Month: June 2011

สมุนไพรจากไม้ดอก:เทียน

เทียน

จากโครงการพัฒนาเทคนิคการทำยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2521-2522)

ชื่ออื่น เทียนบ้าน เทียนขาว เทียนไทย เทียนดอก(ไทย ห่งเชียง จึงกะฮวย เซียวถ่ออั๊ง โจ๋ยกะเช่า(จีน) Garden Baisam

ชื่อวิทยาศาสตร์ Impatiens balsamina L. วงศ์  Balsaminaceae

ลักษณะต้น

เป็นพืชปีเดียวตาย สูงประมาณ 60 ซม. ลำต้นแข็งแรงมีเนื้อดูโปร่งแสง ใบออกสลับหมุนเวียนกันไปเป็นวง ลักษณะใบยาว เรียวแหลม ขอบใบมีรอยหยัก เป็นฟันคล้ายฟันเลื่อย ใบยาวประมาณ 10 ซม. กว้าง 2-3 ซม. … Read More

สมุนไพรจากไม้ดอก:ดาวเรือง

ดาวเรือง

จากโครงการพัฒนาเทคนิคการทำยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2521-2522)

ชื่ออื่น ดาวเรืองใหญ่(ไทย) คำปู้จู้ คำปู้จู้หลวง(พายัพ) บ่วงสิ่วเก็ก เฉาหู้ยัง กิมเก็ก(จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tagetes erecta L. วงศ์ Compositae

ลักษณะต้น เป็นพืชปีเดียวตาย ลำต้นแข็งแรงสูง 0.4-1 เมตรเป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก ทั้งต้นขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรง ใบออกตรงข้ามกัน ใบลักษณะคล้ายขนนก ตัวใบยาว 4-11 ซม. มีรอยเว้าลึก ๆ ถึงก้านใบ หลายรอยคล้ายแบ่งตัวใบออกเป็นใบย่อยหลายใบ ส่วนยอดนี้ยาว 1-2.5 ซม. ขอบมีรอยหยักช่อดอกออกเป็นกลุ่มเดียวที่ปลายก้าน ช่อดอกสีเหลือง หรือเหลืองส้มมีเส้นผ่าศูนย์กลาง … Read More

การปลูกกะทกรกฝรั่ง

การปลูกกะทกรกฝรั่ง

สุมาลี  แหนบุญส่ง

ลักษณะทั่วไป

กะทกรกฝรั่งเป็นพืชจำพวกไม้เลื้อยที่แข็งแรง เครือขาว ลำต้นมีสีเขียวข้างในกลวง ผิวเรียงไม่มีขน ใบมีลักษณะเป็นแฉก 3 แฉก มีมือเกาะชนิดไม่แตกแขนง สีเขียวม้วนขอดเป็นวงกลม ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามตาข้าง มีสีขาว มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7.5-10 เซนติเมตร

ผลมีลักษณะกลม หรือรูปไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-7 ซม. เปลือกชั้นนอกมีลักษณะแข็ง เปลือกชั้นในมีสีขาว ภายในผลจะมีถุงอยู่มากมาย ภายในถุงนี้จะมีเมล็ดสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มรวมอยู่กับส่วนที่เป็นน้ำ  ซึ่งมีลักษณะเหนียวข้น มีสีเหลืองส้ม มีกลิ่นหอมแรง

พันธุ์กะทกรกฝรั่ง

กะทกรกฝรั่งที่มีปลูกอยู่ในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ

1.  พันธุ์สีม่วง เป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม สามารถเจริญเติบโตได้ดีบนที่สูงจากระดับน้ำทะเลมากได้

2.  พันธุ์สีเหลืองRead More

ชะมวง:อุดมด้วยวิตามินที่สำคัญมากมาย

ชะมวง

เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15-20 เมตร พบมากในเขตภาคอีสาน เรือนยอดเป็นปุ่มรูปกรวยคว่ำ เปลือกสีน้ำตาลเทาเข้ม ใบอ่อนมีสีแดงอมเหลือง ใบแห้งสีน้ำตาลอ่อนแกมชมพู ดอก มีกลิ่นหอม แยกเพศ ใบมีรสเปรี้ยวจัด ผลสีส้ม ลักษณะค่อนข้างกลมคล้ายผลมังคุดผลแห้งสีดำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ซม. มีเมล็ดสีส้มฝังอยู่ในเนื้อผล

