Month: May 2011

ปลูกผักหวานบ้าน ป้อนให้กับโครงการฯเขาหินซ้อน

พูดถึงผักหวานบ้านแล้วแน่นอนว่าหลายคนนึกถึงโครงการพัฒนาส่วนพระองค์ เขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งปลูกผักหวานบ้านในเชิงการค้าอย่างจริงจัง ในพื้นที่ขนาดใหญ่ป้อนให้กับโกลเด้น เพลส และห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ จนทำให้ผักหวานบ้าน เป็นที่รู้จักมากขึ้นและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคจนถึงตอนนี้  ซึ่งความจริงแล้วผักหวานบ้านเป็นผักพื้นบ้านที่บริโภคกันมานานแล้วแต่ไม่โด่งดังเป็นที่รู้จักกว้างขวางนัก  ยังคงเป็นเพียงผักพื้นบ้านที่บริโภคกันในกลุ่มชาวบ้านเท่านั้น แต่พอโครงการฯ เขาหินซ้อนมาผลิตและส่งเสริมการบริโภคอย่างจริงจัง  ก็ทำให้ตลาดโตและขยายตัวอย่างมากในเวลาอันรวดเร็ว จนโครงการไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการของตลาด และเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้วโครงการฯเขาหินซ้อนก็ได้เข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรที่นี่ปลูกแล้วรับซื้อคืนในราคา 50 บาทต่อกิโลกรัม

คณะกรรมการหมู่บ้านปรึกษากันแล้วคิดว่าน่าจะมีความเป็นไปได้และน่าจะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี  จึงตัดสินใจปลูกผักหวานบ้านป้อนให้กับโครงการฯ โดยใช้พื้นที่ว่างในหมู่บ้านประมาณ 20 ไร่ และให้สมาชิกลงทุนร่วมกันโดยการขายหุ้นให้กับเกษตรกรหุ้นละ 100 บาท  ซึ่งการลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูงทีเดียว  พี่ทองหล่อบอกว่าลงทุนไปทั้งหมดหลักล้านแล้ว  โดยแปลงผักหวานขนาด 20 ไร่ นี้ลงทุนติดตั้งระบบน้ำสปริงเกลอร์เต็มพื้นที่เพื่อความสะดวกในการดูแล  ซึ่งหมดไปกว่า 3 แสนบาท แต่ส่วนที่หนักเห็นจะเป็นค่ากิ่งพันธุ์ ซึ่งซื้อจากโครงการทั้งหมดกว่า … Read More

หญ้าแฝก:เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการปักชำหญ้าแฝก

เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการปักชำหญ้าแฝก

วิทูร  ชินพันธุ์  กองอนุรักษ์ดินและน้ำ กรมพัฒนาที่ดิน จตุจักร กทม. 10900

ขอเริ่มต้นด้วยคำพังเพยที่ว่า “what was new was fault” หรืออะไรก็ตามที่เป็นของใหม่หรือแนวความคิดใหม่  ดูเหมือนจะผิดไปเสียทั้งหมด แต่ “what was true was old” อะไรก็ตามที่พิสูจน์ทราบแล้วว่าเป็นความจริง  ก็มักจะบอกว่าเขารู้กันมาตั้งนานแล้ว พฤติกรรมดังกล่าวมักจะประสบเสมอในขบวนการเรียนรู้หรือการถ่ายทอดเทคโนโลยี  ทั้งนี้ก็เนื่องจากความหลากหลายของความคิดและประสบการณ์ การตีความหมายจะขึ้นอยู่กับข้อมูลและเงื่อนไข  จึงไม่แปลกอะไรกับคำพังเพยดังกล่าวข้างต้น  การปักชำหญ้าแฝกก็เช่นเดียวกัน  บางทีอาจจะเห็นว่าเป็นของใหม่  หรืออาจจะเป็นสิ่งที่ทำกันจนประสบความสำเร็จมาแล้วก็ตาม ขอให้ถือเสียว่า “รู้ไว้ ใช่ว่า…”  ซึ่งก็คงจะเป็นประโยชน์อยู่บ้าง

หลักการปักชำก็เหมือนกับพืชอื่น … Read More

อากาศร้อน:ทำไมไก่มักจะตายเมื่อเจออากาศร้อน???

