Month: December 2013

ถั่วขาว


ชื่อวิทยาศาสตร์ Bruguiera cylindrica Bl.
ชื่อวงศ์ RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น ถั่วแดง ประสักขาว (จันทบุรี), โปรง โปรย (มลายู-ใต้) ปรุ้ย (มลายู-สตูล), รุ่ย (เพชรบุรี)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 8-15 ม. พูพอนน้อย แต่บริเวณโคนต้นพองขยายออก ทรงพุ่มแน่นทึบรูปปิรามิด เปลือกต้นสีเทาหรือสีนํ้าตาล เรียบถึงหยาบเล็กน้อย ตามลำต้นมีช่องอากาศ กิ่งอ่อนสีเขียว มีรากหายใจรูปคล้ายเข่า ยาว 15-20 ซม. เหนือผิวดิน


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทาง แผ่นใบรูปรี กว้าง 3-8 … Read More

เตยทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus odoratissimus L.f.
ชื่อวงศ์ PANDANACEAE
ชื่ออื่น ลำเจียก. การะเกด (กลาง) ปาแนะ (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่ม สูง 5-10 ม. แตกกิ่งก้าน คล้ายเป็นกอ มีราก ยึดเกาะลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน


ใบ เรียงเวียนรอบต้นเป็นสามแนว โคนใบเป็นกาบหุ้มรอบลำต้น แผ่นใบรูปใบดาบ ขอบใบสองข้างเกือบขนานกัน ปลายใบเรียวแหลมโค้ง รูปแซ่ใบกว้าง 4-8 ซม. ยาว 100-250 ซม. เมื่อตัดใบตามขวาง จะได้เป็น รูปตัว M ใบอ่อนปลายใบตรงแข็ง ใบแก่ปลายใบจะห้อยตกลงตั้งแต่กลางใบ ผิวใบด้านล่างสีขาวนวลเห็นได้ชัด … Read More

ตีนเป็ดทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Cerbera odollam Gaertn.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่ออื่น ตีนเป็ดน้ำ ตุม (กาญจนบุรี). สั่งลา (กระบี่), มะตะกอ (มลายู-นราธิวาส), พะเนียงน้ำ
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-12 ม. ผลัดใบ ลำต้น มักแตกกิ่งตา ทรงพุ่มแผ่กว้าง คล้ายร่ม ทึบเป็นพุ่มกลม เปลือกนอกต้น เรียบ สีเทา เปลือกในต้นสีเหลืองอ่อน มีช่องระบายอากาศเป็นร่องยาว มีนํ้ายางสีขาว


ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับใบรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับกว้าง 2.4-8 ซม. ยาว 8.9-30 ซม.ปลายใบติ่งแหลมโคนใบรูปลิ่มใบเกลี้ยง … Read More

ตาตุ่มทะเล

(Blind your eyes)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Excoecaria agallocha L.
ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น ตาตุ่ม ตาตุ่มทะเล (กลาง) บูตอ (มลายู-ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10-18 ม. ผลัดใบ มียางสีขาวมาก ส่วนมากลำต้นจะตรง มักแตกกิ่งในระดับต่ำคล้ายไม้พุ่ม เปลือกต้นเรียบถึงแตกเป็นร่อง สีนํ้าตาลอ่อน หรือสีน้ำตาลอมเทา กิ่งอ่อน มีช่องอากาศเล็ก รากหายใจแผ่กระจายไปตามผิวดิน


ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ แกมรีถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-5ซม. ยาว 4-9 ซม. … Read More

ตะบูนดำ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylocarpus moluccensis (Lam.)M.Roem.
ชื่อวงศ์ MELIACEAE
ชื่ออื่น ตะบูน ตะบัน (กลาง, ใต้)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20-35 ม. ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย ทรงพุ่มกลม เปลือกขรุขระ สีน้ำตาลเข้มแตก เป็นร่องตามยาว ต้นแก่เปลือกลอกเป็นแถบแคบๆ เปลือกหนา 0.3-0.5 ซม. เนื้อไม้สีน้ำตาล มีรากหายใจ รูปคล้ายกรวยคว่ำ กลมหรือแบน ปลายมน ยาว 20-40 ซม.