ประโยชน์ทางอาหาร

ใบชะมวงที่มีรสเปรี้ยวนี้ อุดมด้วยเบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 รวมทั้งแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัส เมื่อทานพร้อมเนื้อสัตว์จะทำให้ร่างกายสามารถนำสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่  นอกจากนี้วิตามินซีในใบชะมวงยังช่วยให้ดูดซึมเหล็กได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงมากพอที่จะลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย วิตามินซียังช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรงไม่แตกง่าย ทำให้เหงือกแข็งแรง ไม่เป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน

ใบอ่อนและยอดนำมาใช้แทนส้ม หรือกินกับลาบ ก้อย และยังใช้เป็นส่วนประกอบของผงนัวได้อีกด้วย ส่วนใบตากแห้งนำมาชงดื่มเหมือนชา … Read More

ผักฮ้วนหมู:ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง

ผักฮ้วนหมูเป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง  อายุหลายปี ลำต้นกลมสีน้ำตาลอ่อน เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลแกมดำ ตามลำต้นมีรอยแตก มีจุดสีขาวตามลำต้นและใบ มียางสีขาว ใบเดี่ยวลักษณะมัน ออกตามข้อตรงข้ามกัน ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามกิ่ง กลีบดอกสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมเหลือง แต่ละช่อมีดอกย่อยมากกว่า 20 ดอก ผลเป็นฝักคู่รูปหอกสีเขียวอ่อนมีจุดตามผิว

คุณค่าทางอาหาร

ยอดและดอกอ่อนของผักฮ้วนมีสีเขียวเข้ม มีวิตามินซี 351 มิลลิกรัม และดอกมี 472 มิลลิกรัม แต่คนที่เป็นโรคเกาต์ไม่ควรทานมาก เพราะสารยูเรต และออกซาเลตจะไปตกตะกอนที่ทางเดินปัสสาวะ ทำให้อาการของโรคกำเริบได้ง่ายด้วยลักษณะของดอกแลดูคล้ายลำไส้หมู(ฮ้วน ในภาษาเหนือ แปลว่า ลำไส้) และมีรสขมคล้ายไส้หมู ชาวเหนือจึงเรียกผักฮ้วนหมูตามรูปร่างของดอก ใช้รับประทานได้ทั้งแบบสดหรือทำให้สุก เช่น แกง หรือลวกกินกับลาบ จิ้มแจ่ว

ประโยชน์ทางยา

ลำต้น ใช้เป็นยาแก้โรคตา … Read More

ผักกูด:พืชที่ช่วยสะท้อนความผันแปรของระบบคุณภาพดินและระบบนิเวศ

ผักกูด

ผักกูดมีธาตุเหล็กและเบต้า-แคโรทีนสูง ช่วยให้ไม่อ่อนเพลียหรือซีดง่าย บำรุงสายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

ผักกูดเป็นเฟิร์นชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นตามริมน้ำที่มีความชื้นสูง แต่มีแสงแดดส่องถึงหรือที่ร่มรำไร ต้นสูงได้ถึง 1 เมตร มีใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ยาวประมาณ 1 เมตร กว้าง 50 ซม. พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาค

ผักกูดมีลักษณะเด่นตรงที่มีความไวเป็นพิเศษต่อสารเคมีและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง จึงเป็นพืชที่ช่วยสะท้อนความผันแปรของระบบคุณภาพดินและระบบนิเวศ สารเคมีที่ตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมจึงส่งผลกระทบต่อผักกูดโดยตรง

ประโยชน์ทางอาหาร

ผักกูดมีธาตุเหล็กและเบต้า-แคโรทีนสูง ซึ่งหากทานร่วมกับเนื้อสัตว์จะทำให้เกิดการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี ช่วยให้ไม่อ่อนเพลียหรือซีดง่าย บำรุงสายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยนำใบอ่อน ยอดอ่อน นำไปทำยำผักกูด หรือลวกจิ้มน้ำพริก ใส่ในแกงส้ม ผัด แกงเลียง

