Month: February 2013

โรคราสนิมขาวที่เกิดกับผัก

(white rust)

นอกจากผักกาดพวกครูซิเฟอร์แล้ว สนิมขาวยังเป็นโรคที่ เกิดเป็นกับผักอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด เป็นโรคที่นับว่าแพร่หลายและพบบ่อยอีกโรคหนึ่ง

อาการโรค

อาการบนต้นพืชที่พบเสมอ คือ ใบ กิ่งอ่อนและดอก โดยจะเริ่มจากการเกิดเป็นตุ่มเล็กๆ โป่งพองนูนจากผิวปกติก่อน ต่อมาชั้นของเซลล์ epidermis ตรงจุดดังกล่าวจะเปิดแตกออกเกิดเป็นแผลลักษณะเป็นผงหรือกระจุกสีขาวคล้ายแป้งหรือฝุ่นชอล์ก ค่อนข้างกลม ขนาดไม่ใหญ่นัก ประมาณ 2-3 มม. เป็นลักษณะของแผลที่สามารถแยกความแตกต่างออกจากโรคอื่นได้อย่างง่ายในรายที่เป็นรุนแรงและสิ่งแวดล้อมเหมาะสม แผลดังกล่าวจะเกิดเป็นจำนวนมาก เช่น ที่ใบจะมองเห็นจุดแผลเต็มไปหมดจนเหลือเนื้อใบอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ไม่ถูกทำลายในกรณีเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติ ในรูปทรงของส่วนนั้น เช่น อาจเกิดอาการหดย่นหรือบิดเบี้ยวตามมา อย่างไรก็ดี โรคนี้มักจะไม่รุนแรงถึงกับทำลายพืชให้ตายทั้งต้น แต่จะทำให้ขาดความสมบูรณ์เจริญเติบโตไม่เต็มที่ แคระแกร็น ที่สำคัญในด้านตลาดคือผักที่เป็นโรคนี้จะไม่น่าดู และทำให้ขายไม่ได้หรือราคาตก

สาเหตุโรค : Albugo Candida

เป็นราชั้นต่ำใน … Read More

โรครานํ้าค้างในผัก

(downy mildew)

ราน้ำค้างจัดเป็นโรคสำคัญและพบบ่อยที่สุดโรคหนึ่งของพวกผัก crucifers จะพบได้ทั่วๆ ไปในทุกแห่งที่มีการปลูกพืชพวกนี้โดยเฉพาะในฤดูหรือท้องถิ่นที่มีอากาศชื้นและค่อนข้างเย็น

อาการโรค

โรคจะเกิดเป็นกับผักได้ทุกระยะการเจริญเติบโตตั้งแต่เริ่มงอกจากเมล็ดจนกระทั่งโตเป็นต้นแก่ อาการเริ่มแรกจะเกิดขึ้นที่ด้านใต้ใบโดยจะสังเกตเห็นกลุ่มผงสีขาวหรือเทาของสปอร์และเส้นใยของเชื้อว่าเกิดขึ้นเป็นกลุ่มๆ ต่อมาด้านหลังใบตรงที่เดียวกันก็จะเกิดแผลสีเหลืองๆ เนื่องมาจากเซลล์ตายขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในที่สุด เนื้อใบตรงที่เกิดแผลจะมีลักษณะบางและมีขอบเขตไม่แน่นอน แต่ค่อนข้างจะเป็นรูปเหลี่ยมในกรณีที่เป็นรุนแรง มีแผลเกิดจำนวนมากทั่วไป อาจทำให้ทั้งใบเหลืองและแห้งตาย สำหรับในใบอ่อนหรือใบเลี้ยง เมื่อเริ่มแผลสีเหลืองขึ้นที่ด้านหลังใบใบมักจะหลุดร่วงออกจากต้นก่อนที่จะแสดงอาการมากกว่านี้ โรคในระยะกล้านี้มักจะรุนแรงทำให้ต้นโทรมอ่อนแอและอาจถึงตายได้

ในผักที่ใบห่อเป็นหัวเช่นกะหล่ำปลีและผักกาดขาวปลี อาการบนใบที่ห่อจะมีลักษณะแตกต่างไปจากใบปกติที่คลี่ คือจะเกิดเป็นแผลจุดสีดำเป็นแอ่งจมลงไปในเนื้อใบขนาดต่างๆ กัน อาจเป็นเพียงจุดเล็กๆ หรือโตขนาดเหรียญบาทเช่นเดียวกันกับจำนวนแผล อาจมีเพียงไม่กี่แผลหรือเกิดขึ้นเต็มทั้งหัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและความรุนแรงของโรคขณะนั้น

