Month: November 2011

กุยช่าย:โรคของกุยช่ายและการป้องกันกำจัด

นิตยา  กันหลง  พัน  อินทร์จันทร์  ลักษณา  วรรณภีร์

กลุ่มงานวิจัยโรคพืชผักและไม้ประดับ

กองโรคพืชและจุลชีววิทยา  กรมวิชาการเกษตร

กุยช่าย เป็นพืชตระกูลเดียวกับหอมหัวใหญ่ หอมแดง หอมแบ่ง และกระเทียม ลักษณะลำต้นเป็นต้นเล็กมีใบแบนยาวคล้ายใบกระเทียม มีกลิ่นฉุน ดอกมีลักษณะเหมือนดอกหอม ทางภาคเหนือเรียกกุยช่ายว่าหอมแป้น ส่วนภาคอีสานเรียกว่าผักแป้น กุยช่ายใช้รับประทานเป็นผักสดหรือนำมาปรุงให้สุกเสียก่อน รับประทานได้ทั้งดอก ต้น (ความจริงคือส่วนของใบ) และใบ ดอกกุยช่ายที่นำมาผัดชอบเรียกกันว่า “ผัดไม้กวาด”

กุยช่ายนับว่าเป็นพืชผักสมุนไพรชนิดหนึ่ง เช่น เดียวกับหอมและกระเทียม มีสรรพคุณทางยา เช่น ดอกและต้นใบเป็นผักใส่ในแกงเลียงมีสรรพคุณเป็นยาประสะน้ำนม เมล็ดทำยาขับพยาธิเส้นด้าย ฯลฯ

สำหรับถิ่นฐานดั้งเดิมของพืชชนิดนี้สันนิษฐานจากชื่อที่เรียกและจากคำบอกเล่าต่อๆกันมาว่ามาจากประเทศจีน ในเมืองไทยพบปลูกมากที่ เขตตลิ่งชัน กทม. และ อ.บางกรวย … Read More

ไก่:การเลี้ยงไก่พื้นเมือง

กองส่งเสริมการปศุสัตว์  กรมปศุสัตว์

เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่  กินไข่กินเนื้อ

บางส่วนที่เหลือ   จุนเจือรายได้

ครอบครัวสุขศรี    มากมีกำไร

ทุกคนสดใส         ต่างไร้โรคา

เกษตรกรแทบทุกครอบครัวมักจะเลี้ยงไก่พื้นเมืองอย่างน้อย ๒-๓ แม่ เนื่องจากไก่พื้นเมืองสามารถคุ้ยเขี่ยหาอาหารกินเองได้ เพียงแต่ให้เศษอาหารที่เหลือจากครัวและการดูแลเอาใจใส่อีกเล็กน้อย ไก่เหล่านั้นก็ให้ไข่ให้ลูก และเจริญเติบโตเป็นที่น่าพอใจ

ปัจจุบันนี้ตลาดมีความต้องการไก่พื้นเมืองมาก ราคาไก่พื้นเมืองจะแพงกว่าไก่ชนิดอื่นๆ และมักจะขาดตลาดจึงเป็นโอกาสอันดีที่เกษตรกรจะเพิ่มรายได้และการอยู่ดีกินดีของครอบครัวโดยการ เลี้ยงไก่พื้นเมือง

ข้อดีของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

๑.  ตลาดต้องการมากมีเท่าไรก็ขายได้หมด

๒.  ขายได้ราคาดี

๓.  สามารถเลี้ยงเป็นอาชีพได้ ถ้าเกษตรกรสามารถขายไก่รุ่นได้เดือนละ ๕ ตัว ในปีหนึ่งจะมีรายได้ถึง ๒,๔๐๐-๓,๐๐๐ บาท

๔.  ลงทุนต่ำ เพราะเกษตรกรสามารถเริ่มเลี้ยงจากแม่ไก่ ๓-๔ ตัว แล้วค่อยๆ … Read More

ผักกาด:การปลูกผักกาดหัวแบบครบวงจร

พรศักดิ์  เจียมวิจิตร และคณะ

สถาบันวิจัยการทำฟาร์ม  กรมวิชาการเกษตร

จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่ง มีชื่อเสียงในด้านการปลูกผักกาดหัวเพื่อนำไปแปรรูปเป็นหัวไชโป้ชนิดเค็มและหวาน มีพื้นที่ปลูกปี พ.ศ.๒๕๓๑ ทั้งหมด ๑๓๐ ไร่ แหล่งปลูกผักกาดหัวมากที่สุดของจังหวัดอยู่ที่ตำบลนาบัวอำเภอเมือง