ทำไมเมื่ออากาศร้อนจึงมักพบปัญหาไก่ตายและจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร  ก่อนอื่นผมว่าเราลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบระบายความร้อนของไก่กันก่อนว่า  ในขณะที่อากาศร้อนนั้นสัตว์ชนิดอื่นจะควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่และระบายความร้อนออกทางผิวหนังผ่านทางต่อมเหงื่อ  แต่ไก่ไม่มีต่อมเหงื่อ การระบายความร้อนออกจากร่างกายของไก่จึงต้องทำโดย หนึ่ง การแผ่รังสีความร้อนออกจากผิวหนัง สอง การผ่านความร้อนจากตัวไก่ไปสู่วัตถุที่เย็นกว่า เช่น กรง พื้นกรง วัตถุที่ใช้รองพื้น หรือเรียกว่าเป็นการนำความร้อนนั่นเอง สาม การระบายความร้อนโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของอากาศรอบตัวพาความร้อนจากตัวไก่ไป และสี่ การระบายความร้อนออกจากร่างกายทางระบบหายใจโดยการอ้าปากหายใจ

โดยทั่วไปเมื่ออุณหภูมิของอากาศอยู่ระหว่าง 28-35 องศาเซลเซียส การระบายความร้อนของไก่โดย 3 วิธีแรก ซึ่งเป็นการส่งผ่านความร้อนทางผิวหนัง เหนียงและหงอน ก็ถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย  สังเกตง่าย ๆ จะเห็นไก่แสดงอาการกางปีกกระพือ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ร่างกายได้สัมผัสกับอากาศและมีการพาความร้อนได้ดียิ่งขึ้น  นอกจากนี้ไก่จะพยายามหามุมที่เย็นที่สุดในโรงเรือนและขุดคุ้ยสิ่งรองพื้นเพื่อให้ตัวได้สัมผัสกับสิ่งที่เย็นกว่า  ด้วยเหตุนี้การเลี้ยงไก่ในกรงจึงมีโอกาสที่จะทำให้ไก่ได้รับผลกระทบจากอากาศร้อนมากกว่าไก่ที่เลี้ยงแบบปล่อยพื้น เพราะในกรงที่คับแคบนั้นไก่จะไม่มีโอกาสเลือกหาจุดที่เย็นที่สุดได้  และเมื่ออากาศหรือสภาพแวดล้อมรอบตัวไก่มีอุณหภูมิสูงขึ้นจนใกล้เคียงกับอุณหภูมิร่างกายของไก่คือ 39 องศาเซลเซียส  การระบายความร้อนโดย 3 … Read More

การช่วยผสมเกสรดอกมะม่วงเพื่อการติดผลที่ดีขึ้น

ดอกมะม่วงหลังจากที่เริ่มแทงช่อดอกจนถึงเริ่มบานจะใช้เวลาประมาณ 14 วัน  และช่วงดอกบานจนหมดช่อใช้เวลาประมาณ 15-20 วัน ระยะเวลาในการผสมเกสรของดอกมะม่วงส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเช้า ประมาณ 06.00-08.00 น. ซึ่งสังเกตได้จากในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีแมลงเข้าตอมที่ช่อดอกมาก  แต่พอสายมากกว่านี้จำนวนแมลงจะลดลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะถ้ามีแดดหรือลมแรง  แมลงทีช่วยในการผสมเกสรมะม่วงที่สำคัญคือ ผึ้ง รองลงมาคือ แมลงวันหัวเขียว  ดังนั้น  ถ้ามีแมลงเหล่านี้มาก็จะช่วยในการผสมเกสรของมะม่วงได้ดีขึ้น  เราสามารถช่วยได้โดยการเลี้ยงแมลงวันในสวนมะม่วง  โดยการนำปุ๋ยคอกใหม่ ๆ มากองไว้ในสวนในช่วงที่ต้นมะม่วงเริ่มแทงช่อดอก  โดยกองไว้หลาย ๆ จุด รดน้ำให้ชื้น  เพื่อให้แมลงวันมาไข่บนกองปุ๋ยคอก  และจะฟักตัวในเวลาต่อมาหรืออาจใช้ขี้หมูซึ่งมีหนอนแมลงวันอยู่แล้ว  ซึ่งจะเป็นตัวแก่พอดีในช่วงที่ดอกมะม่วงเริ่มบาน  แมลงวันเหล่านี้จะไปตอมที่ดอกมะม่วง  เป็นการช่วยผสมเกสรให้กับดอกมะม่วงเป็นอย่างดี ทำให้มะม่วงมีการติดผลมากขึ้น