บนกะหล่ำดอกและบร๊อคโคลี่นอกจากใบแล้วเชื้ออาจเข้า ทำลายส่วนของดอกหรือช่อดอก ทำให้เกิดแผลสีน้ำตาลหรือดำขึ้นที่ส่วนผิวนอกสุดเป็นหย่อมๆ หรืออาจลามคลุมหมดทั้งดอกหากเป็นมาก

สาเหตุโรค : Peronospona parasitica

เป็นราใน Class Phycomycetes ลักษณะเส้นใยเป็นท่อ ยาวไม่มีผนังกั้น เมื่อเข้าทำลายพืชจะอยู่ระหว่างเซลล์ … Read More

โรคของผัก:โรครากบวม

(club root)

โรครากบวมยังไม่มีรายงานความเสียหายในประเทศไทย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมในที่ปลูกผักส่วนใหญ่ไม่เหมาะต่อการเกิดและการระบาดของโรค เพิ่งจะมีผู้พบในผักกาดที่ปลูกบนสถานีทดลองเกษตรที่สูงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2527 แต่ก็ยังไม่มีการศึกษา และแยกเชื้อเพื่อยืนยันที่แน่นอน ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้มีรายงานโรคนี้ในภาคใต้ของประเทศไทย อย่างไรก็ดี ในบางประเทศแถบยุโรปและอเมริกานับเป็นโรคสำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับพืชพวกครูซิเฟอร์ และ mustard family เป็นอย่างมาก นอกจากนี้เชื้อสาเหตุ คือ Plasmodiophora brassicae ยังเป็นเชื้อพวกราเมือก (slime mold) ซึ่งมีลักษณะแปลกไปจากเชื้อโรคทั่วๆ ไป และยังมีอาการโรคที่คล้ายหรือดูเผินๆ แล้วเหมือนโรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม หากไม่พิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว อาจทำให้เข้าใจผิดได้จึงเป็น โรคที่น่าสนใจและควรแก่การศึกษาโรคหนึ่ง

อาการโรค

เนื่องจากการทำลายของโรคเกิดขึ้นกับส่วนของต้น หรือรากที่อยู่ใต้พื้นดิน อาการระยะเริ่มแรกจึงสังเกตเห็นได้ยากจนกว่าจะเป็นมากและถึงขั้นรุนแรงแล้วจึงปรากฏให้เห็นกับส่วนของต้นข้างบน โดยใบจะเริ่มแสดงอาการเหลืองเหี่ยวเฉาในตอนกลางวันที่อากาศร้อน … Read More

โรคใบไหม้ของผักตระกูลกะหล่ำ

(blight or black rot)

เป็นโรคสำคัญที่สร้างความเสียหายร้ายแรงให้กับผักต่างๆ ในตระกูล Cruciferae เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำปม กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว (brussel sprout) บร็อคโคลี่ ผักคะน้า ผักกาดเขียว ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง ผักกาดหัว ผักกาดหอม และแรดิช ฯลฯ พบโรคระบาดทั่วไปตามแหล่งที่มีการปลูกผักดังกล่าวโดยเฉพาะในฤดูฝนหรือฤดูที่มีความชื้นสูง อาจเป็นรุนแรงทำความเสียหายได้ถึง 50% ชาวสวนชาวไร่บางแห่งรู้จักกันดีในนามของโรคใบทอง โดยเรียกตามลักษณะอาการที่พืชแสดงออกเมื่อเป็นมากจะเห็นพืชทั้งแปลงมีใบแห้งเป็นสีนํ้าตาลหรือเหลืองคล้ายสีทอง

อาการโรค

เชื้อเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ในระยะกล้าหรือต้นอ่อนพืชมักจะตายทันทีโดยจะพบว่าที่ขอบใบหรือใบเลี้ยง มีอาการไหม้แห้ง เส้นใบเน่าเป็นสีดำ ใบที่แสดงอาการจะบางกว่าปกติ ต่อมาจะแห้งเป็นสีนํ้าตาลและหลุดออกจากต้น หากไม่ตายในระยะนี้ก็จะเกิดอาการแกร็นชะงักหรือหยุดการเจริญเติบโต ใบที่อยู่ตอนล่างๆ ของต้นจะหลุดร่วงไป ส่วนที่เหลืออยู่จะมีสีเหลืองและเส้นใบมีสีดำ ในต้นที่โตจะพบอาการบนใบแก่ที่อยู่ส่วนล่างๆ … Read More