คุณค่าทางยา

มีรสเย็น แก้ไข้ตัวร้อน … Read More

ผักหวานป่า:ผักพื้นบ้านมากประโยชน์ ศักยภาพเชิงการค้าที่ยั่งยืน

ผักหวานป่า

ให้โปรตีน มีเบต้า-แคโรทีน วิตามินซี และวิตามินบี 2 สูง

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 5-16 เมตร มีใบเดี่ยวสีเข้มหนา รูปร่างคล้ายรูปไข่หรือรี ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นกลุ่มสีเขียวตรงซอกใบ กิ่งและที่ลำต้นมีใบประดับขนาดเล็ก ผลออกเป็นพวงรูปรีสีเหลืองอมน้ำตาล

คุณค่าทางอาหาร

ผักหวานป่าให้โปรตีน มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินบ 2 หรือไรโบฟลาวิน วิตามินบี 2 มีส่วนช่วยเผาผลาญกรดอะมิโนจากโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมันให้เป็นพลังงานสำหรับร่างกาย ในผักหวานป่า 100 กรัม มีวิตามินบี 2 ประมาณ 1.65 มิลลิกรัม ใช้ยอดอ่อน หรือดอกมาต้ม ลวก หรือนึ่งทานร่วมกับน้ำพริก … Read More

สาหร่ายสไปรูไลนา:การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูไลนาเพื่อการบริโภค

การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูไลนาเพื่อการบริโภค

สไปรูไลนาเป็นสิ่งมีชีวิตที่พบอยู่ทั่วไปในน้ำจืดและน้ำกร่อย โดยเฉพาะประเทศไทยที่อยู่ในเขตร้อนชื้น มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม สามารถเพาะเลี้ยงให้ผลผลิตสูง และจากการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารพบว่ามีคุณค่าทางอาหารสูงโดยเฉพาะโปรตีน กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต และสารอื่น ๆ อีกหลายชนิด  ปัจจุบันได้นำมาผลิตเป็นอาหารเสริมของมนุษย์ โดยการทำแห้ง อัดเม็ด แคปซูล มีเพียงส่วนน้อยที่นำสไปรูไลนามาบริโภคสด  การบริโภคสดได้เริ่มครั้งแรกประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ตามแนวคิดของคุณธิดา  เพชรมณี  สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดสงขลา ได้ทำการส่งเสริมให้ชุมชนเพาะเลี้ยงและนำมาบริโภคสด  ซึ่งมีวิธีเลี้ยงที่แตกต่างกันตามความสะดวกและสภาพแวดล้อมของชุมชนนั้น ๆ ทำให้เกิดปัญหาหลายประการเช่น ชุมชนบางกลุ่มไม่มีความมั่นใจในความสะอาด การปนเปือนจากสารที่ไม่พึงประสงค์  ไม่สามารถควบคุมปริมาณและคุณภาพของผลผลิตได้ และยุ่งยากในการทำความสะอาด ด้วยเหตุนี้จึงได้พัฒนาการเลี้ยงเพื่อให้ชุมชนได้บริโภคสดด้วยความปลอดภัย และผลิตเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ที่มีคุณภาพและผลผลิตตามวัตถุประสงค์  จากการศึกษาติดต่อกันมาสรุปได้ดังนี้

1.  การเพาะเลี้ยงสไปรูไลน่าแบบพื้นบ้านในปัจจุบัน

1.1  วิธีการเพาะเลี้ยง การเพาะเลี้ยงขึ้นอยู่กับศักยภาพและสภาพแวดล้อมของชุมชน สรุปได้คือ… Read More

