Month: January 2013

ประโยชน์จากขิง

ขิง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซิงจิเบอร์ ออฟฟิตซินาริส (Zingiber officinalis, osc.) อยู่ในตระกูล ซิงจิเบอรเรซี่ (zingiberaceae ) เป็นไม้ทางเขตร้อนแถวอาเซีย จาไมก้า อัฟริกา อินเดียตะวันตก เม็กซิโก และแถวฟลอริดา เป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดิน มีหัวใต้ดิน เรียกว่า เหง้า (rhizome) ในเหง้ามีกลิ่นหอมและรสเผ็ดประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย ๑-๒% ปริมาณมากน้อยขึ้นกับวิธีปลูกและเก็บเหง้า น้ำมันหอมระเหยประกอบด้วย terpenc, sesqui – terpene (or zingiberine ), cineol, citral, borneol, gingerol, zingerone ซึ่งมีคุณค่าทางยา ใช้ขับลม … Read More

กระเจี๊ยบแดง

“กระเจี๊ยบแดง” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ไฮบิสคุ๊ส แซบดาริฟฟ่า ( Hibiscus Sabdariffa, Linn ) อยู่ในตระกูลมัลวาซี่ (Malvaceae ) ทางเชียงใหม่เรียก “ แกงแดง ” ( เนื่องจากสีจากกระเจี๊ยบละลายนํ้าออกเป็นสีแดง ) กระเจี๊ยบมีถิ่นกำเนิดแถวอินเดีย มาเลเซีย ถูกนำไปปลูกทั่วไปในเขตร้อน มีปลูกมากที่สุดในโลกแถวซูดานในอัฟริกา เดิมทีในประเทศไทยปลูกมากแถวสระบุรี ตามบ้านก็นิยมปลูกไว้ทำอาหารบริโภคได้หลายชนิด และต้นกระเจี๊ยบ ยังให้ความสวยงามแก่บ้านท่านอีกด้วย เพราะทั้งต้นมีสีแดงสวย เพาะปลูกด้วยเมล็ดปลูกไม่ยาก

กระเจี๊ยบแดงเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ ๔-๖ ฟุต ใบเป็นแฉกเว้าลึก ลำต้น กิ่งก้านตลอดจนผลมีสีแดง ดอกสีชมพูตรงกลางสีแดงเข้ม กลีบที่แผ่หุ้มเมล็ดมีสีแดงเข้มเนื่องจากมีสารพวกแอนโธไซยานิน ( anthocyanin ) … Read More

น้ำดื่มเป็นสมุนไพรที่มหัศจรรย์แห่งพลานามัย

เครื่องดื่มจากสมุนไพร

ในยุคที่น้ำมันแพง ค่าครองชีพสูงอย่างปัจจุบันเ เราก็ควรจะมาช่วยกันประหยัดกันบ้างละ ไม่ว่าจะเป็นอาหารเครื่องดื่ม หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อรักษาดุลการชำระเงินไว้ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นจะดีกว่า วันหนึ่งๆ คนเราจะต้องดื่มน้ำกันมากๆ เช่น น้ำขวด น้ำโอเลี้ยง น้ำอัดลม ฯลฯ ถ้าเรามาช่วยกันประหยัดโดยทำน้ำผลไม้ที่มีคุณค่าทั้งทางอาหารและให้คุณค่าทางยาบริโภคเอง หรืออาจนำจำหน่ายได้ด้วยก็จะยิ่งดี เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว และได้เครื่อง ดื่มที่ถูกหลักอนามัยและยังเพิ่มรายได้ดีด้วย

น้ำเป็นสมุนไพรที่มหัศจรรย์แห่งพลานามัย

ที่ว่าน้ำเป็นสมุนไพรที่มหัศจรรย์แห่งพลานามัยนั้น เพราะน้ำเกี่ยวกับการรักษาโรค เป็นวิทยาการที่ใช้กันมาเป็นเวลานาน และคุณอันยิ่งใหญ่ของน้ำที่ช่วยบำรุงพลานามัยและบรรเทาโรคพยาธิหลายต่อหลายอย่าง และยังเป็นตัวอย่างของการใช้สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติในการบำบัดรักษาโรค เป็นการบำบัดรักษาโรคแบบพึ่งตนเองเป็นหลักอีกด้วย

เป็นที่ทราบกันว่าน้ำมีคุณสมบัติในการขับถ่ายแทนที่ของเสียและรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย       จึงได้มีการใช้คุณสมบัตินี้เพื่อประโยชน์ในพลานามัยและการบำบัดรักษาโรคบางอย่าง เช่น