สภาพพื้นที่ตำบลนาบัว เป็นที่ราบลุ่มและที่ดอนในการปลูกพืชไร่ เกษตรกรปลูกข้าวโพดเป็นพืชแรกและปลูกผักกาดหัวเป็นพืชที่สอง ส่วนพืชที่สามอาจจะปลูกถั่วลิสงหรือข้าวโพดตามอีกพืชหนึ่ง เนื่องจากมีน้ำไม่เพียงพอ

พื้นที่ปลูกผักกาดหัวของจังหวัดสุรินทร์มีน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่น เนื่องจากจะขึ้นอยู่กับโรงงานที่รับซื้อผลผลิตในรูปผักกาดหัวหมักแห้งว่าในแต่ละปีจะต้องการมากน้อยเพียงไร การที่เกษตรกรจะขายผักกาดหัวสดนั้น ความต้องการของตลาดยังมีน้อย ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน

ฤดูปลูกและการเตรียมดิน

เกษตรกรจะปลูกผักกาดหัวประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิต่ำเหมาะต่อการปลูกและการเจริญเติบโตของผักกาดหัวได้เป็นอย่างดี โดยเลือกดินร่วนปนทรายเป็นพื้นที่ปลูก

ผักกาดหัวสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วนซุยและเก็บความชื้นได้ดี เกษตรกรทำการไถดะ ตากดินให้แห้งเพื่อทำลายวัชพืชและโรคแมลงต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในดินแล้วไถแปรอีก ๓-๔ ครั้ง คราดอีก ๒ ครั้งเพื่อให้ดินร่วนซุย

พันธุ์และวิธีการปลูก

เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกพันธุ์ที่มีลักษณะหัวเรียวแหลมที่เป็นพันธุ์เบามีอายุประมาณ ๔๕-๔๗ … Read More

บึ้ง:แมงมุมที่บางคนชอบกิน

บึ้ง เป็นแมงมุมโบราณชนิดหนึ่ง มีลำตัวใหญ่กว่าแมงมุมชนิดอื่นมีขนปกคลุมทั่วไป บางคนเมื่อเห็นจึงรู้สึกกลัว บึ้งมีชื่อในภาษาอังกฤษหลายชื่อ เช่น “แมงมุมกินนก” (Bird-eating spiders), “แมงมุมลิง” (Monkey spiders) เป็นต้น ชาวบ้านบางท้องที่ตามภาคต่างๆ ของประเทศจับบึ้งมาเป็นอาหาร โดยนำมาเผาไฟเพื่อให้ขนตามลำตัวหลุด แล้วนำมาใส่น้ำพริกหรือใส่แกง บางคนก็นำมาเลี้ยงไว้ดูเล่น

บึ้งมีรูปร่างอ้วนใหญ่แข็งแรง ขนาดลำตัวยาวประมาณ ๖ ซม. ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ขนมีสีน้ำตาลเข้มปกคลุมทั่วไป บึ้งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใต้ดินในรู รูลึกประมาณ ๑ เมตร กว้างประมาณ ๓ ซม. บางชนิดอาศัยในโพรงไม้ เส้นทางของรูไม่ตรงแต่จะโค้ง ถ้าปากรูมีเส้นใยสีขาวปิดอยู่ แมงมุมมักอยู่ในระยะมีไข่หรือระยะลอกคราบ ภายในรูบึ้งจะมีใยสีขาวอยู่ทั่วไป เรามักพบรูบึ้งบริเวณชายป่าหรือสวนผลไม้

บึ้งตัวเมียอาจมีอายุถึง ๑๐ ปี … Read More

ข้าว:การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ นอกฤดู

ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าข้าวหอมมะลิ เป็นข้างคุณภาพสูงของประเทศไทยเป็นที่นิยมของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ จำหน่ายได้ราคาสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากข้าวสุกมีกลิ่นหอมและนุ่มนวล

ข้าวพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา แต่ปัจจุบันแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้หรือใกล้เคียง ได้แก่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคามและกาฬสินธุ์ พื้นที่ปลูกมีแนวโน้มที่จะขยายไปสู่จังหวัดอื่นๆ เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

แต่เดิมเชื่อกันว่าข้าวพันธุ์นี้ไม่สามารถปลูกนอกฤดูหรือปลูกเป็นครั้งที่สองได้เพราะเป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง การออกดอกถูกบังคับด้วยช่วงเวลาของแสงแดด

จากการค้นคว้าวิจัยของกรมวิชาการเกษตร พบว่าข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ จะตั้งท้องเตรียมออกดอกเมื่อช่วงแสงต่ำกว่า ๑๒ ชั่วโมง แล้วแต่วันปลูก ในประเทศไทยช่วงแสงดังกล่าวจะอยู่ระหว่างกลางเดือนกันยายน-กลางเดือนมีนาคม ซึ่งหมายความว่าในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวนี้ หากปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ก็จะยังได้ผลแต่ข้าวจะอายุสั้นลงเพราะมีเวลาเจริญเติบโตทางลำต้นน้อย ด้วยข้อมูลดังกล่าวทำให้การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ นอกฤดู มีความเป็นไปได้ หากการปลูกอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม

การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ นอกฤดูที่บ้านแร่ … Read More

การตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก

กองวัตถุมีพิษการเกษตร  กรมวิชาการเกษตร

การตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารมีพิษตกค้างของวัตถุมีพิษในผลิตผลการเกษตร อยู่ในความรับผิดชอบของกองวัตถุมีพิษการเกษตร(สาขาวิจัยวัตถุมีพิษ) มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๘ และได้มีการพัฒนาระบบการให้บริการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารมีพิษตกค้างในผลิตผลการเกษตรให้สามารถให้บริการแก่ภาครัฐบาลและเอกชนได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นมากองวัตถุมีพิษการเกษตรได้เริ่มงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการผลิตเพื่อการส่งออกดังนี้

๑.  วิจัยเกี่ยวกับการสลายตัวของวัตถุมีพิษที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อการเก็บรักษาในโกดังและโรงเก็บสินค้าการเกษตรเพื่อการส่งออก

๒.  หาข้อมูลและติดตามผลการใช้วัตถุมีพิษทั้งชนิดอนินทรีย์ ได้แก่ พวกธาตุโลหะหนักที่เป็นพิษต่างๆ เช่น สารหนู ปรอท ตะกั่ว และแคดเมี่ยม เป็นต้น และสารมีพิษที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในประเทศทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมถึงสารที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลง โรคพืช และวัชพืช

จากงานวิจัยดังกล่าวนี้ ทำให้สามารถพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารมีพิษตกค้างในผลิตผลเกษตรกรรมได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพื่อรองรับการปฏิบัติภาระกิจ การให้บริการตรวจวิเคราะห์ และออกใบรับรองผลิตผลเกษตรกรรมส่งออกแก่ภาครัฐบาล และเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ กองวัตถุมีพิษการเกษตร กรมวิชาการเกษตรได้เริ่มให้บริการแก่ภาครัฐบาลและเอกชน ในการตรวจวิเคราะห์และออกใบรับรองผลิตผลเกษตรส่งออกเป็นต้นมา

ขั้นตอนการให้บริการRead More

แมงลัก:พืชที่ปลูกง่ายรายได้พอควร

สุมิตรา  คงชื่นสิน

ภาควิชาพฤกษศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แมงลัก เป็นพืชที่พบในเขตอบอุ่นของโลก จากความสูงระดับน้ำทะเลไปจนถึง ๑,๘๐๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าดิบชื้นของทวีปอาฟริกา อเมริกาใต้ และเอเซียบริเวณประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย

ประโยชน์ของแมงลักคือ นำใบมาใช้ประกอบอาหารเพื่อปรุงแต่งกลิ่นและรส เมล็ดใช้ทำเป็นขนมหวานที่นิยมรับประทานในหน้าร้อน ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของแมงลักคือใช้เป็นสมุนไพร โดยใช้ได้ทั้งส่วนใบ เมล็ด ราก และทั้งต้น มีสรรพคุณในการบำบัดรักษาโรคต่างๆได้แก่ เป็นยาระบายแก้จุกเสียด ขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้หวัด หลอดลมอักเสบ รักษาโรคทางเดินอาหารเป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แมงลักเป็นไม้ล้มลุก

ลำต้นตั้งตรงสูงประมาณ ๗๐-๑๓๐ ซม.

ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเป็นคู่ตรงข้ามมีลักษณะเป็นรูปไข่ … Read More

การผสมข้ามพันธุ์:เทคนิคที่ทำให้ทุเรียนผลดกและคุณภาพดี

ทรงพล  สมศรี

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี  กรมวิชาการเกษตร

ปัจจุบันในแต่ละประเทศมีการแข่งขันกันอย่างมากในการผลิตสินค้าออก โดยมีการเน้นเรื่องคุณภาพของสินค้า ขณะเดียวกันก็พยายามลดต้นทุนการผลิตเพื่อต่อสู้แข่งขันในตลาดโลก การวิจัยและพัฒนาเพื่อหาเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น

ทุเรียนของไทยเป็นผลไม้ที่มีลู่ทางแจ่มใสและมีศักยภาพสูงมากในการส่งออก ในปีพ.ศ.๒๕๓๑ ไทยส่งออกผลทุเรียนสดมีมูลค่า ๒๒๕ ล้านบาท นับเป็นอันดับ ๑ ของมูลค่าส่งออกผลไม้ไทยทั้งหมด การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพของทุเรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรที่ได้ผลเป็นที่ยอมรับกันแล้วก็คือ การผสมข้ามพันธุ์

