Month: November 2011

มะขาม:พืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

ชูศักดิ์  สัจจพงษ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ  กรมวิชาการเกษตร

มะขามนับว่าเป็นพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย ทั้งมะขามเปรี้ยวและมะขามหวานเป็นที่ต้องการของตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศมากขึ้นทุกปี โดยจะเห็นได้จากในปีหนึ่งๆ มีมะขามเปียกส่งออกมีมูลค่าหลายสิบล้านบาท ส่วนมะขามหวาน ส่วนใหญ่ใช้บริโภคสดภายในประเทศ

พันธุ์มะขาม

เราสามารถจำแนกมะขามออกเป็นมะขามเปรี้ยวและมะขามหวาน มะขามเปรี้ยวยังไม่มีการจำแนกพันธุ์ สำหรับมะขามหวานที่พบเห็นและปรากฎอยู่ทุกวันนี้มีอยู่มากกว่า ๒๐ พันธุ์ บางพันธุ์อาจจะมีลักษณะและรูปร่างคล้ายคลึงกันเจ้าของมะขามจะตั้งชื่อขึ้นมาเอง โดยเอาแหล่งปลูกหรือชื่อเจ้าของนั้น่ตั้งเป็นชื่อพันธุ์ ดังจะเห็นได้จากมีการประกวดมะขามหวานตามจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพบว่ามีพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ เมื่อรวบรวมพันธุ์แล้วศึกษาลักษณะและคุณสมบัติประจำพันธุ์ พบว่ามีพันธุ์มะขามหวานอยู่เพียงไม่กี่พันธุ์ แต่อย่างไรก็พอจะอนุโลมเรียกชื่อพันธุ์ตามที่มีอยู่ดังต่อไปนี้ พันธุ์มหาจรูญ พันธุ์ครูอินทร์ พันธุ์ไผ่ใหญ่ พันธุ์พระโรจน์ พันธุ์ครูบัวพันธุ์ พันธุ์สีทอง พันธุ์หมื่นจง พันธุ์น้ำผึ้ง พันธุ์น้ำดุกหรือปากดุก พันธุ์ขันดี พันธุ์อินทผาลัม พันธุ์แจ้ห่ม(นายปั๋น) พันธุ์แจ้ห่ม(ครูประชาสาร) พันธุ์ส้มป่อย พันธุ์นิ่มนวล พันธุ์นาศรีนวล … Read More

เห็ด:เห็ดขี้ควายสิ่งเสพติดต้องห้าม

ยงยุทธ์  สายฟ้า  วิรัช  ชูบำรุง

กองโรคพืชและจุลชีววิทยา  กรมวิชาการเกษตร

เห็ดขี้ควายกำลังจะเป็นเห็ดที่ต้องห้ามตามกฎหมายชนิดแรก และเป็นสิ่งเสพติดชนิดใหม่ล่าสุดของไทยก็ว่าได้ ทั้งนี้จากการให้สัมภาษณ์ของ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าทางคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขจะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ประกาศให้เห็ดชนิดนี้เป็นยาเสพติดประเภทเดียวกับกัญชา ทำให้มีผู้กล่าวขวัญถึงเห็ดชนิดนี้ ทั้งจากบรรดาท่านที่อยู่ในวงการเห็ดและที่ไม่เคยรู้จักเห็ดชนิดนี้เลย หลายท่านจึงอยากจะทราบว่าหน้าตาของเห็ดชนิดนี้มีความสวยสดงดงามเพียงไร จึงเป็นที่ติดอกติดใจของบรรดานักท่องเที่ยววัยรุ่นจากต่างประเทศนัก

อันที่จริงแล้วไม่ใช่หน้าตารูปร่างเห็ดหรอกครับ ที่เป็นที่หลงไหลกันแต่เป็นสารประกอบบางตัวในดอกเห็ดชนิดนี้มีชื่อว่า “ซิโลซายบิน” และ “ซิโลซิน” เมื่อมนุษย์รับประทานสารนี้เข้าไปแล้วในปริมาณที่พอเหมาะไม่มากจนเกินไป จะมีผลต่อระบบประสาท ทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการมึนเมา มองเห็นภาพหลอน และเห็นสีต่างๆนานา ถึงเพ้อฝันได้ แต่ถ้ารับประทานมากเกินไป จะมีพิษถึงตายได้ ดังนั้นผู้เขียนจึงขอแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับเห็ดชนิดนี้เอาไว้บ้าง เพื่อประดับความรู้ หรือนำไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