โรคและยอดใบหงิกของพืช

(leaf curl)

เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่สร้างความเสียหายกับพืชต่างๆ มากมายหลายพวกหลายตระกูลโดยจะพบเกิดระบาดทั่วไปในเกือบทุกแห่งที่มีการเพาะปลูกพืช เป็นโรคที่รู้จักและมีผู้พบเห็นกันมานาน สำหรับพืชผักที่พบว่าเป็นโรคนี้ก็ได้แก่ แตงร้าน แตงกวา ฟักเขียว พริก มะเขือเทศ ฯลฯ

อาการโรค

โดยทั่วไปแล้วโรคนี้เกิดเป็นกับพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ถ้าเป็นกับพืชที่ยังเล็กหรือขณะที่เป็นต้นอ่อน จะ แคระแกร็น ใบมีขนาดเล็กลงเส้นใบนูนหนาเด่นชัดขึ้น ก้านใบหดสั้นลง เนื้อใบหงิกจีบย่นสีเข้มกว่าปกติ ในต้นโต อาการจะปรากฏที่ส่วนยอด ปลายกิ่ง ตา หรือแขนงที่แตกออกโดยใบจะหดจีบย่นสีเขียวเข้มขึ้นในระยะแรกและเหลืองซีด ในเวลาต่อมา หยุดการเจริญเติบโต ไม่ออกดอกผล หรือออกก็ผิดปกติ ลักษณะดังกล่าวเป็นอาการโดยทั่วๆ ไป อย่างไรก็ดี สำหรับพืชผักแต่ละชนิด ตลอดจนการเริ่มต้นของอาการที่เป็นกับพืชนั้นๆ อาจแตกต่างกันออกไปบ้าง ใบที่แสดงอาการอาจม้วนขึ้นด้านบนเล็กน้อยและมีเหลืองผิดไปจากธรรมดา นอกจากนั้นใบเหล่านี้จะกรอบเปราะหักง่าย บางครั้งใบจะตกคล้ายอาการเหี่ยวต่อมาจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ถ้ามีผลอยู่ก็จะสุกก่อนกำหนด… Read More

โรคเน่าและเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราSclerotinia

(Sclerotinia rot and wilt)

เป็นโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราที่จัดว่าสำคัญของพืชผักอีกโรคหนึ่งได้มีการกล่าวถึงโรคนี้ครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา จากรัฐฟลอริดา เมื่อปี ค.ศ. 1893 ปัจจุบันพบระบาดเป็นกับพืชต่างๆ อย่างกว้างขวางหลายชนิดหลายตระกูล ในพืชที่เพาะปลูกทุกแห่งของโลก

พืชที่เป็นโรคนี้เท่าที่พบมีมากกว่า 200 ชนิด ทั้งธัญพืช ไม้ดอก ไม้ผล พืชผัก และวัชพืช เฉพาะพืชผักอย่างเดียวก็มี มากมาย เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว กะหล่ำปม แครอท ข้าวโพดหวาน บีท ถั่วต่างๆ ทั้งถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วลันเตา ถั่วดำ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง แตงร้าน แตงกวา แตงโม … Read More

โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อราVerticillium

(Verticillium wilt)

Verticillium spp. เป็นราที่พบในดินเกือบทุกชนิดและทุกแห่งโดยเฉพาะประเทศในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของโลก เป็นพาราไซท์เกาะกินและก่อให้เกิดโรคกับพืชต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางเกือบ 200 ชนิด ทั้งพืชไร่ พืชสวน ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักและวัชพืชต่างๆ เฉพาะผักที่ถูกเชื้อนี้เข้าทำลายและก่อให้เกิดความเสียหายได้แก่ แตงต่างๆ เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม กระเจี๊ยบ มะเขือยาว มะเขือเปราะ พริก มะเขือเทศ มันฝรั่ง ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบว่ามีผักต่างๆ อีกหลายชนิดที่เชื้อราตัวนี้เข้าเกาะกินได้ แต่ไม่ทำความเสียหายให้มากเท่าพวกที่กล่าวแล้ว ได้แก่ พวกถั่วต่างๆ ทั้ง beans และ peas หน่อไม้ฝรั่ง (asparagus) กะหล่ำต่างๆ บร็อคโคลี่ คึ่นฉ่าย … Read More

