Month: February 2013

โรคของแครอท

(diseases of carrot)

แม้ว่าแครอทจะเป็นพืชผักที่ยังปลูกกันอยู่ในวงแคบ เนื่องจากเป็นพืชเมืองหนาวมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่ปลูก ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกกันในแถบจังหวัดทางภาคเหนือหรือบนเขาที่มีอากาศหรืออุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็น เมื่อนำมาปลูกในที่ต่ำในภาคอื่นๆ มักจะไม่ใคร่เจริญงอกงามและไม่ให้หัวที่มีคุณภาพดี อย่างไรก็ดีแม้แครอทจะถูกนำไปปลูกในที่ที่เหมาะสมมีสิ่งแวดล้อมต่างๆ เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต ให้ได้ผลสมบูรณ์แล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับโรคต่างๆ หลายชนิดเกิดขึ้นทำลาย ก่อให้เกิดความเสียหายได้เช่นเดียวกับผักชนิดอื่นๆ ดังจะกล่าวต่อไปนี้

โรคต้นและใบไหม้แห้งที่เกิดจากแบคทีเรีย (bacterial blight of carrot)

โรคต้นและใบไหม้แห้งของแครอทซึ่งมีแบคทีเรียเป็นสาเหตุนี้สามารถทำลายแครอทได้ทั้งต้นไม่ว่าจะเป็นส่วนของใบ หัวหรือรากที่อยู่ใต้ดิน ดอกและเมล็ดจะพบได้ทั่วๆ ไปในเกือบทุกแห่งที่มีการปลูกพืชนี้

อาการโรค

บนใบอาการจะเริ่มจากจุดเซลล์ตายสีเหลืองเล็กๆ ขึ้นก่อน ต่อมาตอนกลางจุดจะแห้งกรอบ ขณะเดียวกันแผลจะขยายโตขึ้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและมีรูปร่างไม่แน่นอน ที่สำคัญคือ เนื้อใบรอบแผลจะซีดจางเป็นวง (halo) ล้อมรอบอยู่ และหากอากาศชื้นจะปรากฏเมือกของแบคทีเรียสาเหุตโรคสีเหลืองซึมออกมาเกาะติดเป็นหยดหรือฉาบเคลือบแผลไว้ และเมือกนี้เมื่อถูกนํ้าฝนนํ้าค้างหรือนํ้าที่ใช้รดสาดหรือชะถูกก็จะทำให้เชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่กระเด็นหรือไหลตามไปยังส่วนอื่นๆ หรือต้นข้างเคียง ทำให้โรคระบาดแพร่กระจายออกไปบนกิ่งก้าน หรือก้านใบแผลที่เกิดก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกัน แต่จะมีสีเข้มกว่าเป็นสีนํ้าตาลคลํ้า จากกิ่งก้าน … Read More

โรคของคึ่นฉ่าย

(diseases of celery)

คึ่นฉ่ายจัดอยู่ในประเภทผักปรุงรสรับประทานได้ทั้งสุกและดิบ (สด) ในประเทศไทยปัจจุบันที่นิยมปลูกมีอยู่กันสองชนิด คือ ชนิดต้นเล็ก ซึ่งปลูกกันมาดั้งเดิมเป็นพันธุ์พื้นเมืองซึ่งนำเข้ามาจากประเทศจีนเรียกว่าคึ่นฉ่ายจีน หรือคึ่นฉ่ายเฉยๆ รับประทานได้ทั้งต้นและใบมีกลิ่น รส หอม ฉุน ส่วนอีกชนิดหนึ่งมีขนาดของต้นสูงใหญ่กว่า ก้านใบยาวแข็ง เรียกว่าคึ่นฉ่ายเทศหรือคึ่นฉ่ายฝรั่ง เพิ่งนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ เข้าใจว่าจะเป็นระหว่างสงครามเวียดนาม เนื่องจากระยะนั้นมีทหารต่างชาติเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความต้องการใน บริโภคสูงขึ้น ขณะนั้นยังไม่มีการปลูกอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งต้นทำให้มีราคาค่อนข้างสูง ต่อมาจึงได้มีผู้นำเอาเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูกในแถบจังหวัดภาคเหนือ เช่น เพชรบูรณ์ และเชียงใหม่ ปรากฏว่าได้ผลดี จึงทำการปลูกติดต่อกันมาจนปัจจุบัน พวกนี้มีรส กลิ่นอ่อนกว่าชนิดแรก นิยมรับประทานเฉพาะส่วนที่เป็นก้านใบเท่านั้น อย่างไรก็ดีทั้งสองชนิดทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ต่างก็อยู่ใน species เดียวกันคือ Apium teolens var. dulce … Read More