ใบ ใบประกอบแบบขนนก ชั้นเดียว ไม่มีใบยอด เรียงสลับ … Read More

ตะบูนขาว


ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylocarpus granatum Koenig
ชื่อวงศ์ MELIACEAE
ชื่ออื่น กระบูน กระบูนขาว ตะบูน (กลาง, ใต้), หยี่เหร่ (ใต้)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 8-20 ม. ไม่ผลัด
ใบ ยอดแผ่กว้าง รูปทรงไม่แน่นอน ลำต้นมักคดงอ โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอมขาวน้ำตาลแดง เรียบบาง คล้ายต้นฝรั่งหรือต้นตะแบก รากมีลักษณะแบน แตกสาขามากมายอยู่บนผิวดินและใต้ดิน


ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม มี 2 คู่ รูปไข่กลับ กว้าง 4.5-5 … Read More

สมุนไพร:ชะเลือด


ชื่อวิทยาศาสตร์ Premna obtusifolia R. Br.
ชื่อวงศ์ VERBENACEAE
ชื่ออื่น มันไก่ (ลำปาง), สามประงาใบ (ประจวบฯ) อัคคีทวารทะเล เค็ดน้ำมัน (ใต้)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยสูง 1-4 ม. แตกกิ่งมาก กิ่งอ่อน ในระยะแรกๆ มีขนประปราย และจะหลุดร่วงไปเมื่อขนแก่ขึ้น เมื่อขยี่ใบ จะมีกลิ่นเหม็น


ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ แผ่นใบรูปขอบขนาน แกมรีถึงรีกว้าง กว้าง 4-9 ซม. ยาว 6-13 ซม. ปลายใบทู่ โคนแผ่นใบมน หรือค่อนข้างสอบแคบ และมักเบี้ยวเล็กน้อย … Read More

จิกทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Barringtonia asiatica (L.) Kurz
ชื่อวงศ์ LECYTHIDACEAE
ชื่ออื่น จิกเล (ทั่วไป), โคนเล (ภาคใต้), อามุง (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลาง สูงไม่เกิน 20 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มแผ่กว้างหนาทึบ กิ่งมีขนาดใหญ่ มีรอยแผลอยู่ทั่วไป เป็นรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไป เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทา


ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับใบรูปไข่กลับหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 10-18 ซม. ยาว 20-38 ซม. ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน
ดอก … Read More

นิเวศวิทยาของจาก

(Atap plam, Nipa Palm)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nypa fruitcans Wurmb.
ชื่อวงศ์ ARECACEAE
ชื่ออื่น อัตต๊ะ (มลายู-ใต้)
ลักษณะทั่วไป พืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ต้นตั้งตรง ส่วนที่เห็นคือ ส่วนใบ และช่อดอก โคนใบมีกะเปาะอากาศ ช่วยพยุงให้ใบชูขึ้นเหมือนชูชีพ สูง 9 ม.
ใบ มีลักษณะคล้ายใบมะพร้าว แต่มีความเหนียว และกว้างกว่า เรียงเป็นแบบขนนก ยาว 4-9 ม. ใบย่อยรูปใบหอก ยาว 0.9-1.3 ม. เรียงตัวสองแถว ผิวใบด้านบนเป็นมันสีเขียว ผิวใบด้านล่างมีสีเหลือง


ดอก Read More

โกงกางใบใหญ่

(Red Mangrove)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhizophora mucronata Poir.
ชื่อวงศ์ RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น กงกอน (เพชรบุรี, ชุมพร), โกงกางนอก กงกางนอก
(เพชรบุรี), กงเกง (นครปฐม), กางเกง พังกา พังกาใบใหญ่ (ภาคใต้). โกงกางใบใหญ่ (ภาคใต้). ลาน (กระบี่)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 30-40 ม. มีรากเสริมออกมา เหนือโคนต้น 2-7 ม.รากแตกจากโคนต้นและค่อยๆ โค้งจรดดินไม่หัก เป็นมุมดังเช่นรากคํ้ายันของโกงกางใบเล็ก ทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำแคบๆ เปลือกต้นหยาบสีเทาคล้ำจนถึงดำแตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาวและตามขวางทั่วไป


ใบ Read More