Month: November 2011

ส้มแขก:ส้มแขกของดีเมืองใต้

จำได้ว่าสมัยเด็กๆ ไม่ว่าจะแกงอะไรที่ต้องอาศัยความเปรี้ยวเพิ่มรสอาหารตามสูตรนิยม โดยเฉพาะแกงส้มแล้วทั้งคุณแม่และพี่สาวมักจะใช้ส้มแขกแห้งสำเร็จรูป ซึ่งมีขายตามตลาดสดในเขตภาคใต้แทบทุกจังหวัดทีเดียว ส้มแขกจึงเป็นพืชปรุงรสอาหารที่ชาวปักษ์ใต้ใช้แทนมะขามเปียกหรือมะขามเปรี้ยวมาแต่ไหนแต่ไร

การใช้มะขามแขกหรือส้มแขกในลักษณะดังกล่าว ปัจจุบันยังคงมีอยู่แต่อาจจะไม่กว้างขวางเหมือนสมัยก่อนด้วยเหตุผลหลายประการ ประการหนึ่งก็คือปัญหาที่ต้นส้มแขกถูกตัดโค่นทำลายลงหมดไปพร้อมๆ กับป่าธรรมชาติประการต่อมาก็คือ สภาพความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นทำให้ส้มแขกออกดอกให้ผลผลิตน้อยเพราะพืชชนิดนี้ไม่มีชาวสวนหรือชาวบ้านคนใดปลูก นอกจากจะไปเก็บมาจากต้นในป่าเท่านั้น

สวนป่าธรรมชาติที่มีพืชป่า รวมทั้งทุเรียนป่าต้นหลายๆร้อยปี เป็นพืชผลธรรมชาติที่ชาวบ้านคีรีวงศ์ อ.ลานสะกา จ.นครศรีธรรมราช อาศัยผลผลิตนำไป่ขายเลี้ยงครอบครัวมานานหลายชั่วอายุคน ประมาณเดือน ก.ค.-ส.ค. จะมีชาวบ้านเก็บส้มแขกผลสดๆ ลงมาจากเขานำมาผ่าซอยเป็นชิ้นผึ่งแดดแล้วนำไปจำหน่าย บางรายใส่กระชุสายด้วยไม้ไผ่และหวายเป็นโครงซึ่งแข็งแรงมาก ห้อยท้ายมอเตอร์ไซด์สองข้าง นำลงมาจากเขาคีรีวงศ์ เป็นภาพที่น่าชื่นชมเพราะป่าที่นี่คือป่าที่ชาวบ้านถือว่าเป็นหม้อข้าวของเขาต้องรักษาไว้ตลอดไป

ส้มแขกมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gracinia atroviridis Griff. มีชื่ออีกหลายชื่อเช่น มะขามแขก ส้มมะวน ส้มพะงุน ส้มควาย เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับมังคุด ชะมวง มะพูด มะดันป่า มังคุดป่า แต่คนละชนิดกัน… Read More

ปุ๋ย:การใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัสที่มีอยู่ในดิน ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 รูปคือ ในรูปของสารอินทรีย์ เช่น ในรูปของฮิวมัส และอินทรียวัตถุ อีกรูปหนึ่งคือ เป็นสารอนินทรีย์ ซึ่งอยู่ในรูปของสารประกอบของธาตุเหล็ก อะลูมิเนียมและธาตุอื่นๆ แต่ไม่ละลายน้ำ

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าฟอสฟอรัสคงถูกชะล้างได้ง่ายเช่นเดียวกับพวกไนเตรท ความจริงแล้วฟอสฟอรัสในดินนั้นจะถูกชะล้างได้น้อยมาก เนื่องจากฟอสฟอรัสจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีอื่น ๆ ในดิน จนเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ และจะถูกตรึงไว้ในดิน จึงทำให้พืชได้รับฟอสฟอรัสไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งๆที่มีฟอสฟอรัสอยู่ในดินอยู่แล้ว โดยเฉพาะในดินกรดจะตรึงฟอสฟอรัสได้มากกว่าดินกลาง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พืชที่ปลูกในดินกรดขาดธาตุฟอสฟอรัสได้มากกว่าพืชที่ปลูกในดินที่เป็นกลาง

การเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสลงในดิน เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์มากที่สุด จึงเป็นเรื่องที่เกษตรกรทุกคนควรเข้าใจเพื่อนำไปปฏิบัติให้ได้ผลถูกต้องต่อไป

ก่อนอื่นควรทราบว่า ปุ๋ยฟอสฟอรัสเกือบทั้งหมดมาจากหินฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับกรด แล้วนำไปทำให้เป็นกลางหรือทำปฏิกิริยากับสารแอมโมเนียมได้ปุ๋ยในแบบต่างๆและไม่มีคุณสมบัติเป็นกรดอีกต่อไปอย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสชนิดใดๆ ลงในดินก็ตาม ควรมีการพิจารณาคือ ชนิดของปุ๋ยฟอสเฟตและการละลายน้ำของปุ๋ยที่มีผลต่อพืชแต่ละชนิดด้วย เพราะการใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ละลายน้ำได้ดี จะทำให้ฟอสฟอรัสถูกตรึงในดินได้เร็วและมากกว่า 70℅ แต่ถ้าใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ละลายน้ำได้น้อย ถึงแม้ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อพืชช้าแต่ก็ทำให้ฟอสฟอรัสถูกตรึงได้ช้าไปด้วย การใช้ประโยชน์จึงใช้ได้นานกว่าพวกฟอสฟอรัสที่ละลายน้ำได้ดี

การจัดการสภาพของดินให้เหมาะสมก่อนที่จะใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสเป็นสิ่งที่ควรกระทำ

Read More

การปลูกและการดูแลรักษาไม้ดอกหัวโดยทั่วไป

สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ ฮาร์ดดี้ตี้บัลบ์ (hardy bulb) เทนเดอร์ บัลบ์ (tender bulb) และ เซมิฮาร์ดดี้ บัลบ์ (semihardy bulb)ซึ่งแต่ละชนิดสามารถอธิบายได้ดังนี้

1.  ฮาร์ดดี้ บัลบ์ (hardy bulb) คือ ไม้หัวที่สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่อากาศค่อนข้างเย็นจัด เช่น ทิวลิป ลิลลี่

2.  เทนเดอร์ บัลบ์ (tender bulb) คือ ไม้หัวที่ต้องการอุณหภูมิค่อนข้างสูงในการเจริญเติบโต เช่น รักแรก ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นจัดจะทำให้ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้

3.  เซมิฮาร์ดดี้ บัลบ์ (semihardy bulb) … Read More

เห็ดหลินจือ:เห็ดยาสารพัดโรค

ว่ากันว่า ถ้าใช้ 3-4 ชิ้นของเห็ดหลินจือชงในน้ำร้อนแบบเดียววกับน้ำชาเป็นประจำทุกวัน จะช่วยรักษาความดันโลหิตให้สม่ำเสมอ ใครที่ปวดศีรษะ เมื่อยหัวไหล่ วิงเวียน นอนไม่หลับ หัวใจสั่น ก็จะดีขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้เห็ดรักษาโรคมะเร็งหลังการผ่าตัด ร่วมกับสารต่อต้านมะร็งอื่นหรือร่วมกับการรักษาด้วยการฉายรังสี จะขจัดอาการใกล้เคียง และรักษาอาการของมะเร็งโดยตรง การปรับปริมาณการใช้เห็ดจะเพิ่มภูมิต้านทานมะเร็งให้สูงขึ้น ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน เห็ดชนิดนี้สามารถลดน้ำตาลในปัสสาวะได้อย่างรวดเร็ว ฟื้นสภาพจากอาการเบาหวานอย่างเร็ว หากว่าอาการดังกล่าวไม่รุนแรงนัก