เห็ดขี้ควายขึ้นบนกองขี้ควาย

เห็ดขี้ควายมักพบขึ้นอยู่บนกองขี้ควายเก่าๆ ที่แห้งแล้ว เมื่อได้รับความชื้นจากฝน กองขี้ควายจะอมความชื้น ในขณะเดียวกันสภาพแวดล้อมหลังฝนตกจะเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเห็ด เมื่อมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณชายฝั่งทะเล … Read More

หนู:ศัตรูปาล์มน้ำมัน

เสริมศักดิ์  หงส์นาค และพวงทอง  บุญทรง

กลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร กองกีฏและสัตววิทยา

กรมวิชาการเกษตร

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษกิจพืชหนึ่งของไทย ปลูกมากทางภาคใต้ มักทำกันเป็นรูปบริษัทโดยปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ สภาพทางภาคใต้ของไทยอุดมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ดังนั้นเมื่อปลูกปาล์มน้ำมันจึงมีสัตว์พวกหนู่ เม่น หมูป่า อีเห็น กระรอก และกระแตเข้าทำลายสวนปาล์ม ในบรรดาสัตว์ดังกล่าว หนูนับว่าเป็นสัตว์ที่ทำความเสียหายแก่สวนปาล์มมากที่สุด โดยพบว่าปาล์มน้ำมันถูกหนูกัดทำความเสียหายถึงประมาณ ๖-๓๖ เปอร์เซ็นต์

สาเหตุที่หนูระบาดสวนปาล์ม

พื้นที่ป่าเมื่อถูกบุกรุกเพื่อปลูกสร้างสวนปาล์ม สภาพนิเวศน์จะเปลี่ยนไป ศัตรูธรรมชาติของหนูไร้ที่อยู่ ต่อมาอาจจะตายหรือหนีหายไป ทำให้สมดุลย์ธรรมชาติเสียไป ในฤดูฝน พื้นที่บางแห่งจะเป็นแอ่งน้ำ พื้นดินร่วนซุยเหมาะที่หนูจะขุดรูทำรังอยู่ใกล้ๆ แหล่งน้ำ เมื่อเกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมัน พื้นที่เหล่านี้จึงกลายเป็นแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของหนู หนูจะขยายพันธุ์ออกลูกออกหลานและเข้าทำลายสวนปาล์ม ต้นปาล์มจะถูกหนูกัดทำความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุของปาล์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปาล์มที่มีอายุ ๗ ปีขึ้นไป … Read More

ตั๊กแตนปาทังก้า:การจับตั๊กแตนปาทังก้าเพื่อการค้า

สมชาย  อามีน

กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร

ในอดีตเคยมีผู้คำนวณไว้ว่า “ตั๊กแตน ๕ แสนตัวหรือน้ำหนักตัวรวมกันได้ ๑ ตัน ใน ๑ วัน สามารถกินพืชได้หนักเท่ากับอาหารของช้าง ๑๐ ตัว หรืออูฐ ๒๕ ตัว หรือคน ๒๕๐ คน” แต่ในปัจจุบันมีใครทราบบ้างว่า คน ๑ คน ใน ๑ วัน สามารถกินตั๊กแตนได้กี่ตัว และถ้าคน ๕๕ ล้านคน จะกินตั๊กแตนได้หนักรวมกันกี่ตันใน ๑ วัน คำตอบที่ง่ายที่สุดเห็นจะเป็นว่าไม่มีตั๊กแตนให้จับกินแน่ทีเดียว

การจับตั๊กแตนเพื่อกินหรือเพื่อขายนั้น ได้เริ่มมีมานานแล้วในประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงปี … Read More

วานิลา:ไม้เถาเลื้อยสกัดสารหอมระเหยจากฝัก


อรุน  เลียววสุต

ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร  สถาบันวิจัยพืชสวน

กรมวิชาการเกษตร

คำว่า”วานิลา” บางคนอาจเคยคุ้นหูหรือรู้สึกคุ้นเคย แต่อาจจะไม่ค่อยเข้าใจความหมายของมันมากนัก บางท่านอาจจะเคยพาลูกๆ หลานๆ ไปชอปปิ้งแล้วแวะเข้าไปนั่งในร้านขายไอศครีม ท่านจะเห็นรายการอาหารมีไอศครีมชนิดต่างๆ ให้เลือก เช่น ชอคโกแลต วานิลา สตอเบอร์รี่ ฯลฯ นี่แหละครับท่านจะคุ้นเคยกับคำว่า “วานิลา”

วานิลาเป็นไม้เถาเลื้อย ใช้ประโยชน์โดยการสกัดเอาสารหอมระเหยจากฝัก มีลักษณะเป็นผลึกยาวสีขาวราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันมีการสังเคราะห์สารหอมระเหยชนิดนี้ในเชิงการค้า แต่คุณภาพในเรื่องกลิ่นหอมยังสู้สารวานิลินที่สกัดจากธรรมชาติไม่ได้