โรคของถั่วที่เกิดขึ้นหลังเก็บเกี่ยว

โรคฝักเน่า

เนื่องจากเมล็ดและฝักถั่วเป็นผลิตผลที่มีธาตุอาหารสูง เหมาะที่จะเป็นอาหารและการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจึงมีโอกาสที่จะเกิดโรคขึ้นได้อีก โรคพวกนี้มีทั้งที่ติดมาจากต้นขณะอยู่ในแปลงปลูกและเกิดการติดเชื้อขึ้นภายหลัง โดยจะมาแสดงอาการให้เห็นขณะขนส่งหรือขณะจำหน่ายตามตลาด

อาการและสาเหตุโรค

ก. โรคแผลบนฝักหรือแอนแทรคโนสเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum lindemuthianum เป็นโรคที่เกิดกับถั่วตั้งแต่ยังติดอยู่กับต้นในแปลงปลูก เนื่องจากเชื้อแอนแทรคดนสนี้เมื่อเข้าเกาะกินฝักถั่วแล้วจะใช้เวลา 5 ถึง 6 วัน จึงจะแสดงอาการให้เห็นบางครั้งขณะเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วง 1-5 วันของการ infection จึงยังไม่แสดงอาการใดๆ หลังจากนั้นอีกหนึ่ง หรือสองวันจึงเกิดแผลขึ้นในลักษณะเป็นจุดกลมสีน้ำตาลหรือนํ้าตาลแดงเป็นแอ่งยุบตัวลงไปจากผิวปกติเล็กน้อย ขนาดของแผลอาจเป็นเพียงจุดเล็กๆ หรือโตจนเต็มความกว้างของฝึก โดยเฉพาะหากเกิดมากๆ แผลแต่ละแผลจะมาต่อเชื่อมกันทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แผลเหล่านี้จะทำให้ฝักถั่วไม่น่าดู ผู้บริโภคเกิดความรังเกียจขายไม่ได้ราคา ในกรณีที่เป็นรุนแรงเมล็ดถั่วภายในฝักจะถูกทำลายเกิดอาการแผลขึ้นด้วย มีผลทำให้เมล็ดเสียรูปทรงเหี่ยวย่นเป็นการเสียหายกับถั่ว แกะเมล็ดขายหรือถั่วบรรจุกระป๋อง

ข. โรคฝักเน่าช้ำหรือเน่าเปียก (Watery soft เกิดจากเชื้อราเช่นกัน โดยที่พบบ่อยมีอยู่ 2-3 … Read More

โรคที่เกิดกับต้นและรากของถั่ว

โรคต้นเน่าที่เกิดจากเชื้อ Sclerotinia (Sclerotinia rot)

โรคต้นเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotinia sclerotiorum จัดว่าเป็นโรคที่สร้างความเสียหายร้ายแรงให้กับพืชผักต่างๆ หลายชนิด โดยเฉพาะกับถั่ว อาการจะเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของต้นที่อยู่เหนือดิน โดยจะก่อให้เกิดอาการช้ำแล้วตามมาด้วยอาการเน่า บริเวณโคนต้นที่ติดกับดินจะพบว่าเป็นมาก และอาจรุนแรงถึงกับทำให้ต้นถั่วตายทั้งต้นได้ ขณะเกิดโรคหากอากาศชื้น ตามบริเวณแผล จะเกิดเส้นใยสีขาวของเชื้อราเจริญขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป ต่อมาจะสร้างเม็ดสเคลอโรเทียขึ้น โดยระยะแรกจะปรากฏเป็นเม็ดกลมเล็กๆ สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำเมื่อแก่

โรคเน่าที่เกิดจากเชื้อราสเครอโรติเนียนี้นอกจากจะเกิดกับต้นถั่วที่กำลังเจริญเติบโตในแปลงปลูกแล้วอาจเกิดกับฝักถั่วที่เก็บเกี่ยวแล้ว โดยจะก่อให้เกิดอาการเน่าแล้วติดตามด้วยการเกิดเส้นใยสีขาว พร้อมกับเม็ดสเคลอโรเทียและกลุ่มของเส้นใยที่รวมกันเป็นแผ่นที่เรียกว่าสโตรมา (stroma)