นอกจากที่กล่าวมา ยังมีโรคอีกหลายชนิดที่เห็ดวิเศษนี้มีส่วนไปช่วยบรรเทาอาการ หลินจือจึงเป็นเห็ดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น ใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่จะช่วยบำรุงรักษาและส่งเสริมสุขภาพ

เรียบเรียงจาก

ข่าวสารเพื่อผู้เพาะเห็ด

ฉบับเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2536

Read More

ลองกอง:การกำจัดหนอนชอนเปลือกพืชตระกูลลองกอง

ดูเหมือนว่าปัญหาหนอนชอนเปลือกหรือหนอนไถเปลือกพืชตระกูลลองกองจะเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน อย่างกรณีของสวนคุณไสวนั้นสมัยก่อนจะใช้สารเคมีกำจัดโดยพ่นเอง สารเคมีดังกล่าวคือเมธามิโดฟอส ซึ่งเป็นสารเคมีที่ค่อนข้างจะแรงมากพ่นเป็นระยะซึ่งก็ไม่สามารถได้ผลชะงัดพ่นแล้วก็ต้องพ่นอีกไม่รู้จบสิ้น

สมัยก่อนเมื่อลองกองยังไม่ให้ผลผลิตจะปล่อยสวนรก หญ้าคลุมพื้นเต็มไปหมด ปัญหาหนอนชอนเปลือกจะน้อยมาก ไม่เป็นปัญหาเลย” คุณไสวบอก ต่อมาเมื่อลองกองเริ่มให้ผลผลิตคุณไสวเริ่มทำให้สวนสะอาด กำจัดวัชพืช กวาดใบลองกองออก จากนั้นไม่นานสมดุลในสวนเสียไป ปัญหาที่เกิดขึ้น 2 ประการคือ

1.  มีการระบาดของหนอนชอนเปลือกมากขึ้น

2.  ต้นลองกองในพื้นที่เนินของสวนเริ่มมีกิ่งบางกิ่งแห้ง ต้นทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด

มาปัจจุบันคุณไสวจึงทบทวนและเรียกสภาพธรรมชาติที่ลองกองชอบกลับคืนมาโดยเริ่มไว้หญ้าให้ครึ้มหยุดพ่นสารเคมี ปรากฎว่าในปัจจุบันปัญหาหนอนชอนเปลือกไม่เป็นปัญหาให้หนักใจอีกเลย

“เดี๋ยวนี้ในรอบปีผมจะพ่นสารกำจัดแมลงพวกเซฟวิน 85 เพื่อกำจัดมดที่จะนำเพลี้ยมา ร่วมกับกำมะถันผงเพียงครั้งเดียว พ่นระยะที่ผลเริ่มเปลี่ยนสี เวลาเก็บเกี่ยวจะทำให้ช่อสะอาด ไม่มีมดไม่มีราดำเปรอะเปื้อน ทำให้ขายได้ราคาดี” คุณไสวย้ำด้วยน้ำเสียงอันจริงใจไม่มีอะไรเคลือบแฝง วิธีการนี้ชาวสวนลองกองจะนำไปใช้บ้างก็น่าจะได้ผล ระยะแรกหากมีหนอนชอนเปลือกระบาดมาก ก็อาจจะใช้ไส้เดือนฝอยพ่นกำจัดบ้าง (หาซื้อยากหน่อยเพราะบริษัทผู้ผลิตมีขีดจำกัดของศักยภาพทางตลาด) จนสภาพธรรมชาติมีสมดุลกลับคืนมา ปัญหาหนอนชอนเปลือกก็จะหมดไปหรือไม่รุนแรงถึงระดับที่จะทำให้เกิดความเสียหาย

