง หมากกะลิงเทศ ส้มเห็ด จุมเห็ด ตะลีพอ

ชื่ออังกฤษ Seven-Golden-Candle Stick, Candle Bush, Ringworm Bush, Candelabra

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia dlata Linn.

วงศ์ Leguminosae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ชุมเห็ดเทศเป็นไม้พุ่ม ใบรูปไข่ ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ใบเป็นใบประกอบ ดอกออกเป็นช่อใหญ่ตามง่ามใบ ใกล้กับปลายกิ่ง สีเหลือง ผลเป็นฝักแบนยาว มีปีก 4 ปีก ฝักแก่มีสีดำ แตกตามยาวเมสีดสีนํ้าตาล-ดำ ผิวขรุขระ… Read More

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และแก้ผื่นคัน

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น ตายอ สะยอ

ชื่ออังกฤษ Turmeric, Curcuma

ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn.

วงศ์ Zingiberaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ขมิ้นชันเป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองเข้มอมส้ม มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบเรียวยาว ปลายแหลม ก้านใบยาวคล้ายใบพุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกสีขาวอมเหลือง มีใบประดับสีเขียวอ่อนๆ หรือสีขาว ใบประดับ 1 ใบ มี 2 … Read More

สมุนไพรที่ควรปลูกเพื่อใช้เป็นยาประจำบ้าน

สมุนไพรไทย

อาการของโรคที่ควรใช้สมุนไพรบำบัดรักษา มักเป็นอาการพื้นๆ ที่ไม่รุนแรง อาทิ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ท้องเดิน เจ็บคอ อาเจียน ไอ นอนไม่หลับ อาการไข้ แผลถลอก แผลไฟไหม้-นํ้าร้อนลวก อาการเคล็ด ขัด ยอก ฟกช้ำ ตลอดจนโรคผิวหนังบางชนิด เช่น กลาก เกลื้อน และผื่นคัน เป็นต้น สมุนไพรที่ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณะสุขแนะนำให้ปลูกเพื่อใช้ในงาน สาธารณสุขมูลฐานสำหรับรักษาอาการของโรคต่างๆ มีดังนี้

สมุนไพรเพื่อรักษากลุ่มโรค/อาการเจ็บป่วยในระบบทางเดินอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร : ขมิ้นชัน กล้วยนํ้าว้า

อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด : ขมิ้น ขิง กานพลู … Read More

สมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐาน

สมุนไพร

เนื่องจากการใช้สมุนไพรมีข้อดีหลายประการ เช่น ช่วยประหยัด เหมาะสำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลซึ่งการคมนาคมไม่สะดวก ช่วยลดดุลย์การค้าในการสั่งซื้อยาสำเร็จรูปจากต่างประเทศ และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในอนาคตเมื่อมีสถานการณ์สงคราม เป็นต้น รัฐบาลจึงได้ตระหนักถึงคุณค่าของสมุนไพร และได้กำหนดนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรอย่างจริงจังขึ้น ได้ริเริ่มในแผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 5 โดยผนวกเข้ากับงานสาธารณสุขมูลฐาน ในช่วงปี พ.ศ. 2527-2529 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดโครงการนำร่องขึ้นคือ โครงการสมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐาน โดยความช่วยเหลือขององค์การยูนิเซฟ ในพื้นที่เป้าหมาย 25 จังหวัด มีการดำเนินงานสำคัญเกี่ยวกับสมุนไพร 7 ด้านคือ ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านการอบรม ด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ด้านศึกษาและวิจัย ด้านการปลูกและกระจายพันธุ์ ด้านการผลิต และกระจายตำรับ และด้านนิเทศและติดตามผล ผลการดำเนินงานของโครงการฯก่อให้เกิดความสนใจสมุนไพรในระดับกว้าง และเกิดมิติใหม่ที่น่าสนใจคือโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัยบางแห่ง เช่น โรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ โรงพยาบาลสังคม จ.หนองคาย โรงพยาบาลวังนํ้าเย็น

Read More

ยาสามัญประจำบ้าน

ยาสามัญประจำบ้าน

ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยส์ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิต แต่ละบ้านมักจะมียาที่จำเป็นบางชนิดไว้ติดบ้านเพื่อใช้ในยามที่สมาชิกในครอบครัวเกิดเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ สิ่งไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เช่น มีอาการปวดหัว ตัวร้อน เป็นหวัด ไอ แมลงสัตว์กัดต่อย หรือใช้ยาดังกล่าวเพื่อบรรเทาอาการก่อนไปพบแพทย์ ยาที่ควรมีไว้ประจำบ้านมักเรียกว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” ซึ่งมีทั้งยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน และยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ แต่ที่ นิยมใช้กันส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเป็นยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน

ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน ควรประกอบด้วยยาต่างๆ ดังนี้

1. ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น แอสไพริน และพาราเซทตามอล

2. ยาแก้ท้องเดิน เช่น ยานํ้าเคาลิน-เพคติน เกลือ ORS (Oral Rehydra­tion Salts)

3. ยาแก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เช่น ยาธาตุนํ้าแดง

Read More