แผ่นสโตรมาที่เกิดขึ้นนี้เมื่อตกอยู่ตามดินจะมีชีวิตอยู่ได้นานหลายปี แตถ้าสิ่งแวดล้อมเหมาะก็จะงอกได้ทันทีแล้วสร้างเป็น fruiting body รูปถ้วยที่เรียกว่า apothecium เพื่อผลิตสปอร์ใช้ในการแพร่ระบาดต่อไป

การป้องกันกำจัด

1. งดการปลูกพืชลงในดินที่เคยมีโรคเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น เช่น พวกธัญพืชซึ่งไม่ได้รับอันตราย เชื้อนี้เป็นเวลาอย่างน้อย 4-5 ปี

2. … Read More

อาการไหม้ของฝักถั่วที่เกิดจากแสงแดด

โรคฝักตายนึ่งที่เกิดจากแสงอาทิตย์(sun burn หรือ sun scald)

อาการไหม้บนฝักที่เกิดจากแสงแดดหรือแสงอาทิตย์มักจะพบในต้นถั่วที่ปลูกในฤดูร้อนหรือช่วงที่มีแสงแดดจัดและยาวนานเช่นเดียวกับลูกผลของพืชผักที่อวบน้ำ (succulent) ทั่วๆ ไป ปริมาณนํ้าที่มีอยู่เป็นจำนวนมากกลับจะยิ่งเป็นตัวรับหรือดูดซับความร้อนและสะสมเอาไว้ได้เร็วและมากกว่าส่วนอื่นๆ ของต้น ขณะเดียวกัน การระบาดความความร้อนออกจากลูก ผล หรือฝักไม่สู้มีประสิทธิภาพและช้า ทั้งนี้เนื่องมาจากจำนวนช่อง stomata ในส่วนนี้มีน้อยมาก หรือเกือบไม่มีเลย นอกจากนั้นบนฝักหรือผล ยังพบว่ามีสารพวก chitin หรือ wax ซึ่งมีลักษณะเป็นขี้ผึ้งฉาบเคลือบอยู่ ทำให้การระบายความร้อนเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น ในที่สุดเซลล์เนื้อหรือเนื้อเยื่อที่มีอยู่ก็จะถูกเผาจนตาย ทำให้เกิดอาการแผลลักษณะคล้ายกับถูกไฟหรือน้ำร้อนลวกเป็นปื้น มีขนาดค่อนข้างกว้าง บางครั้งอาจจะเต็มทั้งฝักโดยเฉพาะด้านที่ถูกกับแสง

เป็นที่น่าสังเกตว่าอาการตายซึ่งมักจะเกิดกับฝักถั่วที่มีลักษณะกว้าง แบนและใหญ่มากกว่าถั่วฝักกลมและเล็ก เนื่องจากเนื้อที่ในการรับแสงของถั่วฝักแบนและใหญ่มีมากกว่าจึงเกิดอาการได้ง่ายกว่า นอกจากนั้นร่องและแถวปลูกก็เป็นส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเสียหายมาก หรือน้อยต่างกันออกไป โดยพบว่าต้นถั่วที่ปลูก โดยมีแถวเรียงตามแนวทิศเหนือและใต้จะได้รับความเสียหายจากอาการ sun burn … Read More

ธาตุอาหารที่สำคัญของพืชตระกูลถั่ว

อาการผิดปกติเนื่องมาจากการขาดหรือ มีธาตุอาหารบางชนิดมากเกินไป (defi­ciency or excess of minerals)

ก. ธาตุแมงกานีส (Mn)

ถั่วเป็นพืชที่มีการตอบสนองที่ค่อนข้างไว คือธาตุแมงกานีส ทั้งในกรณีที่ขาดและมีมากเกินไป โดยเฉพาะถั่วแขก ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว ถั่วดำ ถั่วกระด้าง และถั่วเหลือง