Read More

ไรศัตรูกระท้อนและแนวทางในการจัดการ

เทวินทร์  กุลปิยะวัฒน์

ปกติในธรรมชาติมีสิ่งต่างๆ คอยควบคุมไรกำมะหยี่กระท้อนไม่ให้มีปริมาณมากนัก นอกจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไรจึงจะทำให้ไรมีปริมาณมาก เพราะฉะนั้นเกษตรกรไม่ต้องกังวลมากนัก

กระท้อนเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่เริ่มมีผู้ปลูกเป็นการค้าอย่างจริงจัง ในอดีตเกษตรกรมักปลูกตามหัวไร่ปลายนา มีพันธุ์ใหม่หลายพันธุ์ที่มีรสชาติดี ผลใหญ่ เช่น พันธุ์ปุยฝ้าย ทับทิม เทพรสและนิ่มนวล สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศ ภาคอีสานที่จ. ชัยภูมิ ภาคเหนือที่ จ.เชียงใหม่ ภาคใต้ที่ จ.สงขลาและนครศรีธรรมราช ภาคกลางที่ จ.นนทบุรี กรุงเทพฯและสมุทรปราการ บริเวณที่มีน้ำเค็มขึ้นถึง หรือที่น้ำท่วมขังเสมอไม่ควรปลูก เพราะว่ากระท้อนอ่อนแอมากเมื่อน้ำเค็มและน้ำท่วม น้ำเค็มจะทำให้ใบไหม้และร่วงในที่สุด ทำให้ชะงักการเจริญเติบโตหรือตายได้ ส่วนน้ำท่วมจะทำให้ใบร่วง ทำให้ชะงักการเจริญเติบโตหรือตาย ถึงแม้ว่าเป็นพืชที่มีศัตรูน้อย แต่ไม่สามารถขยายพื้นที่ปลูกได้มากๆ เพราะว่าต้องห่อผลซึ่งต้องใช้แรงงานมาก

ไรศัตรูกระท้อน

มีชื่อสามัญว่าไรกำมะหยี่กระท้อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eriophyes sandorici Nelepa … Read More

ด้วง:ด้วงขาโตแมลงศัตรูฝักมะขาม

บุษบา  พรหมสถิต

กลุ่มงานวิจัยแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร

กองกีฏและสัตววิทยา

มะขาม เป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายในประเทศไทย โดยเฉพาะมะขามเปรี้ยวสามารถขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด จึงพบมะขามแทบทุกภาคของประเทศ นอกจากมะขามเปรี้ยวจะทำรายได้ให้กับประเทศไทยในรูปของมะขามเปียกปีละหลายร้อยล้านบาทแล้ว มะขามหวานก็เป็นพืชทำรายได้สูงให้กับเกษตรกรเช่นกัน โดยมะขามหวานเป็นพืชที่เกษตรกรสามารถกำหนดราคาได้เอง มะขามแก่จะเก็บเกี่ยวในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ หากเป็นพันธุ์เบาจะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม ฝักมะขามแมลงจะเข้าทำลายทำให้เกิดความเสียหายได้ตั้งแต่ก่อนเก็บเกี่ยวและแมลงก็จะติดตามไปทำความเสียหายเพิ่มขึ้นในระยะที่รอจำหน่ายหรือเก็บรักษาไว้ แมลงศัตรูที่สำคัญของฝักมะขามได้แก่ ด้วงขาโต ด้วงงวงมะขาม มอดมะขามและผีเสื้อฝักมะขาม

ในประเทศไทยมีรายงานพบด้วงขาโต (Carvedon serratus (Olivier)) ในเมล็ดมะขามมาตั้งแต่พ.ศ. 2508 และเนื่องจากปริมาณที่พบและมีความเสียหายเพียงเล็กน้อย จึงไม่มีรายงานการศึกษาถึงแมลงชนิดนี้มาก่อน ปัจจุบันเกษตรกรมีการปลูกมะขามมากทั้งมะขามเปรี้ยว และมะขามหวาน ทำให้แมลงศัตรูชนิดนี้ระบาดทำความเสียหายมากขึ้น จึงได้ทำการศึกษาแมลงศัตรูชนิดนี้ โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