ระยะดอกมะม่วงบานควรงดการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิด

ตามที่ได้กล่าวมาในครั้งก่อนแล้วว่า  ดอกมะม่วงจะเริ่มบานหลังจากที่แทงช่อดอกมาได้ประมาณ 14 วัน และระยะเวลาในการบานจนหมดทั้งช่อประมาณ … Read More

โรคของพริกและการป้องกันกำจัด

โรคของพริกและการป้องกันกำจัด

ดร.นุชนารถ  จงเลขา

พริกมีหลายชนิด  แต่ที่จะพูดถึงวันนี้เป็นพริกยักษ์ที่คนไทยเรียกขานกันอยู่ แต่ชาวยุโรปจะเรียกว่า พริกกระดิ่ง (bell peper) หรือพริกหวาน (sweet peper) สำหรับอาการของโรคที่ปรากฎจะคล้ายกับอาการที่เกิดกับพริกชี้ฟ้า และบางโรคก็คล้ายกับอาการที่เกิดกับยาสูบด้วย  จึงอยากจะนำมาเสนอให้เข้าใจถึงลักษณะอาการของโรค และแนะนำวิธีการควบคุมโรค  เพื่อประโยชน์สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกพริกและยาสูบโดยทั่วไป

โรคแอนแทรคโนส (anthracnose)  อาการจะเกิดได้ทั้งบริเวณผล ขั้วผล ใบ ก้านใบ โดยจะเป็นแผลสีน้ำตาล ที่แผลบนผลพริก  แผลจะลึกลงไปในผิวพืชและมีผงสีดำติดอยู่  สีดำที่เห็นเป็นซีตี้ (setae) ที่มีลักษณะคล้ายขนสีน้ำตาลเข้ม  อยู่ในโครงสร้างรูปจาน (acervulus) ที่บรรจุสปอร์ของเชื้อรา  คอเลทโททริคั่ม นั่นเอง  โรคนี้ถ้าเป็นกับพริกชี้ฟ้าจะทำให้เกิดแผลจนรอบผลพริก ทำให้สีของพริกเปลี่ยนจาก สีแดงเป็นสีปูนแห้ง  และผลพริกจะแห้งงอ เรียกลักษณะอาการเช่นนี้ว่าพริกกุ้งแห้ง  ถ้าเกิดกับก้านใบและก้านผลก็จะทำให้ใบร่วงผลร่วง … Read More

ขั้นตอนการห่อกระท้อนให้มีคุณภาพดี

ขั้นตอนการห่อกระท้อน

1.  ผลกระท้อนสีเขียวเข้มอมเหลือง พร้อมที่จะห่อได้แล้ว

2. ใช้กรวยที่เตรียมมาเรียบร้อยแล้วสวมหุ้มผลกระท้อน

3.  รวมปากกรวยเข้าหากัน

4.  ใช้เชือก หรือตอกผูกมัดปากกรวย

หลังจาก ห่อผลกระท้อนเรียบร้อยแล้ว  รอจนกระทั่งผลกระท้อนสุกจนผิวเหลือนวล  จึงเก็บผลกระท้อนมาจำหน่ายต่อไป

ถ้าหากกรวยไม่ฉีกขาด  ก็เก็บเอาไว้ใช้ต่อในปีถัดไปได้อีก 1 ปี

ในการห่อผลกระท้อนนั้น  ถ้าหากห่อด้วยใบตอบแห้ง คุณภาพของผลกระท้อนจะมีสีเหลืองนวลกว่าการห่อด้วยกระดาษถุงปูนซีเมนต์  แต่ปัจจุบันนี้ใบตองราคาแพง และเกษตรกรปลูกกล้วยน้อยลง  จึงทำให้กรวยใบตองแห้งห่อกระท้อนราคาแพงขึ้นถึงราคากรวยละ 40 สตางค์