อาการ

อาการที่พืชพวกถั่วแสดงออกในกรณีที่ขาดหรือได้รับธาตุแมงกานีสไม่เพียงพอจะปรากฏให้เห็นที่ใบบริเวณ ยอดหรือส่วนของต้นที่อ่อนก่อน โดยใบเหล่านี้จะแสดงอาการออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น เป็นแผลจุดละเอียดสีเทา (gray speck) หรือสีเหลือง แผลเป็นแอ่ง หรือเกิดอาการใบด่างลายสีเหลืองสลับเขียวระหว่างเนื้อใบและเส้นใบ อาการผิดปกติเหล่านี้มักจะปรากฏให้เห็นเมื่อถั่วมีอายุเจริญเติบโตอยู่ในช่วง 4-6 อาทิตย์ ใบที่แสดงอาการดังกล่าวต่อมาจะค่อยๆ ซีดเหลือง ทั้งใบ แล้วเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล บางครั้งอาจมีอาการขอบใบม้วนขึ้นบนติดตามมา ในกรณีที่การขาดเป็นไปอย่างรุนแรง ใบจะแห้งตายทั้งใบ … Read More

โรคใบด่างเหลืองถั่วจากเชื้อไวรัส

โรคใบด่างเหลือง (yellow mosaic)

อาการโรค

โรคใบด่างเหลืองนี้เมื่อเกิดขึ้นจะทำให้ใบถั่วเกิดอาการด่างลายเขียวสลับเหลืองขึ้นที่เนื้อใบอย่างสม่ำเสมอ ตลอดทั่วทั้งใบ โดยส่วนใหญ่จะพบเป็นกับใบที่อายุอยู่ในระยะกลางๆ ของการเจริญเติบโต ถ้าเป็นมากใบเสียลักษณะ ขนาดเล็กลง ขอบใบม้วน ต้นอาจจะเหี่ยว ใบเหลืองทั้งใบแล้วหลุดออกจากต้น ในที่สุดอาจถึงตายได้ ต้นที่เป็นโรคตั้งแต่ยังเล็กจะไม่ให้ฝัก หรือหากเป็นหลังจากเกิดฝักแล้ว ฝักนั้นจะแก่หรือสุกช้ากว่ากำหนดปกติ

สาเหตุโรค : Cow pea aphid-borne mosaic virus (CAMV)

เป็นเชื้อไวรัสที่มีคุณสมบัติและความสามารถในการทำให้เกิดโรคได้ดี กล่าวคือ มีความเจือจางต่ำสุดในการทำให้เกิดโรค (dilution end point) ถึง 1 : 10,000 เท่า ทนอุณหภูมิได้สูง 57 – 60° … Read More

โรคราแป้งของถั่วฝักยาว

โรคราแป้งขาว (powdery mildew)

ราแป้งขาวเป็นโรคที่พบบ่อยและเกิดขึ้นทั่วๆ ไปทั้งในถั่ว beans และ peas เช่นเดียวกับโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ AIternaria ซึ่งปกติแล้วเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงและไม่สร้างความเสียหาย นอกจากในบางสภาวะที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสม หรือพืชที่ปลูกอ่อนแอง่ายต่อการเกิดโรคก็อาจกลายเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการเสียหายรุนแรงได้โดยลดทั้งผลผลิตและคุณภาพ

อาการโรค

โรคราแป้งขาวสามารถขึ้นทำลายได้ทั่วทุกส่วนของต้นถั่ว ลักษณะมองเห็นหรือสังเกตได้ง่ายเช่นเดียวกับในพืชผักอย่างอื่น คือ จะเกิดป็นผงขาวลักษณะคล้ายแป้งหรือฝุ่นชอล์กจับเกาะติดอยู่บนส่วนของพืชที่มันขึ้นเจริญเติบโต ปกติโรคราแป้งขาวไม่ทำลายเซลล์ให้ตายแล้วเกิดเป็นจุดหรือแผลใดๆ ขึ้นกับพืชอย่างเช่น โรคที่เกิดจากเชื้อราอื่นๆ เนื่องจากในการขึ้นเกาะกินพืชพวกนี้ไม่ได้เข้าไปทำลายเซลล์พืชโดยตรง ไม่มีการสร้างสารพิษทำให้เกิดการตายขึ้นกับเซลล์ ตัวเชื้อราจะเจริญอยู่บนผิวด้านนอกของพืชแล้วส่งอวัยวะพิเศษที่มันสร้างขึ้นเรียกว่า haustoria ซึ่งทำหน้าที่คล้ายๆ รากของพืช เข้าไปค่อยๆ ดูดกินอาหารจากเซลล์ทีละน้อย ไม่ทำให้เกิดการตายขึ้นกับเซลล์ดังกล่าวทันที แต่เมื่อนานๆ ไปก็อาจมีผลทำให้เนื้อเยื่อซึ่งประกอบด้วยเซลล์พวกนี้ ผิดปกติไปได้เช่นกัน เช่น ใบอาจมีขนาดเล็กลง ผิวเป็นคลื่นเหลืองซีด ถ้าเป็นที่ต้นกิ่งก้านอาจมีผลทำให้ต้นโทรม แคระแกร็น กระทบต่อผลผลิตทั้งคุณภาพและปริมาณทำให้เลวและน้อยลง ในกรณีที่เชื้อขึ้นเกาะกินดอกหรือฝักก็อาจจะทำให้ดอกร่วงหรือฝักลีบบิดเบี้ยวเสียลักษณะ… Read More