โรคเน่าของที่เกิดจากเชื้อราBotrytis

โรคเน่าของผักที่เกิดจากเชื้อราจัดว่าเป็นโรคที่สำคัญและสร้างความเสียหายมากโรคหนึ่ง เป็นโรคที่พบได้ทั้งในแปลงปลูกและภายหลังเก็บเกี่ยวแล้วโดยเป็นกับผักหลายชนิด เช่น ถั่วต่างๆ ทั้งต้นและฝักไมว่าจะเป็นถั่วแขก ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม ถั่วไลม่า บีท แครอท คึ่นฉ่าย แตงร้าน แตงกวา ฟักเขียว ฟักทอง แคนทาลูป มะเขือเปราะ มะเขือยาว ผักกาดหอมใบ ผักกาดหอมห่อ กะหล่ำต่างๆ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ ผักกาดเขียว ผักกาดขาวปลี ผักกาดหัว หอมใหญ่ หอมแดง ขิง พริก มะเขือเทศ มันฝรั่ง ฯลฯ

อาการโรค

ในส่วนของต้นและผลิตผลพืชผักที่อวบนํ้า อาการจะเริ่ม จากชั้นของเซลล์ใต้ … Read More

โรคคราวน์กอลล์ในผักชนิดต่างๆ

(crown-gall)

โรคคราวน์กอลล์เป็นโรคของผักชนิดต่างๆ อีกโรคหนึ่งที่มีแบคทีเรียเป็นสาเหตุ แม้ว่าในประเทศไทยจะยังไม่มีรายงานยืนยันเป็นทางการเกี่ยวกับโรคนี้ ตามประวัติได้มีผู้สังเกตเห็นและรายงานเกี่ยวกับโรคนี้ไว้ครั้งแรกในยุโรป โดยพบเป็นกับองุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1853 ต่อมาในปี ค.ศ. 1907 E.F. Smith และ Townsend นักโรคพืชชาวอเมริกันจึงแยกเชื้อจากผักที่เป็นโรคได้สำเร็จ ปัจจุบันพบว่ามีพืชต่างๆ มากกว่า 40 ตระกูลที่เป็นโรคนี้ได้ เฉพาะพืชผักที่พบว่าเป็นโรคคราวน์กอลล์ ได้แก่ มะเขือเทศ แตงต่างๆ บีท ถั่วต่างๆ มันฝรั่ง แครอท กะหล่ำ ผักกาดหอม

อาการของโรค

คราวน์กอลล์เป็นโรคที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับโรคอื่นๆโดยทั่วไปกล่าวคือแทนที่เนื้อเยื่อหรือเซลล์จะถูกทำลายให้สลายตัวหรือตายไปเนื่องจากเชื้อเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ แต่โรคนี้กลับทำให้พืชมีการสร้างเซลล์เพิ่มทวีจำนวนขึ้นมามากกว่าปกติ (hyperplasia) จนทำให้มีลักษณะเป็นปุ่มปม หรือเป็นก้อนโป่งพองใหญ่โตขึ้นมากกว่าธรรมชาติของมันที่เป็นอยู่เดิมในลักษณะที่เรียกว่า malformation หรือ fasciation … Read More

โรคเหี่ยวของพืชผักที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

(bacterial wilt)

ได้แก่โรคเหี่ยวที่เกิดกับผักต่างๆ ซึ่งมีแบคทีเรีย (Pseudomonas solanacearum) เป็นสาเหตุ จัดเป็นโรคทั่วๆ ไป ที่สำคัญอีกโรคหนึ่งรองลงมาจากโรคเน่าเละ สามารถทำลายและก่อให้เกิดความเสียหายให้กับพืชและผักมากมายหลายชนิด หลายตระกูลยิ่งกว่าเชื้อใด แม้จะเป็นโรคที่เกิดเฉพาะในแปลงปลูกกับพืชมีชีวิตขณะเจริญเติบโตเท่านั้นแต่พืชที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่มักจะตายหรือไม่สามารถเก็บผลิตผลได้ พบว่าพืชที่เชื้อแบคทีเรียตัวนี้สามารถเข้าทำลายและก่อให้เกิดโรคได้มีมากกว่า 200 ชนิด ไม่เฉพาะพืชผักแต่ยังรวมไปถึงไม้ยืนต้น เช่น ต้นสัก ไม้ผล เช่น กล้วย  พืชไร่ เช่น ละหุ่ง มันสำปะหลัง ยาสูบ ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วฝักยาว ถั่วลิสง งา ปอ ไม้ดอกหลายชนิด เช่น เบญจมาศ ทานตะวัน ดาเลีย เพททูเนีย … Read More