ผู้เขียนได้เคยเสนอเรื่อง “ผสมเกสรทุเรียนให้ติดผลดกและคุณภาพดี” ในหนังสือ “กสิกร” ปีที่ ๖๑ ฉบับที่ ๕ (กันยายน-ตุลาคม) ๒๕๓๑ มาครั้งหนึ่งแล้ว ครั้งนั้นเป็นการศึกษาการผสมพันธุ์แม่ชะนี ก้านยาวกับเกสรตัวผู้พันธุ์ต่างๆ ผู้เขียนได้ทำการศึกาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผสมข้ามพันธุ์ทุเรียนพันธุ์แม่กระดุมทอง หมอนทอง ชมพูศรี และอีหนัก กับเกสรตัวผู้พันธุ์ต่างๆ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในบทความนี้

ผลการทดลองการผสมข้ามพันธุ์ทุเรียนRead More

ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นนุ่น

เกศรา  จีระจรรยา ลักขณา  บำรุงศรี  สว่าง  วังบุญคง

กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร

นุ่น เป็นพืชที่ปลูกกันทั่วๆไป ในทุกภาคของประเทศ มักปลูกตามริมรั้วหรือรอบๆบ้าน ที่ปลูกพื้นที่เป็นไร่มีมากในจังหวัดกาญจนบุรีและประจวบคีรีขันธ์ นุ่นมีประโยชน์แทบทุกส่วนของต้น เส้นใยใช้ทำเบาะ ที่นอน ผ้านวม และเสื้อชูชีพ เมล็ดให้สกัดน้ำมัน กากเมล็ดใช้ทำอาหารสัตว์ ไส้นุ่นใช้ผสมเป็นวัสดุในการเพาะเห็ด ลำต้นใช้ทำส้นรองเท้าและเยื่อกระดาษ จัดเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยส่งเป็นสินค้าออกทำรายได้ปีละประมาณ ๒๐๐ ล้านบาท

ประเทสไทยนับเป็นประเทศส่งออกนุ่นที่สำคัญของโลก โดยมีลูกค้ารายใญ่คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และจีน แต่เกษตรกรไม่สนใจนุ่นเท่าที่ควร มักปลูกในลักษณะทิ้งขวางตามหัวไร่ปลายนา ผลผลิตนุ่นไม่แน่นอนและมีแนวโน้มว่าจะตกต่ำลงเรื่อยๆ การศึกษาเพื่อเพิ่มผลผลิตนุ่นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ได้กับเกษตรกร

ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นนุ่น-ศัตรูตัวร้าย

นอกจากปัญหาเรื่องพันธุ์นุ่นซึ่งมีผลโดยตรงต่อผลผลิตและคุณภาพของนุ่นแล้ว ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือแมลงศัตรู นุ่นมีแมลงศัตรูรบกวนหลายชนิด

เกศราและคณะ(๒๕๒๓)Read More

โรคชนิดใหม่ของมะม่วง

สุชาติ  วิจิตรานนท์

กลุ่มงานวิจัยโรคไม้ผล  กองโรคพืชและจุลชีววิทยา

กรมวิชาการเกษตร

ในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมา การออกดอกติดผลของมะม่วงเริ่มเป็นปัญหาต่อเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น บางปีออกดอกมากแต่ติดผลน้อย บางปีออกดอกน้อย ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งคือ อุณหภูมิและความชื้น ที่อาจจะมีผลต่อความไม่สม่ำเสมอของการออกดอกติดผลของมะม่วงในแต่ละปี นอกจากนั้นมะม่วงที่ติดผลแล้วก็อาจประสบกับความเสียหายจากโรคและแมลง ทำให้เกิดอาหารผิดปกติต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตโดยตรง

นอกเหนือจากโรคแอนแทรกโนส และโรคราแป้ง ซึ่งเป็นปัญหาดั้งเดิมอยู่แล้ว บทความนี้จะกล่าวถึงโรคหรือลักษณะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผลมะม่วงที่เริ่มพบมากขึ้น และอาจจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคตได้ หากไม่ได้รับความสนใจและศึกษาถึงสาเหตุและวิธีการที่จะป้องกัน

โรคราเสี้ยน หรือโรคปลายผลเน่า

โรคนี้เรียกขชื่อตามเกษตรกรแถบ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งพบลักษณะอาการของโรคเกิดกับมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งปีแรกๆจะพบเพียงไม่กี่ผล และพบอาการของโรคในปริมาณมากในฤดูมะม่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งเป็นปีที่มะม่วงติดผลดีมากโดยเฉพาะมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย แต่ในปีต่อๆมา พ.ศ. … Read More