โรคใบจุดของถั่วที่เกิดจากเชื้อCercospora

(Cercospora leaf spot)

เป็นโรคใบจุดอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นเสมอบนถั่วต่างๆ เช่น ถั่วแขก ถั่วพุ่ม ถั่วฝักยาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง ฯลฯ และเช่นเดียวกับโรคที่เกิดจากเชื้อ Alternaria ปกติแล้วเป็นโรคที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง นอกจากถั่วที่ปลูกจะอ่อนแอขาดการเอาใจใส่ดูแลที่ดี หรือสิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ

อาการโรค

อาการทั่วๆ ไป จะเกิดขึ้นบนใบโดยหลังจากการเข้าทำลายของเชื้อจะเกิดแผลจุดสีดำหรือเทาเข้ม ส่วนใหญ่จะมีลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลมขนาดตั้งแต่ ½ – 1 ซม. บางครั้งอาจพบว่าที่ขอบแผลมีสีน้ำตาลแดงล้อมรอบอยู่ สีดำ หรือเทาเข้มที่เห็นบนแผล คือ กลุ่มของสปอร์หรือโคนีเดียที่ราสร้างขึ้นเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ อาการจุดแผลที่เกิดจาก Cercospora บนถั่วจะไม่เหมือนกับบนพืชผักชนิดอื่น คือ บนถั่วจุดจะมีขนาดค่อนใหญ่กว่ามีการสร้างสปอร์หรือโคนีเดียสีดำ หรือเทาเข้มคลุมอยู่ทั่วทั้งแผล คล้ายๆ พวกราดำ (sooty … Read More

โรคใบจุดของถั่วที่เกิดจากเชื้อ Alternaria

(Alternaria leaf spot)

โรคใบจุดของถั่วที่มีเชื้อ Alternaria เป็นสาเหตุเป็นโรคซึ่งจะพบได้ทั่วๆ ไป เช่นเดียวกับในพืช ผักชนิดอื่นๆ ในสภาพปกติไม่สู้ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก นอกจากในกรณีที่พืชอ่อนแอไม่ได้รับน้ำ อาหารเพียงพอ หรือมีแมลงบางชนิด เช่น ไรแดง เพลี้ยไฟหรือเพลี้ยอื่นๆ เกาะกันอยู่ก่อนก็จะกลายเป็นโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรง

อาการโรค

บนใบอาการจะเริ่มจากจุดแผลเล็กๆ ลักษณะไม่แน่นอน สีน้ำตาลแดงขึ้นก่อน ต่อมาเมื่อขยายใหญ่ขึ้นจะกลายเป็นแผลที่ค่อนข้างกลม ตรงกลางจะเปลี่ยนจากสีนํ้าตาลแดงเป็นเทาหรือน้ำตาลจางๆ ส่วนขอบแผลสีจะเข้มขึ้น ขณะเดียวกันจะเกิดจุดสีดำของสปอร์ขึ้นเรียงซ้อนกันเป็นวงๆ แผลที่เป็นนานๆ ตรงกลางจะค่อยๆ บางลง บางครั้งจะขาดหลุดออก ทำให้ใบเกิดเป็นรูหรือขาดแหว่งไป ในรายที่เป็นมากๆ ใบจะแห้งตายทั้งใบ บนกิ่งอ่อน ก้านใบ หรือก้านฝัก อาจถูกเชื้อเข้าทำลาย ก่อให้เกิดอาการขึ้นได้เช่นกัน แต่ลักษณะของแผลจะแตกต่างจากที่ใบ คือ จะเกิดแผลสีน้ำตาลยาวรีไปตามส่วนนั้น … Read More