พันธุ์

วานิลาเป็นไม้ประเภทเถาเลื้อยข้ามปี อาศัยต้นไม้อื่นเป็นที่ยึดเกาะเพื่อชูลำต้น ยอด และดอก จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับกล้วยไม้ มีพืชร่วมสกุลด้วยกันหลายร้อยชนิดมีต้นกำเนิดจากเขตร้อน พันธุ์ที่นิยมปลูกแพร่หลายมี ๓ ชนิดคือ

๑.  พันธุ์แฟรกแกรนส์ นิยมปลูกเป็นการค้ามากที่สุด ให้ผลผลิตสูง การเจริญเติบโตดี … Read More

เกลือแกง:การใช้เกลือแกงกับพืช

หริ่ง  มีสวัสดิ์

กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร

จากข่าวสาร “ปฐพีวิทยา” ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑(๒๕๒๗)

ยังมีกสิกรหลายราย เข้าใจว่าการใส่เกลือให้กับพืชจะช่วยให้พืชเจริญเติบโตดีขึ้น ให้ผลผลิตสูงขึ้น การที่เข้าใจอย่างนั้น อาจจะเป็นการเข้าใจที่ผิดก็ได้ เพราะส่วนประกอบของเกลือ ซึ่งมีธาตุโซเดียม และคลอรีน และในปัจจุบันนี้ธาตุทั้ง ๒ ชนิด ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชทุกชนิด แต่อาจจำเป็นสำหรับพืชบางชนิดเท่านั้น ถ้ามีในปริมาณเพียงพอแล้วอาจทำให้พืชบางชนิดเติบโตดีขึ้นมีคุณภาพสูง

จากการรายงานผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ การใส่เกลือแกงไม่ทำให้ข้าวมีการเจริญเติบโตดีขึ้น หรือได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ข้าวไม่ใส่ปุ๋ยได้ผลผลิตเฉลี่ย ๒๒๗ กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อใส่เกลือแกง ๒๐ กิโลกรัมต่อไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย ๒๒๕ กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณการใส่เกลือเพิ่มขึ้น … Read More

ถั่วเหลือง:ปัญหาเมล็ดสีเขียวในเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง

กัลยา  รัตนถาวร

ธวัชชัย  ทีฆชุณหเถียร

โดยทั่วไปแล้วเปลือกหุ้มเมล็ดถั่วเหลืองจะมีสีเหลือง แต่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๗ พบว่าเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่เก็บเกี่ยวในภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่างมีลักษณะสีของเปลือกหุ้มเมล็ดผิดปกติคือบางเมล็ดมีสีเขียว และความเขียวของเมล็ดแต่ละเมล็ดมีมากน้อยแตกต่างกัน กล่าวคือ มีสีเขียวจัด สีเขียวอมเหลือง เมล็ดสีเขียวในถั่วเหลืองนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองมาก และในปีหนึ่ง ๆ ต้องคัดเมล็ดทิ้งถึงประมาณ ๒๐ เปอร์เซ็นต์

การเกิดเมล็ดสีเขียวในเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร ซึ่งในขณะนี้ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ได้ดำเนินการวิจัยหาสาเหตุการเกิดเมล็ดสีเขียวในเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง เพื่อที่จะหาแนวทางแก้ไขต่อไป

สาเหตุที่น่าจะเป็นไปได้ของการเกิดเมล็ดสีเขียว

สภาพอุณหภูมิสูง ความชื้นสัมพัทธ์สูง และน้ำมีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นก่อนการเก็บเกี่ยวถั่วเหลือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกถั่วเหลืองในเขตร้อน

จากวารสารเมล็ดพันธุ์ของกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้ดำเนินงานวิจัย ได้จำแนกสาเหตุของการเกิดเมล็ดสีเขียวในเมล็ดถั่วเหลือง ตามที่คาดว่าน่าจะเป็นไปได้ไว้ดังต่อไปนี้

๑.  เกิดจากการไม่ติดฝักตามกำหนดอายุของต้นถั่วเหลือง ซึ่งจะสังเกตได้จากมีการทยอยออกดอก อาจเป็นเพราะเป็นพันธุ์ไวต่อช่วงแสงก็ได้

๒.  … Read More

ข้าวฟ่าง:เกษตรกรปลูกข้าวฟ่างเหลื่อมข้าวโพดโดยไม่ต้องไถดิน

ปริญญา  ชินโนรส

สถาบันวิจัยการทำฟาร์ม

กรมวิชาการเกษตร

ข้าวฟ่างเป็นพืชเศรษฐกิจนำรายได้เข้าประเทศปีละหลาย ๑๐๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๒๘/๒๙ มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด ๑,๙๓๕,๓๔๐ ไร่ได้ผลผลิต ๔๐๔,๒๔๔ ตัน ผลผลิตเฉลี่ย ๒๒๒ กก./ไร่

จังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ปลูกข้าวฟ่างมากที่สุด ๗๓๑,๖๐๙ ไร่ ผลผลิต ๑๗๑,๗๔๖ ตัน จังหวัดอื่นที่ปลูกมากมี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ นครราชสีมา และสระบุรี เป็นต้น

อำเภอโคกสำโรงปลูกข้าวฟ่างมากอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี เกษตรกรโดยทั่วไปจะปลูกข้าวฟ่าง หลังจากเก็บข้าวโพดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไถดินใหม่แล้วหว่านข้าวฟ่าง แต่เกษตรกรตำบลชอนสารเดช ปลูกข้าวฟ่างเหลื่อมข้าวโพดในพื้นที่พันกว่าไร่ โดยไม่ต้องไถดินใหม่มาเป็นเวลานานกว่า ๑๐ ปี วิธีการนี้เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรหมู่ ๖ … Read More

มังคุด:การผลิตมังคุดให้มีคุณภาพดีเพื่อการส่งออก


เกียรติ  ลีละเศรษฐกุล  ดารา  พวงสุวรรณ

กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร

บางเขน กรุงเทพฯ

ผลผลิตมังคุดของไทยมีประมาณ ๕-๖ หมื่นตันต่อปี จากพื้นที่ปลูกประมาณ ๕๐,๐๐๐ ไร่ อาจจะกล่าวได้ว่า ประเทศไทยมีผลผลิตและพื้นที่ปลูกมากเป็นที่หนึ่งของโลก รวมทั้งช่วงระยะฤดูกาลที่มังคุดออกผลิตผลก็มีช่วงนานกว่าประเทศอื่น ๆ มังคุดมีรสอร่อยชวนรับประทานจนได้รับขนานนามว่า ราชินีแห่งผลไม้

ประเทศไทยส่งออกมังคุดและฝรั่ง เป็นยอดรวมกันในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ มูลค่า ๑๕,๕๗๖,๑๑๒ บาท ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ปริมาณการสั่งซื้อมังคุดก็สูงมากขึ้นถึงประมาณ ๕๐๐-๖๐๐ ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ ๒๐ ล้านบาท โดยมีความต้องการของตลาดในทวีปยุโรปและญี่ปุ่นสูงมาก

ปัญหาที่พบในปี พ.ศ.๒๕๓๐ ก็คือ … Read More

หอยเจดีย์:หอยเจดีย์ระบาดในแปลงผักกางมุ้ง

ชมพูนุช  จรรยาเพศ

กลุ่มงานสัตว์วิทยาการเกษตร

กองกีฏและสัตววิทยา

กรมวิชาการเกษตร

การปลูกผักในโรงเรือนตาข่ายหรือที่รู้จักกันในชื่อ “ผักกางมุ้ง” โดยใช้ตาข่ายไนล่อนที่มีจำหน่ายทั่วไป ขึงกับโครงไม้และเหล็กครอบบนแปลงผักที่ยกร่องไว้ เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลงต่าง ๆ ช่วยลดรายจ่ายเกี่ยวกับสารฆ่าแมลง และทำให้ปลอดภัยจากสารพิษ เป็นที่นิยมกันอยู่โดยทั่ว ๆ ไป ในท้องที่ อ.บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

ผู้เขียนเคยคาดการณ์ไว้ว่าสภาพภายในโรงเรือนซึ่งมีความชื้นสัมพัทธ์สูงนั้น อาจจะทำให้มีศัตรูพวกหอยทากมีเปลือกหรือทากไม่มีเปลือกอาศัยอยู่ เนื่องจากเคยปรากฎมีหอยทากตามเรือนปลูกกล้วยไม้และเรือนเพาะชำ ซึ่งมีความชื้นสูงและแสงน้อยกว่าปกติ ดังนั้นเมื่อได้รับรายงานว่ามีหอยทากระบาดหนักในแปลงทดลองปลูกผักอนามัย ในโรงเรือนตาข่าย เมื่อ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๑ จึงได้เดินทางไปศึกษาข้อมูลที่สวนผักของนายสุนทร  วรรธนะอมร ต.คลองเจ๊ก อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี

ผักที่ปลูกในเรือนตาข่ายในขณะนั้นมีผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลี และผักคะน้า มีหอย ทำลายเสียหายมาก เกษตรกรเรียกหอยชนิดนี้ตามลักษณะรูปร่างของหอยว่า … Read More