Month: December 2013

ไทรกระเป๋า

(Krishnae’s Buttercup)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus gibbosa Blume
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่ออื่น ไทรกฤษณะ
ชื่อพ้อง F.krishnae C.DC.
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ 12-30 ม. ขนาดทรงพุ่ม 10-20 ม.กิ่งก้านแข็งไม่ผลัดใบทรงพุ่มค่อนข้างกลมแผ่กว้าง โปร่งมีกิ่งก้านไม่มาก เปลือกสีนํ้าตาลอ่อนอมแดง เรียบ มีรากคํ้ายัน ลำต้นและรากอากาศรัดพัน


ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่กว้างถึงรูปรี กว้าง 10-12 ซม. ยาว 15-20 ซม. ปลายใบมนป้านหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ บริเวณโคนก้านใบด้านหลังพับเข้าหากันเป็นรูปถ้วยหรือกระเป๋าขนาดเล็ก แผ่นใบหนาและเหนียว สีเขียวสด … Read More

สมุนไพรเทพธาโร

(True laurel)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.
ชื่อวงศ์ LAURACEAE
ชื่ออื่น จวง จวงหอม (ภาคใต้) จะไค้ต้น จะไค้หอม (ภาคเหนือ)
ตะไคร้ต้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เทพทาโร (ภาคกลาง, จันทบุรี, สุราษฎร์ธานี) พลูต้นขา (เชียงใหม่) มือแดกะมางิง (มาเลเซีย ปัตตานี)
ถิ่นกำเนิด มาเลเซีย แถบทะเลอันดามัน มัทราช และอ่าวเบงกอล
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางไม่ผลัดใบทรงพุ่มกลับทึบ สีเขียวเข้ม ลำต้นเรียบไม่มีพูพอน เปลือกต้นสีเทาอมเขียว หรืออมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น … Read More

ทุเรียนเทศ

(Soursop)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona muricata L.
ชื่อวงศ์ AMMONACEAE
ชื่ออื่น ทุเรียนแขก ทุเรียนน้ำ เรียนน้ำ มะทุเรียน
ถิ่นกำเนิด อเมริกาเขตร้อน
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-8 ม. ขนาดทรงพุ่ม 3-4 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปกรวยหรือรูปเจดีย์ตํ่า แตกกิ่งใกล้โคนต้น เปลือกต้น สีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ หรือแตกตื้นๆ ตามแนวยาว


ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-16 ซม. ปลายและโคนใบสอบแหลม … Read More

ทุเรียน

(durian)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Durion zibethinus Merr.
ชื่อวงศ์ BOMBACACEAE
ชื่ออื่น เรียน
ถิ่นกำเนิด บอร์เนียวและสุมาตรา
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-12 ม. ขนาดทรงพุ่ม 6-8 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปกรวยเมื่อยังเล็ก โตขึ้นทรงพุ่มกว้าง และค่อนข้างกลม เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามแนวยาว และหลุดล่อนเป็นแผ่นบางๆ


ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมรี กว้าง 4-5 ซม. ยาว 10-15 ซม. ปลายใบติ่งแหลมอ่อน โคนใบมน ขอบใบห่อขึ้นและเรียบเป็นคลื่น แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว … Read More

ทุ้งฟ้าหรือกระทุ้งฟ้าไห้

(Indian Walnat)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia macrophylla Wall ex.G.Don
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่ออื่น กระทุ้งฟ้าไห้ ทุ้งฟ้าไก่ (ชุมพร) ตีนเทียน (สงขลา), ทุ้งฟ้า (ภาคใต้) พวม พร้าว (ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 ม. ไม่ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง กิ่งใหญ่ตั้งฉากกับลำต้นเป็นรอบๆ ทรงพุ่มรูปไข่แกมรูปกรวยแหลมค่อนข้างโปร่ง เปลือกต้นสีขาวอมเทามีนํ้ายางสีขาว


ใบ ใบเดี่ยว เรียงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบรูปหอกกลับ กว้าง 3-7.5 … Read More

นิเวศวิทยาของต้นทุ

(Downy Myrtle, Rose Myrtle)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhodomyrtus tomentosa Wight
ชื่อวงศ์ MYRTACEAE
ชื่ออื่น ง้าย ชวด พรวด พรวดผี พรวดกินลูก (ตะวันออกเฉียงใต้), กาทุ โทะ (ใต้), กามูติง (มลายู-ใต้) กาทุ (ชุมพร), ซวด (จันทบุรี),
พรวด (ตราด), พรวดกินลูก (ปราจีนบุรี), พรวดผี (ระยอง) พรวดใหญ่ (ชลบุรี)
ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่ม สูง 1-2 ม. กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน … Read More

ลักษณะทั่วไปของต้นทำมัง

(Thamrnang)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Litsea Petiolata Hook.f.
ชื่อวงศ์ LAURACEAE
ชื่ออื่น ชะมัง แมงดาต้น
ถิ่นกำเนิด มาลายูและคาคใต้ของไทย
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-15 ม. ขนาดทรงพุ่ม 4-6 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปกรวยกว้างหรือรูปไข่ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ หรือแตก เป็นสะเก็ดเล็กบางๆ และมีรอยด่างสีขาวกระจายทั่วไป


ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี กว้าง 6-10 ซม. ยาว 8-12 ซม. ปลายใบ เรียวแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบเรียบ … Read More

ทองหลางใบมน


(Indian Coral Tree)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina ovalifolia Roxb.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE – PAPILIONOIDEAE
ชื่ออึ่น ทองหลาง
ถิ่นกำเนิด อินเดีย
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-15 ม. ขนาดทรงพุ่ม 8-12 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามแนวยาว สีน้ำตาลอ่อน ลำต้นเล็กและกิ่งมีหนามสั้นสีดำ


ใบ ใบประกอบมีใบย่อยสามใบ เรียงเวียนสลับ แกนกลางใบ ประกอบยาว 15-20 ซม. ใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขนมเปียกปูน กว้าง … Read More

ทองหลางด่าง

(Indian coral tree, Tiger claw, Variegated Coral Tree)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina variegata L.
ชื่อวงศ์ LEGUMIMOSAE – PAPILIONOIDEAE
ชื่ออื่น ทองบ้าน ทองเผือก ทองหลางลาย ปาริชาติ
ถิ่นกำเนิด แทนซาเนีย จีน ไต้หวัน อินเดีย และมาเลเซีย
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-12 ม. ขนาดทรงพุ่ม 8-12 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม หนาทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีลายคล้ายร่องแตกตามแนวยาว … Read More

เต่าร้าง

(Chinese fishtail palm)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Caryota mitis Lour.
ชื่อวงศ์ ARECACEAE
ชื่ออื่น เต่าร้างแดง เชื่องหมู่ มะเด็ง งือเด็ง เต่าร้าง
เต่ารั้ง เต่ารั้งแดง เขืองหลวง จอย เขืองหมู
ถิ่นกำเนิด เอเชียจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก


ลักษณะทั่วไป สูง 5-12 ม. ลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่ง สามารถแตกหน่อ บริเวณโคนต้น ลำต้นเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยไม่เกิน 10 ซม.
ใบ เป็นใบประกอบรูปขนนกสองชั้น เรียงสลับหนาแน่นที่เรือนยอด ยาว 2-4 ม.ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปใบพัด ขนาดกว้าง 15-35 … Read More