ฉะนั้นถ้าหากเกษตรกรคิดจะปลูกกระท้อนเป็นอาชีพก็ควรจะปลูกกล้วยเป็นพืชแซมเอาไว้บ้าง เพื่อจะได้ใช้ใบตองแห้งมาทำกรวยห่อกระท้อน  ทำให้ผลกระท้อนมีคุณภาพดีกว่าการห่อด้วยกระดาษ

มาถึงตรงนี้ท่านพอจะพินิจพิจารณาหาข้อดีข้อเสียของกระท้อนแต่ละพันธุ์ได้แล้ว พอที่จะตัดสินใจได้ว่าจะปลูกกระท้อนพันธุ์อะไรดี  แต่อย่างไรก็ตาม ในวงการขายกิ่งพันธุ์ไม้ผลนั้นยังมีทั้งคนดีคนชั่วปะปนกันอยู่และมักจะหลอกขายกิ่งพันธุ์แต่บรรดาผู้ปลูกหน้าใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับลักษณะของกิ่งพันธุ์นั้น

 

Read More

กระท้อน:พันธุ์ของกระท้อน

พันธุ์ของกระท้อน

สำหรับพันธุ์กระท้อนที่เป็นพันธุ์ดีรสเด็ดสะระตี่จนเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในขณะนี้ผมก็ได้ลองชิมมาแล้วจึงอยากจะขอแนะนำท่านผู้อ่านและผู้ที่สนใจอยากจะปลูกกระท้อนเป็นอาชีพก็ได้แก่พันธุ์

1. พันธุ์ทับทิม เป็นกระท้อนพันธุ์ดีที่ยอดฮิตติดตลาดมานมนานกาเล จนเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคอย่างกว้างขวางว่ามีรสชาติหวานแหลมและกลมกล่อม ติดผลค่อนข้างจะดกและเป็นพันธุ์เบาที่มีผลขายได้ก่อนพันธุ์อื่น ๆ แต่ขนาดผลไม่โตเท่าใดนัก  โดยเฉลี่ยประมาณ 4 ผล ต่อกิโลกรัม  จะขายได้ในราคากิโลกรัมละประมาณ 40 บาทขึ้นไปแต่ไม่เกิน 50 บาท  ส่วนผลที่เล็กกว่านี้ ราคาก็จะอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 15 บาท – 20 บาท หรือ 30 บาท  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของผล ลักษณะของความนุ่ม ความปุย และเนื้อที่ฟูของกระท้อนพันธุ์นี้อยู่ในระดับปานกลาง  แต่ข้อได้เปรียบตรงที่ขายได้ง่ายเพราะราคาอยู่ในระดับชาวบ้าน ๆ ที่พอจะมีเงินจับจ่ายก็ซื้อได้ เศรษฐีก็ซื้อดี เรียกว่าเป็นกระท้อนที่ไม่เลือกชั้นวรรณะ เป็นผลไม้ราคาแพงที่คนกินไม่ได้ซื้ คนซื้อไม่ได้กิน  ซึ่งหมายความว่าคนซื้อ … Read More

ไม้สัก:การเพาะชำกล้าไม้สัก

การเพาะชำกล้าไม้สัก

สำเนียง  อินทร์ดนตรี

หัวหน้าศูนย์เพาะชำกล้าไม้ลำปาง(งาว)

วิวัฒนาการรูปแบบงานแปลงเพาะ

กรมป่าไม้เริ่มทำแปลงเพาะเพื่อผลิตกล้าไม้สัก  ถอนตัดแต่งเป็นเหง้าสัก (Teak seedling stumps) ปลูกสวนป่าไม้สัก (Teak plantation) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา  จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2531) รวมเวลา 53 ปี รูปแบบของงานแปลงเพาะเริ่มพัฒนาขึ้นมากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา  เดิมรูปแบบของแปลงเพาะกล้าไม้สักใช้วิธีมีวัตถุขัดขอบแปลง เช่น ไม้ไผ่สับฟาก กำหนดขนาดกว้างยาวเป็นจำนวนเต็ม เช่น กว้าง 1 เมตร ยาว 20-30 เมตร สูงประมาณ 30 … Read More