1.  ด้วงขาโต มักวางไข่เป็นฟองเดี่ยว สีขาวนวล ขนผิวเมล็ด 2-3 ฟองต่อเมล็ด โดยหนอนที่ฟักออกจากไข่จะมีสีขาวขุ่น รูปร่างงอเป็นรูปตัวซี© … Read More

เฟิร์น:การเลี้ยงเฟิร์นให้สวยงาม

สภาพโรงเรือน

โรงเรือนที่มีความชื้นมาก เฟิร์นจะเจริญเติบโตได้ดี แต่จะต้องให้ความชื้นกับแสงสัมพันธ์กันด้วยถ้ามีความชื้นมากแสงก็ต้องมากด้วย เฟิร์นแต่ละชนิดต้องการแสงและความชื้นในระดับที่ไม่เหมือนกันเช่นเฟิร์นก้านดำ เฟิร์นนาคราช เฟิร์นทอง ต้องการแสงมากกว่าชนิดอื่น

การพรางแสง

เฟิร์นโดยทั่วๆไปแล้วต้องการแสงร่มรำไร บางชนิดตั้งไว้ใต้ต้นไม้ก็งามได้ดี หรือใต้กันสาดแต่ควรจะเป็นทางด้านตะวันออกได้แสงเกือบครึ่งวันในกรณีที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่ให้พรางแสงด้วยซาแรนตัดแสงประมาณ 50℅ และ 70℅ สำหรับเฟิร์นที่ต้องการแสงน้อย แต่สำหรับเฟิร์นก้านดำซึ่งก้านจะอ่อนเวลาถูกฝน ถ้าน้ำเกาะติดที่ใบมากๆ ก้านอาจจะหักได้ ถ้าเลี้ยงมากหลายกระถางควรจะใช้แผ่นพลาสติกใสมุงหลังคาแล้วใช้ซาแรนปิดทับอีกชั้น

วัสดุปลูก

ใช้หลักการผสมดินแบบกลางๆ คือ การผสมดินไม่ให้ดินโปร่งหรือแน่นจนเกินไป ใช้ดินถุงของกำนันเจิมซึ่งมีข้อดีคือ เป็นดินละเอียด มีขุยมะพร้าวไม่มากเกินไป ใช้ดินถุงในอัตราส่วนครึ่งหนึ่งผสมกับเปลือกถั่ว แกลบสด ถ่านเล็ก ๆ อิฐมอญทุบ ใบไม้ผุ ในอัตราส่วนทุกอย่างรวมกันครึ่งหนึ่ง ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน เมื่อจับดูจะร่วนซุย แสดงว่าใช้ได้แล้ว

กระถางที่ใช้ปลูก

ควรใช้ขนาดกระถางให้สัมพันธ์กับขนาดของต้น ต้นเล็กควรใช้กระถางขนาดเล็ก … Read More

ปาล์ม:ปาล์มประดับพื้นเมืองของไทยสำหรับปลูกเป็นไม้กระถาง

ดร.ปิยะ  เฉลิมกลิ่น

สาขาวิจัยอุตสาหกรรมการเกษตร

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ในจำนวนปาล์มที่มีอยู่มากมายหลายชนิดนั้น ยังไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า ควรนำมาเป็นไม้ประดับได้สักกี่ชนิด เนื่องจากว่าปาล์มมีรูปทรงและสีสันแตกต่างกันออกไปมากมาย จึงสามารถนำมาใช้ประดับในแต่ละสถานที่ แต่ละโอกาสได้ไม่เหมือนกัน