น้ำช่วยขับถ่ายของเสียและกันท้องผูก

ซึ่งชาวจีนเชื่อกันว่าเมื่อตื่นนอนเช้าแล้วดื่มน้ำ ๕ แก้วทันที จะช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสียออกมา เพราะน้ำช่วยย่อยละลายของเสียที่หมักหมมในกะเพาะ ลำไส้ ไต ผิวหนัง ฯลฯ เพื่อขับถ่ายออกมาในลักษณะของอุจจาระ … Read More

มะแว้ง

มะแว้ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า โซลานุม ไตรโลมาตุ้ม (Solanum trilobatum) อยู่ในตระกูลโซลานาซี ( Solanaceac ) หรือเรียกอีกชื่อว่า มะแว้งขม มะแว้งมี ๒ ชนิด คือ มะแวงเครือ กับมะแว้งต้น มะแว้งเป็นพืชขนาดเล็กขนาดต้นมะเขือพวง ตามต้นและกิ่งมีหนาม ใบมีขนนิ่ม รสขมเป็นยาบำรุงธาตุเจริญอาหาร แก้ไอ โดยต้มหรือตำเป็นผง ดอกออกเป็นช่อสีม่วง เกสรสีเหลือง ผลกลมขนาดเท่าๆ กับผลมะเขือพวง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดง ผลมะแว้งรับประทานเป็นผัก เป็นยา ยาขับลม แพทย์แผนโบราณเชื่อว่าผลมะแว้งช่วยบำบัดโรคเบาหวาน ช่วยให้นํ้าตับอ่อนเดินสะดวกขึ้น ผลมะแว้งสุกเชื่อว่าเป็นยาแก้ไอได้ดี ส่วนรากมะแว้งใช้เป็นยาขับกัดเสมหะน้ำลายเหนียว แก้ไอ ขับปัสสาวะ และมีรสขม … Read More

มะม่วงหิมพานต์

มะม่วงหิมพานต์ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า อะนาคาร์เดี่ยม ออคซิเดนตาเร่ ( Anacardium orcidentale. Linn หรือ Cassavium pomiferi) อยู่ในตระกูล อะนาคาร์เดี่ยม (Anacardiaceae) ภาษาอังกฤษเรียกว่า แคชชิวนัท (Cashewnut) ภาคเหนือเรียกว่า ม่วงชูหน่วย ภาคใต้เรียกว่า ยาหยี หรือมะม่วงกุลา

เมล็ดมะม่วงหิมพานต์

เนื้อในเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเป็นส่วนของผลจริงมะม่วงหิมพานต์มีลักษณะเป็นจงอยรูปไต มีเปลือกนอกแข็งสีขี้เถ้าเรียบหุ้มเนื้อในเมล็ด ใช้เป็นอาหารรับประทานได้ทั้งสด หรือคั่วโรยเกลือ และใช้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์บดผสมกับเมล็ดโกโก้ทำช๊อกโกแล็ต (chocolate) ทำขนมได้หลายชนิด เมล็ดมะม่วงหิมพานต์นอกจากจะให้คุณค่าทางอาหารสูง เช่น ไขมัน วิตามิน แป้ง และเกลือแร่แล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการบวมนํ้า (deopsy) นํ้ามันในเมล็ดมีสรรพคุณคล้ายกระเบาใช้ทาแก้โรคผิวหนัง … Read More

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ไกแนนดรอพซิส ไกแนนร้า (Gynandropsis gynandra ( Linn. ) Brig, or G. pentaphella DC ) อยู่ในตระกูล แคพพาริดาซี่ (Capparidaceae) ภาคเหนือเรียกว่า ส้มเสี้ยน

ใบและยอดผักเสี้ยนสด มีสารพิษไฮโดรไซยาไนด์ (Hydrocvanide ) ซึ่งมีผลต่อประสาทส่วนกลาง เวลาจะรับประทานนำมาดองเพื่อขจัดสารพิษไฮโดรไซยาไนด์ แล้วนำมาทำเป็นผักจิ้ม

ใบผักเสี้ยนดิบมีรสขม แต่หุงต้มแล้วสารแก๊สพิษจะหมดไป รสขมก็จะหายไปด้วย ใบผักเสี้ยนมีกลิ่นนํ้ามันหอมคล้ายกลิ่นมัสตาร์ด มีฤทธิ์ทำให้ผิวหนังร้อนแดง แต่มีรายงานจากรัฐควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลียว่า ผักเสี้ยนมีพิษต่อลูกแกะ เป็ด ไก่