ผักตระกูลแตง:โรคที่เกิดกับผักตระกูลแตง

โรคผักตระกูลแตง

กลุ่มงานวิจัยโรคพืชผักและไม้ประดับ

กองโรคพืชและจุลชีวเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พืชตระกูลแตงมีหลายชนิด บางชนิดใช้รับประทานแบบพืชผักบางชนิดรับประทานแบบผลไม้  ไม่ว่าจะเป็นแตงชนิดไหนก็ตามมีโอกาสที่จะเป็นโรคชนิดเดียวกันได้ แตงที่รับประทานแบบผลไม้ได้แก่  แตงโม แตงกวา แคนตาลูป แตงไทย แตงที่ใช้เป็นอาหารจำพวก ผัก ได้แก่ แตงกวา แตงร้าน มะระ ฟักทอง ฟัก แฟง น้ำเต้า ตำลึง บวบ ฯลฯ

จากการสำรวจพบว่าพืชในตระกูลแตงแต่ละชนิดมีโรคระบาดที่สำคัญและเป็นอุปสรรคต่อการปลูกมากหลายโรคด้วยกัน แต่ละโรคทำลายพืชตระกูลแตงเกือบทุกชนิดและเป็นโรคเดียวกัน  ดังนั้นการศึกษาและเรียบเรียงคำแนะนำเรื่องโรคใดโรคหนึ่งและวิธีป้องกันกำจัดจึงสามารถใช้รวมไปได้กับพืชทุกชนิดในตระกูลแตง

โรคผักตระกูลแตงและวิธีป้องกันกำจัด

โรคผักตระกูลแตงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจไม่แพ้โรคผักของพืชตระกูลอื่น ๆ หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ และกำลังจะได้รับการส่งเสริมให้พืชบางชนิดในตระกูลนี้ปลูกกันอย่างกว้างขวาง  เพื่อใช้ผลิตอาหารกระป๋องสำเร็จรูป เช่น ทำแตงกวาดอง ฯลฯ และเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องประสพปัญหาเรื่องโรค  ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการเอกสารวิชาการเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องโรคและวิธีป้องกันกำจัด … Read More

ปุ๋ยพืชสด:ลักษณะของพืชที่ใช้เป็นพืชปุ๋ยสด

ปุ๋ยพืชสด

ปุ๋ยพืชสดเป็นปุ๋ยอินทรีย์อีกชนิดหนึ่งที่ได้จากการไถกลบพืชในขณะที่ยังสดอยู่  โดยไถกลบคลุกเคล้าลงดินในช่วงที่พืชเจริญเติบโตพอสมควร  หรือระยะที่พืชเริ่มออกดอกจนถึงดอกบานเต็มที่  ทั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน  ปุ๋ยพืชสดมีประโยชน์โดยตรงต่อการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน  การเพิ่มธาตุไนโตรเจน การรักษาปริมาณธาตุอาหารพืช การปรับปรุงโครงสร้างของดิน  การยกระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน  รวมถึงช่วยในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ

ลักษณะของพืชที่ใช้เป็นพืชปุ๋ยสด

การเลือกใช้พืชมาเป็นปุ๋ยพืชสดนั้นควรต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของพื้นที่และลักษณะของพืชด้วย  ทั้งนี้เพราะไม่สามารถจะนำมาใช้ได้ทุกพืช  และทุกกรณี ข้อที่ควรพิจารณาคือควรเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ในดินทั่วไป ระยะเวลาการออกดอกสั้นประมาณ 30-60 วัน น้ำหนักสดสูง  เมล็ดงอกได้ดี  ต้านทานโรคและแมลงได้ดี  สามารถไถกลบได้ง่าย  และย่อยสลายในดินได้รวดเร็ว  ควรเป็นพืชที่สามารถใช้ในระบบการปลูกพืชได้ดี  สำหรับในดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  ดินทรายและสภาพแห้งแล้ง  พืชปุ๋ยสดที่มีความเหมาะสมตามลักษณะการใช้ที่ดินดังกล่าวมีดังนี้คือ

ชนิดของพืชปุ๋ยสด

สำหรับพื้นที่ปลูกพืชไร่

ปอเทือง(Crotalaria juncea) มีลำต้นสูง 6-10 ฟุต  มีดอกสีเหลือง ขึ้นได้ดีในที่ดอน ชอบอากาศร้อน … Read More