โรคแคระแกร็นในไก่เนื้อที่พบได้บ่อย

โรคแคระแกร็นในไก่เนื้อ

ดร.  ปฐม  เลาหะเกษตร

ผู้เลี้ยงไก่กระทงจะพบบ่อย ๆ  โดยเฉพาะในฟาร์มเลี้ยงไก่กระทงที่เคยเลี้ยงติดต่อกันมานานหลายปีว่าไก่กระทงที่เลี้ยงนั้น มีเปอร์เซ็นต์ไก่แคระแกร็นสูง  ไก่ที่แคระแกร็นมีลักษณะ ขนงอกไม่เต็มตัวและยังมีขนอุยเหลืออยู่มากในขณะที่ตัวที่โตตามปกติจะมีขนเต็มและมีขนาดโตกว่าไก่ที่แคระแกร็นเท่าตัว  นอกจากนั้นไก่ที่แคระแกร็นยังมีอาการท้องโต และขาถ่าง แสดงอาการเหมือนไก่ขาอ่อน  เมื่อปรากฎเช่นนี้ผู้เลี้ยงมักไปโทษบริษัทอาหารว่า อาหารไม่ดีบ้าง ลูกไก่โตไม่สม่ำเสมอ ก็ไปโทษพันธุ์ไก่บ้าง และโทษคนเลี้ยงบ้างว่าดูแลไม่ดี

บัดนี้นักวิชาการเขาพบสาเหตุแล้วว่าเกิดจากอะไร  สาเหตุที่แท้จริงเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัส  ซึ่งนักวิชาการสามารถแยกเชื้อได้และมีชื่อว่า เชื้อเอเวี่ยน แคลีซิไวรัส (Avian Calicivirus) (Poultry International, April 1982 หน้า ๑๒)

นายโคเวนโฮเวนและผู้ร่วมงานของเขา (Kouwenhoven and co-workers) ได้ทำการศึกษาเป็นครั้งแรกในปี ๒๕๑๘ เมื่อมีปัญหาขึ้นในประเทศฮอแลนด์ ก่อนหน้านั้นมีพบในประเทศออสเตรเลียและอเมริกา ซึ่งนักวิชาการเข้าใจกันว่าลักษณะแคระแกร็นเกิดจากอาหารไม่ดูดซึม … Read More

เครื่องสับใบและเศษซากอ้อย

ในแต่ละปีพื้นที่ปลูกอ้อยมากกว่า 3 ล้านไร่  มีการเผาใบและเศษซากอ้อยในพื้นที่ 1 ไร่ มีใบและเศษซากอ้อยตกค้างอยู่ในไร่โดยประมาณ 1.76 ตัน  ดังนั้นใน 1 ปี มีปริมาณใบและเศษซากอ้อยที่ถูกเผาไปไม่ต่ำกว่า 5 ล้านตัน  ซึ่งใบและเศษซากอ้อยเหล่านั้นควรกลับคืนสู่ดิน  แต่อินทรีย์วัตถุในดินกลับถูกทำลายและทำให้ดินที่ปลูกอ้อยซ้ำในที่เดิมเป็นเวลานาน ๆ มีอินทรีย์วัตถุลดลง มีผลทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินเลวลง คือ ดินไม่ร่วนซุย  แน่นทึบ น้ำซึมได้ยาก ไม่อุ้มน้ำ และเป็นการสูญเสียธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะไนโตรเจน การไม่เผาใบและเศษซากอ้อยช่วยลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในไร่อ้อย แต่การที่เกษตรกรมีการเผาใบและเศษซากอ้อยก่อนการเตรียมดิน เพื่อทำให้รถแทรคเตอร์เตรียมดินได้สะดวกเศษใบและซากอ้อยทำให้ล้อรถแทรกเตอร์ลื่นไม่สามารถขับเคลื่อนได้ และการที่เกษตรกรมีการเผาใบและเศษซากอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว (กรณีตัดอ้อยสด) เพื่อเป็นการกำจัดเชื้อเพลิงที่อาจไหม้อ้อยตอที่งอกแล้ว  ด้วยเหตุนี้ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีจึงมีการสร้างและพัฒนาเครื่องสับใบและเศษซากอ้อยทั้งก่อนการเตรียมดินและหลังการเก็บเกี่ยวอ้อย (สับใบและเศษซากอ้อยที่อยู่ระหว่างแถวอ้อยตอ)

การพัฒนาเครื่องสับใบและเศษซากอ้อยของศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีนั้นได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2535 โดยการใช้จอบหมุน (Rotary cultivator) … Read More