ใบผักเสี้ยนพอกฝีเพื่อป้องกันมิให้เป็นหนอง ใบผักเสี้ยนบดให้ช้ำทาเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย กระตุ้นให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้น … Read More

ถั่วพู

ถั่วพู เป็นพืชสมุนไพรที่ให้โปรตีนสูง

ถั่วพู มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า โปรสโฟคาร์พุ๊ส เตทตระโกโนโลบุ๊ส ( Prosphocarpus tetragonolobus ( L. ) DC ) อยู่ในตระกูล แพบไพไลออนนอยดี้ (papilionoidae) ถั่วพูเป็นพืชเขตร้อน เป็นไม้เลื้อยจำพวกถั่ว ใบเขียว ปลายใบแหลม มีใบย่อย ๓ ใบ ดอกสีม่วง ผลมีลักษณะเบ็นฝักสี่เหลี่ยมมีปีกออกสี่เหลี่ยม บางคนก็เรียกว่า winged bean หรือ four angled bean หรือ rea bean หรือ asparagus pea ฝักถั่วพูยาวประมาณ … Read More

ตำลึง

ตำลึง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าคอคซิเนีย อินดิค้า (Coccinia indica Wet A ) อยู่ในตระกูล คิวเคอร์บิตาซี่ (Cucurbitaccae) ตำลึงบางทีเรียกว่า ผักแคบ หรือสี่บาท ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันตามกิ่งยึดเกาะ หรือซุ้ม ใบออกสลับกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ตำลึง มีตำลึงตัวผู้ตำลึงตัวเมีย ตำลึงตัวผู้มีใบหยักมากกว่าตำลึงตัวเมีย ดอกสีขาวทรงกระบอกมีหัวแฉก ผลอ่อนสีเขียวมีลายขาว ผลสุกเต็มที่มีสีแดงสด ผลและยอดตำลึงรับประทานเป็นผักได้ ตำลึงที่มีอายุหลายปีจะมีรากขนาดใหญ่ เถาใหญ่และแข็ง ตำลึงมีขึ้นตามป่ารกร้างทั่วๆ ไป

แพทย์แผนโบราณเชื่อว่า ใบเป็นยาเย็นดับพิษร้อน ใบสดตำทาถอนพิษหมามุ่ย หรือใบตรังตังช้าง น้ำในเถาตำลึง แก้ตาเจ็บ ตาฝ้า ตาแดง ตาแฉะ รากตำลึงรสเย็นเชื่อว่าแก้พิษฝ้าในตา และเชื่อว่าทั้งเถา ใบ … Read More

ข้าว

ข้าว มีชื่อทางวิทยาศาสตรว่า ออไรซ่า ซาธิว่า ( Oryza sativa. Linn. ) ภาษาอังกฤษว่า Rice อยู่ในตระกูลแกรมมินี (Graminae)

ข้าว มีทั้งข้าวสารจ้าว และข้าวสารเหนียว ( คำว่าข้าวสารมาจากภาษาอังกฤษว่า rice คำว่า สาร เป็นภาษาไทยใหญ่ แปลว่า ข้าวที่เอาเปลือกออกแล้ว)

คำว่า rice หมายถึงทั้งข้าวสารเหนียวและข้าวสารจ้าว แต่จะเรียกข้าวสารเหนียวให้ชัดลงไป เรียก Gluteneous rice

ถ้าข้าวเปลือก ภาษามลายู เรียกว่า ปาดี ภาษาอังกฤษ เรียก แพดดี้ ( Paddy … Read More

กระทือ

ดอกกระทือ

กระทือ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซิงจิเบ่อร์ เซอรัมเบท (Zingiber zerumbet, Rose ex Smith) อยู่ในตระกูล ซิงจิเบอราซี่ ( Zingiberaceae ) ภาคเหนือเรียกว่า กระแอน, ชะแอน, แฮวดำ, เฮียวดำ กระทือเป็นพืชล้มลุกลงหัวจำพวก ขิง ข่า ไพล ขมิ้น ฤดูแล้งหัวจะโทรม พอถึงฤดูฝนจะงอกขึ้นมาใหม่ เหง้า หรือ หัว มีขนาดใหญ่ติดต่อกันไปยืดยาว เนื้อในสีขาวอมเหลืองเรื่อๆ มีเส้นเล็ก ๆ กลิ่นหอมมีรสขมและขื่นน้อยๆ หั่นแล้วขยำกับน้ำเกลือ นานๆ รับประทานเป็นอาหารได้ ยังมีสรรพคุณขับลม บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ … Read More