บรรดาพืชในวงศ์ปาล์มที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมดมากกว่า 3,800 ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อนของโลกส่วนการจัดให้อยู่ในสกุลใดและมีชื่อวิทยาศาสตร์อย่างไรนั้น พบว่ายังมีการย้ายสับไปสับมาอยู่บ่อยๆ ดังเช่น เปาโรตีส ชื่อเดิมคือ Paurotis wrightii ชื่อปัจจุบันคือ Acoelorraphe wrightii ปาล์มบังสูรย์ ชื่อเดิมคือ Teysmannia altifrons ชื่อปัจจุบันคือ Johannesteijsmannia altifrons หมากงาช้าง ชื่อเดิมคือ Pinanga dicksonii ชื่อปัจจุบันคือ Nenga pumila ส่วนหมากแดงมีชื่อว่า Cyrtostachys renda … Read More

ไม้ผล:การจัดการทรงต้นไม้ผลเขตร้อน

ผศ.ดร.กวิศร์  วานิชกุล

ภาควิชาชีพสวน

ม.เกษตรศาสตร์

ทรงพุ่มไม้ผลที่ดีนั้นควรจะมีลักษณะ โดยทั่วไปดังนี้คือ ตำแหน่งของกิ่งก้านสาขาจัดไว้อย่างมีระเบียบ และมีเฉพาะกิ่งก้านที่มีมุมกว้าง มีตำแหน่งของกิ่งที่แผ่กระจายไปทุกทิศได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง มีการถ่ายเทของอากาศ

ไม้ผลที่ปลูกกันเป็นการค้าส่วนใหญ่จะเป็นไม้ยืนต้นที่มีระยะเวลาให้ผลผลิตเป็นเวลานานหลายปี การที่ไม้ผลเป็นไม้ยืนต้น จึงทำให้การเจริญเติบโตเป็นไปในทางด้านสูงและด้านกว้าง มีการขยายขนาดมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในและนอกทรงพุ่ม การขยายขนาดของต้นไม้ผลนี้หากปล่อยให้เป็นไปโดยธรรมชาติ จะได้รูปทรงตามชนิดและพันธุ์ ซึ่งมาจากการควบคุมโดยยีน (gene) รูปทรงเหล่านี้จะคงอยู่ต่อเมื่อส่วนต่างๆ ของต้นไม้ยังมีสภาพดี หากถูกเบียดเบียนด้วยโรค-แมลง ความชราภาพ หรือเกิดการฉีกหักแล้วรูปทรงก็จะเปลี่ยนไปได้

กรณีที่มีการปลูกไม้ผลเป็นการค้า หากผู้ปลูกหวังจะให้ได้ผลตอบแทนจากต้นไม้ผลนั้นให้ได้ผลดีกว่าที่เป็นไปตามธรรมชาติ นอกจากผู้ปลูกจะต้องดูแลรักษาโรคแมลง ดูแลการให้ปุ๋ยและน้ำอย่างถูกวิธีแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการจัดการทรงต้นของต้นไม้นั้นให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และให้ผลผลิตได้เต็มที่ด้วย การจัดการทรงต้นไม้ผลนั้น โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยการจัดทรงพุ่ม(training)และการตัดแต่ง(pruning)ซึ่งผลที่ได้จากการจัดทรงพุ่มและตัดแต่งกิ่งอย่างถูกต้องมีดังนี้คือ

1.  มีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสม ต้นไม้ผลควรจะได้รับแสงแดดและมีการถ่ายเทอากาศอย่างทั่วถึงทั้งในและนอกทรงพุ่ม การจัดทรงพุ่มที่ดีและตัดแต่งกิ่งที่ทำให้ทรงพุ่มแน่นเกินไปออก จะทำให้แสงแดดส่องเข้าไปในทรงพุ่มอย่างทั่วถึง การหมุนเวียนของอากาศเป็นไปอย่างสะดวก รวมทั้งจะไม่ทำให้เกิดการต้านลมในกรณีที่มีลมแรง นอกจากนี้การตัดแต่งกิ่งแห้งจะช่วยลดการลุกลามของไฟได้ ในกรณีเกิดไฟไหม้… Read More